วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บุคคลที่เป็นต่างชาติที่เข้าสร้างสรรค์ผลงานเกิดประโยชน์กับประเทศไทย

หมอบรัดเลย์ หรือ แดน บีช แบรดลีย์ (Dan Beach Bradley, M.D.)



ในอดีตไทยใช้การเขียนบันทึกความรู้ต่างๆลงในใบลาน เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและองค์ความรู้ที่ถ่ายทอดกันระหว่างรุ่นสู่รุ่นเทคโนโลยีเกี่ยวกับการพิมพ์ ปรากฎขึ้นในดินแดนสยามเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อันถือว่าเป็นยุคหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีที่มีชาวต่างชาติเข้ามาใช้ชีวิตในสยามมากมาย ทั้งจีน แขก และฝรั่ง หนังสือในรูปแบบของการพิมพ์ตัวอักษรมาพร้อมกับหมอสอนศาสนาชาวต่างชาติที่มีเป้าประสงค์หลักคือการเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในภูมิภาคนี้ บาทหลวงที่มีชื่อเสียงและมีบทบาทในเรื่องการพิมพ์มากที่สุดในยุคนั้นคงไม่พ้นจากบาทหลวงชาวฝรั่งเศสนาม ลาโน(Mgr Laneau) ที่ได้จัดพิมพ์คำสอนทางคริสต์ศาสนาขึ้นมาเผยแพร่ จนเป็นที่พอพระทัยในองค์พระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และในคราวที่ ออกญาโกษาธิบดี(ปาน) เป็นราชทูตเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศฝรั่งเศสก็ได้เข้าเยี่ยมชมกิจการงานพิมพ์ของฝรั่งเศสและแสดงความสนอกสนใจเป็นอย่างมากจนกระทั่งในกาลต่อมาพระนารายณ์มหาราชทรงมีรับสั่งให้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้น ที่เมืองลพบุรีอันเป็นสถานที่พระองค์ใช้พำนักอยู่ในช่วงปลายรัชกาล แต่ กิจการงานพิมพ์ของสยามในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาก็ต้องหยุดชะงักลงอีกครั้งเมื่อมีเกิดการผลัดแผ่นดิน เป็นแผ่นดินของพระเพทราชา ที่ไม่ค่อยโปรดพวกมิชชั่นนารีเท่าทีควรเป็นเหตุให้พัฒนาการเกี่ยวกับการพิมพ์ของสยามในช่วงนั้นต้องหยุดชะงัดลงไปด้วย

บุคคลสำคัญในประวัติการพิมพ์ของไทยอีกคนหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงคือ นางจัดสัน (Nancy Judson) ซึ่งเป็นมิชชันนารีชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในเมืองย่างกุ้งของประเทศพม่า มีความสนอกสนใจในภาษาไทยจึงได้ทำการหล่อตัวพิมพ์เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2356 หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่สองไปแล้วราว 40 กว่า ปี แต่ต่อมาตัวพิมพ์ชุดนี้ยังไม่ทันได้ใช้งาน ก็ถูกซื้อไปเก็บไว้ที่ประเทศสิงคโปร์โดย โดยมิชชันนารีคณะ American Board of Commissioners for Foreign Missions อันเป็นคณะมิชชันนารี ที่ หมอบลัดเลย์ได้เข้ามาสังกัดอยู่ และภายหลังได้ใช้ชุดหล่อตัวพิมพ์ชิ้นนี้ พิมพ์หนังสือภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกจนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการพิมพ์ของไทย

หมอบรัดเลย์ หรือ แดน บีช แบรดลีย์ (Dan Beach Bradley, M.D.)เป็นหมอสอนศาสนา ชาวเมืองมาร์เซลลัส(Marcellus) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นบุครคนที่ 5 ของ นายนายแดน บรัดเลย์และนางยูนิช บีช บรัดเลย์ บิดาเป็นต้นแบบของหมอบลัดเลย์โดยเคยเป็นทั้ง หมอสอนศาสนา ผู้พิพากษา เกษตรกร และบรรณาธิการวารสารทางเกษตรกรรม ดังนั้นจึงสร้างเป็นแนวความคิดให้หมอบลัดเลย์ใฝ่ฝันอยากจะเผยแพร่ศาสนาอย่างผู้เป็นบิดาบ้างจึงตัดสินใจเข้าเรียนในโรงเรียนแพทย์ เมื่อจบการศึกษาก็สมัครเป็นมิชชั่นนารีในองค์กรAmerican Board of Commissioners of Foreign Missions(ABCFM) หมอบลัดเลย์เดินทางมาเผยแพร่ ศาสนาในประเทศไทยในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 โดยได้แวะที่สิงคโปร์และได้รับชุดตัวพิมพ์ภาษาไทยที่ American Board of Commissioners of Foreign Missions ในประเทศสิงคโปรได้ซื้อไว้ ก่อนจะเดินทางเข้ามาสู่ประเทศไทย

ในระยะแรกหมอบลัดเลย์ได้อาศัยอยู่ในละแวกสัมพันธวงศ์โดยเปิดเป็นร้านจ่ายยา และช่วยรักษาโรคให้แก่ชาวพระนคร ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่ฝั่งธนบุรี และได้รักษาพยาบาลคนเรื่อยมาโดยผลงานที่สำคัญคือการผ่าตัดผู้ป่วยคนไทยจนสามารถรักษาชีวิตเอาไว้ได้ถือว่าเป็นการผ่าตัดครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเลยทีเดียว ส่วนในงานเผยแพร่ศาสนานั้นหมอบลัดเลย์ก็ไม่ได้ละเลย ยังคงเผยแพร่คำสอนของศาสนาคริสต์อยู่เรื่อยมาและการเผยแพร่ศาสนาคริสต์นั้นจำเป็นต้องมีหนังสือเพื่อช่วยให้คนเข้าอกเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาใหม่นี้ได้ง่ายขึ้นดังนั้นหมอบลัดเลย์จึงย้ายไปอาศัยอยู่ ข้างวัดประยูรวงศาวาส ริมแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมองว่าเป็นพื้นที่ที่มีทำเลดีและได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นมาเพื่อใช้ในการพิมพ์หนังสือเพื่อเผยแพร่ศาสนา และได้ใช้ ตัวอักษรภาษาไทยที่ได้มาจากสิงคโปร์ในคราวที่แวะจอดเรือก่อนจะเข้ามาประเทศไทย งานชิ้นแรกที่ หมอบลัดเลย์พิมพ์เป็นภาษาไทยในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2382คือ การพิมพ์ประกาศห้ามสูบฝิ่นและห้ามค้าฝิ่น ที่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ทำขึ้นจำนวน 9,๐๐๐ แผ่น ซึ่งนับว่าเป็นเอกสารราชการไทยฉบับแรกที่พิมพ์ขึ้นด้วยเครื่องพิมพ์

ต่อมาในปีพ.ศ. 2385 หมอบลัดเลย์ได้หล่อชุดพิมพ์ขึ้นมาใหม่ และในอีกสองปีต่อมาหมอบลัดเลย์ได้ใช้ชุดพิมพ์ตัวใหม่นี้ จัดพิมพ์หนังสือพิมพ์รายเดือนภาษาไทยฉบับแรกขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่าชื่อว่า บางกอกรีคอเดอ (Bangkok Recorder) ออกวางจำหน่าย ซึ่งถือเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรกที่มีขึ้นในประเทศไทย แต่หนังสือพิมพ์เล่มดังกล่าวก็อยู่ได้ไม่นานต้องปิดตัวไป เพราะเป็นช่วงเวลาที่ภรรยาของหมอบลัดเลย์สิ้นชีวิตพอดีทำให้การดำเนินกิจการหนังสือพิมพ์รีคอเดรอ์ไม่สามารถเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงต้องหยุดลงชั่วคราวโดยหมอบลัดเลย์ตัดสินใจเดินทางกลับประเทศของตนเป็นระยะเวลาหนึ่งและได้แต่งงานใหม่ก่อนจะกลับคืนสู่ประเทศไทยอีกครั้ง กลับมาคราวนี้หมอหมอบลัดเลย์ได้ลาออกจากAmerican Board of Commissioners of Foreign Missions เข้ามาย้ายไปสังกัดองค์กร American Missionary Association ( AMA) แทน

องค์กรใหม่มีฐานะทางการเงินไม่สู้ดีเท่าทีควรจึงทำให้หมอบลัดเลย์ต้องหารายได้พิเศษโดยการพิมพ์หนังสือขาย เพื่อจุนเจือฐานะทางการเงิน โดยหนังสือที่พิมพ์ในช่วงนี้มีหลายหลายประเภททั้ง ตำราเรียนภาษาไทย เช่น ประถม ก กา จินดามณี หนังสือกฎหมายทั้งยังพิมพ์เรื่องในวรรณคดีต่างๆเช่น ราชาธิราช สามก๊ก เลียดก๊ก ไซ่ฮั่น เป็นต้นและในช่วงนี้เองที่ทำให้มีการซื้อลิขสิทธิ์หนังสือเพื่อมาจัดพิมพ์วางจำหน่ายเป็นครังแรกในประเทศไทยเมื่อ หมอบลัดเลย์ได้ซื้อลิขสิทธิ์ของหนังสือ นิราศลอนดอนที่เขียนโดย หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) เป็นเงิน 4๐๐ บาท ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2404 ทำให้หนังสือเล่มดังกล่าวเป็นหนังสือเล่มแรกของไทยที่มีการซื้อขายลิขสิทธ์ตามแบบอย่างตะวันตก และสำนักพิมพ์ต่างๆก็ยังคงยึดถือหลักการนี้สืบมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

บุคคลสำคัญของไทย


ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช



ประวัติย่อ

เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2425 เวลา 7.20 น. ในเรือลอยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ตำบลบ้านม้า อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง ปราโมช โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เกิดระหว่างที่พระองค์เจ้าคำรบ เดินทางไปรับตำแหน่งที่มณฑลพิษณุโลก หลังจากนั้นไม่นาน สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระพันปีหลวง ได้เสด็จประพาสมณฑลพิษณุโลก พระองค์เจ้าคำรบได้ปลูกพลับพลารับเสด็จและทรงอุ้ม ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เข้าเฝ้าด้วย ปรากฏว่าดิ้นยืดแขนยืดขาจึงทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อว่า คึกฤทธิ์

เริ่มเรียนที่โรงเรียนวังหลัง และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จนสอบได้ชั้นมัธยมปีที่ 7 จากนั้นไปศึกษาต่อที่ Trent College และมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดประเทศอังกฤษ ได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยม ในสาขาปรัชญา เศรษฐศาสตร์และการเมือง ภายหลังได้รับปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ อีกหลายสาขาวิชา

เริ่มทำงานที่กรมสรรพากร และถูกเกณฑ์ทหารตอนสงครามอินโดจีน ได้ยศสิบตรี จากนั้นไปทำงานธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ลำปาง และกลับมาทำงานธนาคารแห่งประเทศไทยที่กรุงเทพฯ ได้ร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองชื่อ ก้าวหน้า เมื่อพ.ศ. 2488 จากนั้นนายควง อภัยวงศ์ ชวนไปก่อตั้งพรรคใหม่ชื่อ ประชาธิปัตย์โดยนายควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรค ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นเลขาธิการพรรค อยู่สู้ในสภา 2 ปี ได้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลชุดนายควง อภัยวงศ์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2490 พลโทผิน ชุณหะวัณ ทำรัฐประหารแต่ยังไม่พร้อมจะจัดตั้งรัฐบาลของตนเองจึงไปชวนนายควง อภัยวงศ์ กลับมาเป็นนายยกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีลอย สั่งราชการกระทรวงการคลัง แต่อยู่ได้เพียง 5 เดือน จอมพลป.พิบูลสงคราม ก็ขึ้นบริหารประเทศแทน

วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2491 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ประกาศลาออก จากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรกลางสภา และลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์เพราะคัดค้านการขึ้นเงินเดิอนสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ในขณะที่สมาชิกส่วนใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์สมยอมกับรัฐบาล จากนั้นได้ยุติบทบาททางกรเมืองโดยตรงอยู่นานจนหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จึงจัดตั้งและเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง กิจสังคม และจากการเลือกตั้งเมื่อพ.ศ. 2518 แม้พรรคกิจสังคมจะได้รับเลือกมาเพียง 18 คน แต่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชก็สามารถเป็นแกนกลางในการจัดตั้งรัฐบาลผสม และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 12 สมีนาคม พ.ศ.2518 20 เมษายน 2519

ในส่วนที่เกี่ยวกับการประพันธ์ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เริ่มเขียนบทสักวา บทความ และสารคดี ลงในหนังสือพิมพ์ เกียรติศักดิ์ เป็นประจำ ตั้งแต่ช่วงเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรพ.ศ. 2489 เพราะสละ ลิขิตกุลบรรณาธิการยุคนั้นผู้สนิทคุ้นเคยขอร้องให้ช่วยเขียน และได้กลายเป็นนักเขียนจริงจังเมื่อออกหนังสือพิมพ์ สยามรัฐ รายวันของตนเอง ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2493 เป็นตันมา โดยระยะแรก ถูกบรรณาธิการคือ สละ ลิขิตกุล ของให้เขียนวันละ 3 เรื่อง มีเรื่องยาวประจำคือ สามก๊กฉบับ นายทุน บทบรรณาธิการ และเก็บเล็กผสมน้อย ในระยะต่อมาก็มีงานเขียนอื่นๆ อีกมาก รวมทุกประเภทมากกว่าร้อยเรื่องและล้วนได้รับความนิยมจากผู้อ่านอย่างกว้างขวางทั้งสิ้นนวนิยายเรื่อง สี่แผ่นดิน กับ ไผ่แดง ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ หลายชีวิต แปลเป็นภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงได้ประกาศให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เมื่อ พ.ศ. 2528

ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช สมรสกับ ม.ร.ว. พักตร์พริ้ง ทองใหญ่ มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ ม.ล.รองฤทธิ์ และ ม.ล.วิสุมิตรา ปราโมช ต่อมาแม้จะหย่าขาดจากกัน แต่ต่างก็ไม่สมรสใหม่และไม่ได้โกรธเคืองกัน โดย ม.ร.ว.พักตร์พริ้งอยู่กับลูกชายคือ ม.ล.รองฤทธิ์ ที่บ้านในซอยสวนพลูติดกับบ้านของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และยังไปมาดูแลทุกข์สุขกันเสมอ

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นผู้มีความรู้ความสามารถหลายบทบาท ทั้งในฐานะนักการเมือง นักการธนาคาร นักพูด นักเขียน ศิลปินระดับที่เคยร่วมแสดงภาพยนตร์กับฮอลลีวู้ด และเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งคณะโขนนักศึกษาธรรมศาสตร์ ฯลฯ จนได้รับยกย่องเป็นปราชญ์ของเมืองไทยที่ชาวต่างประเทศยอมรับกว้างขวาง และได้รับพระราชทานยศกรณีพิเศษเป็นพลตรี แต่ที่นับว่าประสบความสำเร็จสูงสุดและได้กระทำอย่างต่อเนื่องมากที่สุดคือ งานประพันธ์ แม้ในระยะหลังเมื่อมีอายุมากแบ้ว สุขภาพไม่แข็งแรงนักก็ยังเขียนบทความในหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน อยู่เป็นประจำ รวมทั้งนวนิยายเรื่องสุดท้ายคือ กาเหว่าที่บางเพลง

ผลงานรวมเล่ม

นวนิยาย


รวมเรื่องสั้น

บทละครเวที

- ลูกคุณหลวง

เกียรติยศที่ได้รับ

- พ.ศ. 2531 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศจากสิบตรี เป็นพลตรี (ทหารราชองครักษ์พิเศษ)

- ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ประจำ พ.ศ. 2528

ปัจจุบัน

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ป่วยด้วยโรคหัวใจจนต้องเข้ารับการผ่าตัดที่สหรัฐอเมริกา เมื่อพ.ศ. 2530 และเข้ารับการรักษาพยาบาลเรื่อยมาเป็นระยะๆ จนกระทั้งถึงแก่อัญกรรม ณ โรงพยาบาลสมิติเวช กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2538