วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553





ความหมายของกฎหมาย



ความหมายของกฎหมาย

กฎหมายนั้นมีความหมายอยู่หลายประการ ซึ่งความหมายจะแปรเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น
ลักษณะของสังคมที่แตกต่างกัน สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ความต้องการของประชาชนในสังคม
นั้น ๆ แต่หลักที่สำคัญและเป็นความหมายของกฎหมายโดยทั่วไปจะมีอยู่ 4 ประการ คือ
1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่ง
2. กฎหมายถูกกำหนดขึ้นโดยผู้มีอำนาจในสังคม
3. กฎหมายใช้บังคับและเป็นที่ทราบแก่คนทั่วไป
4. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับแก่ผู้ฝ่าฝืน


ความสำคัญของกฎหมาย
ความสำคัญของกฎหมาย


มนุษย์เป็นสัตว์สังคมอยู่ร่วมกันเป็นหมู่ เป็นเหล่า ความเจริญของสังคมมนุษย์นั้นยิ่งทำให้สังคมมีความ สลับซับซ้อน ตามสัญชาตญาณของมนุษย์แล้ว ย่อมชอบที่จะกระทำสิ่งใด ๆ ตามใจชอบ ถ้าหากไม่มีการ ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์แล้ว มนุษย์ก็จะกระทำในสิ่งที่เกินขอบเขต ยิ่งสังคมเจริญขึ้นเพียงใด วามจำเป็น ที่จะต้องมีมาตรฐานในการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ ที่จะต้องถือว่าเป็นมาตรฐานอันเดียวกันนั้นก็ยิ่งมี มากขึ้น เพื่อใช้บังคับเป็นการทั่วไปแก่ทุกคนในลักษณะของกฎเกณฑ์และข้อบังคับต่าง ๆ ซึ่งจะกำหนด วิถีทางการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันตั้งแต่เกิดจนตาย กฎเกณฑ์และข้อบังคับหรือวิธีการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์มีการพัฒนา และมีวิวัฒนาการต่อไป อย่างไม่หยุดยั้ง ดังนั้นเราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากฎหมายไม่มีความจำเป็น และเกี่ยวข้องกับชีวิตคนเรา ในปัจจุบันนี้ กฎหมายได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตเรามาก ตั้งแต่เราเกิดก็จะต้องแจ้งเกิดเพื่อขอสูติบัตร เมื่ออายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ ก็ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน จะสมรสกันก็ต้องจดทะเบียนสมรสจึงจะ สมบูรณ์และในระหว่างเป็นสามี ภรรยากันกฎหมายก็ยังเข้ามาเกี่ยวข้องไปถึงวงศาคณาญาติอีกหรือจน ตายก็ต้องมีใบตาย เรียกว่าใบมรณะบัตร และก็ยังมีการจัดการมรดกซึ่งกฎหมายก็ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง เสมอนอกจากนี้ในชีวิตประจำวันของคนเรายังมีความเกี่ยวข้องกับ ผู้อื่น เช่นไปตลาดก็มีการซื้อขายและ ต้องมี กฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องการซื้อขาย หรือการ ทำงานเป็นลูกจ้าง นายจ้างหรืออาจจะเป็น
ข้าราชการก็ต้องมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา และที่เกี่ยวข้องกับชาติบ้านเมืองก็เช่นกัน ประชาชนมีหน้าที่ต่อบ้านเมืองมากมาย เช่น การปฏิบัติตนตามกฎหมาย หน้าที่ในการเสียภาษีอากร หน้าที่รับราชการทหาร สำหรับชาวไทย กฎหมายต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องก็มีมากมายหลายฉบัย เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายแรงงาน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา "คนไม่รู้ กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว" เป็นหลักที่ว่า บุคคลใดจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้หลุดพ้นจากความผิด ตามกฎหมายมิได้ ทั้งนี้ ถ้าหากต่างคนต่างอ้างว่าตนไม่รู้กฎหมายที่ทำไปนั้น ตนไม่รู้จริง ๆ เมื่อกล่าวอ้าง อย่างนี้คนทำผิดก็คงจะรอดตัว ไม่ต้องรับผิด ไม่ต้องรับโทษกัน ก็จะเป็นการปิดหูปิดตาไม่อยากรู้กฎหมาย และถ้าใครรู้กฎหมายก็จะต้องมีความผิด รู้มากผิดมากรู้น้อยผิดน้อย ต่จะอ้างเช่นนี้ไม่ได้เพราะถือว่าเป็น หลักเกณฑ์ของสังคมที่ประชาชนจะต้องมีความรู้ เรียนรู้กฎหมาย เพื่อขจัดข้อปัญหาการขัดแย้ง ความ ไม่เข้าใจกัน ด้วยวิธีการที่เรียกว่า กฎเกณฑ์อันเดียวกันนั้นก็คือ กฎหมาย นั่นเอง

ประเภทของกฎหมาย

การแบ่งประเภทของกฎหมายสามารถแบ่งได้หลายประเภทด้วยกัน แต่ถ้าแบ่งประเภทของกฎหมายตามแหล่งกำเนิดของกฎหมายก็ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้คือ
1.1.กฎหมายภายใน
1.2.กฎหมายระหว่างประเทศ

1.1 กฎหมายภายใน(Internal Law) แ ยกพิจารณาออกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้คือ

1.1.1 การแบ่งแยกประเภทกฎหมายตามเนื้อหาที่บัญญัติในกฎหมาย โดยแบ่งเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายที่ไม่ได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษณ

(1) กฎหมายลายลักษณ์อักษร (Written Law) เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยคำนึงถึงเนื้อหาของกฎหมายเป็นหลัก การบัญญัติกฎหมายอาจเป็นไปตามกระบวน การนิติบัญญัติหรือออกกฎหมายโดยฝ่ายบริหาร ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ นอกจากนั้นกฎหมายลายลักษณ์อักษรอาจบัญญัติขึ้นโดยองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นก็ได้

(2) กฎหมายทีไม่ได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร (Unwritten Law) ซึ่งได้แก่กฎหมายจารีตประเพณีหรือ หลักกฎหมายทั่วไปต่างๆอันเป็นกฎหมายที่มิได้ บัญญัติขึ้นตามกระบวนการบัญญัติกฎหมาย

1.1.2 การแบ่งตามสภาพบังคับของกฎหมาย โดยแบ่งออกเป็นกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่ง

(1) กฎหมายอาญา(Criminal Law) เป็นกฎหมายที่มีสภาพบังคับ หากผู้ใดกระทำความผิดต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ซึ่งได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ดังนั้นจึงแตกต่างจากสภาพบังคับในทางแพ่ง

(2) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์(Civil & Commercial Law) สภาพบังคับในทางแพ่งนั้นกฎหมายแพ่งมิได้กำหนดโทษไว้โดยตรงเช่นเดียวกับกฎหมาย อาญา แต่กฎหมายแพ่งก็มีสภาพบังคับในทางกฎหมาย เช่น หากมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด หรือ งดเว้นไม่กระทำการบางอย่างที่กฎหมายให้ต้องกระทำ หรือกระทำให้บุคคลอื่นเกิดความเสียหาย เป็นต้น บุคคลดังกล่าวนั้นก็จำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย หรือทำให้การกระทำนั้นๆ ต้องตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ หรือถูกบังคับให้ชำระหนี้ เป็นต้น

1.1.3 การแบ่งตามหลักแห่งการใช้กฎหมาย โดยแบ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ

(1) กฎหมายสารบัญญัติ(Substentive Law) เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิหน้าที่ของบุคคล ทั้งนี้โดยกฎหมายจะกำหนดการกระทำที่เป็นองค์ประกอบของ ความผิดไว้ ซึ่งทำให้รัฐสามารถบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายได้ เช่นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือประมวลกฎหมายอาญา เป็นต้น

(2) กฎหมายวิธีสบัญญัติ(Procederal Law) เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยวิธีปฏิบัติหลักเกณฑ์ต่างๆ โดยการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไปใช้ ดังนั้นกฎหมายวิธี สบัญญัติ ก็ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือประมวลกฎหมายวิธีความอาญา กฎหมายว่าด้วยพยานหลักฐาน เป็นต้น อย่างไรก็ตามกฎหมายบางฉบับก็มีลักษณะเป็นทั้ง กฎหมายสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติ เช่น กฎหมายล้มละลาย เป็นต้น กล่าวคือมีทั้งหลักเกณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบของกฎหมายและมีสภาพบังคับและขณะเดียวกันก็มีวิธีการ ดำเนินคดีล้มละลายอยู่ด้วยในกฎหมายฉบับนั้น

1.1.4 การแบ่งตามความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน โดยแบ่งออกเป็น กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน

(1) กฎหมายมหาชน(Public Law) อาจกล่าวได้ว่ากฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนในประเทศ ทั้งนี้ เป็นการ กระทำเพื่อความสงบสุขของสังคม หรือเพื่อการปกครองหรือบริหารปรเทศ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นต้น

(2) กฎหมายเอกชน(Private Law) เป็นกรณีที่ไม่มีผลกระทบต่อสังคมโดยตรง แต่เป็นเรื่องที่เกิดจากความสัมพันธ์กันระหว่างเอกชนด้วยกันเอง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นเรื่องของการผิดสัญญา อันทำให้สามารถฟ้องร้องกันได้ตามกฎหมาย
อย่างไรก็ต่าม กฎหมายบางฉบับก็อาจเป็นทั้งกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน ทั้งนี้ต้องพิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วย

1.2 กฎหมายระหว่างประเทศ(International Law) สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

1.2.1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง (Public intertionnal law) มีนักนิติศาสตร์บางท่านมองว่ากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองนี้ไม่เป็น กฎหมายที่แท้จริง ทั้งนี้เพราะไม่มีสภาพบังคับ กล่าวคือไม่มีองค์กรที่มีอำนาจบังคับให้ปฏิบัติตามมติของสมัชชาใหญ่ หรือสังคมประชาชนชาติหรือตามคำพิพากษาของ ศาลโลก(International Court of Justice) แต่อย่างไรก็ตามได้มีนักนิติศาสตร์บางท่านก็มองว่ากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองนี้เป็นกฎหมาย เนื่องจากกฎหมายนี้เป็นกฎหมายข้อบังคับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐที่ต้องปฏิบัติต่อกันในฐานะที่รัฐเป็นนิติบุคคลระหว่างประเทศ

1.2.2 กฎหมายระหว่างปรเทศแผนกคดีบุคคล(Private international law) เป็นกฎหมายซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนต่างรัฐกัน ในกรณีที่เกิด ปัญหาพิพาทกันย่อมเกิดปัญหาว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับทำให้กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยก็มีกฎหมายที่ เรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย คอยเป็นตัวกำหนดว่าให้ใช้กฎหมายใดบังคับในกรณีที่มีการขัดแย้งกันดังกล่าว

1.2.3 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา (International criminal law) เป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่รัฐตกลงให้ศาลในส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจ พิจารณาพิพากษาลงโทษทางอาญาแก่ผู้กระทำผิดนอกประเทศได้ ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องนอกเหนืออำนาจรัฐที่จะลงโทษได้ แต่อย่างไรก็ตามหากประเทศต่างๆ นั้นมีการทำสนธิสัญญา ส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับประเทศไทย ก็สามารถส่งตัวผู้กระทำความผิดให้กลับมาถูกพิจารณาพิพากษายังประเทศไทยได้


วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553


รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)


คณะรัฐมนตรีคณะที่ 59 (17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน) หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม คณะรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ 1 (ครม. อภิสิทธิ์ 1) [1]
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ




รายชื่อคณะรัฐมนตรี

นายกรัฐมนตรี
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
รองนายกรัฐมนตรี
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ

นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี

พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ินายองอาจ คล้ามไพบูลย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นายกรณ์ จาติกวณิช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์

นายมั่น พัธโนทัย


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นายกษิต ภิรมย์์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นายอิสสระ สมชัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา
นายชุมพล ศิลปอาชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายธีระ วงศ์สมุทร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายศุภชัย โพธิ์สุ


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
นายโสภณ ซารัมย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร

์นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
นายจุติ ไกรกฤษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
นางพรทิวา นาคาศัย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
นายอลงกรณ์ พลบุตร


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายถาวร เสนเนียม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาคย์์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นายวีระชัย วีระเมธีกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นายไชยยศ จิรเมธากร

นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัฒน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นายสุวิทย์ คุณกิตติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นางพรรณสิิริ กุลนาถศิริ

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553


ระบบการบริหารราชการแผ่นดิน
ประเทศทุกประเทศจะต้องจัดการเรื่องระเบียบการปกครอง การบริหารงานระหว่างรัฐกับประชาชน เพื่อให้เกิดความสงบสุขและความสะดวกให้แก่ประชาชน รัฐจึงออกกฎหมายการปกครองออกมาใช้บังคับประชาชน
ความหมายของกฎหมายการปกครองในที่นี้ หมายถึง กฎหมายที่วางระเบียบการบริหารภายในประเทศ โดยวิธีการแบ่งอำนาจการบริหารงานตั้งแต่สูงสุดลงมาจนถึงระดับต่ำสุด เป็นการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของราชการผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหาร
โดยหลักทั่วไปทางวิชาการกฎหมายการปกครอง ได้จัดระเบียบการปกครองประเทศหรือที่เรียกว่า จัดระเบียบราชการบริหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization)
การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization)
การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization) หมายถึง การจัดระเบียบการปกครอง โดยรวมอำนาจการปกครองทั้งหมดไว้ที่ส่วนกลาง พนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางและต่างจังหวัดไดรับการแต่งตั้งถอดถอนและบังคับบัญชาจากส่วนกลางเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่ส่วนกลางกำหนดขึ้น เช่น การปกครองที่แบ่งส่วนราชการออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด เป็นต้น
การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization) หมายถึง การจัดระเบียบการ ปกครองโดยวิธีการยกฐานะท้องถิ่นหนึ่งขึ้นเป็นนิติบุคคลแล้วให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระโดยการบริหารส่วนกลางจะไม่เข้ามาบังคับบัญชาใด ๆ นอกจากคอยดูแลให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ภายในขอบเขตของกฎหมายจัดตั้งท้องถิ่นเท่านั้น เช่น การปกครองของเทศบาลในจังหวัดต่าง ๆ เทศบาลกรุงเทพมหานคร หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น
กฎหมายการปกครองที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ได้ใช้รูปแบบการปกครอง ทั้งประเภทที่กล่าวมาแล้ว คือ ใช้ทั้งแบบรวมอำนาจและกระจายอำนาจ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการปฎิบัติงานของราชการ ให้มีสมรรถภาพ การกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆให้ชัดเจน เพื่อมิให้มีการปฎบัติงานที่ซ้ำซ้อนระหว่างส่วนราชการต่างๆและเพื่อให้การบริหารในระดับต่างๆมีเอกภาพสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนดได้ดี
ดังนั้น รัฐบาลจึงออกกฎหมายการปกครองขึ้นมา คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และฉบับที่ 5 พ.ศ.2545และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พอสรุปดังนี้
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ กติกาที่ยอมรับเป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้การบริหารราชการมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ อันได้แก่ ขนบธรรม-เนียมการปกครอง รัฐธรรมนูญและความจำเป็นในการบริหารงานเพื่อแก้ไขสถานการณ์การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนกลางหมายถึง หน่วยราชการจัดดำเนินการและบริหารโดยราชการของ ส่วนกลางที่มีอำนาจในการบริหารเพื่อสนองความต้องการของประชาชน จะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ หรือมีความหมายว่า เป็นการรวมอำนาจในการสั่งการ การกำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการสำคัญ ๆ ไว้ที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตามหลักการรวมอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง จัดแบ่งออกได้ดังนี้
สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวง หรือทบวงที่มีฐานะเทียบเท่า กระทรวง
ทบวง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
การจัดตั้ง ยุบ ยกเลิก หน่วยงาน ตามข้อ 1- 4 ดังกล่าวนี้ จะออกกฎหมายเป็น พระราชบัญญัติและมีฐานะเป็นนิติบุคคล
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้จัดแบ่ง กระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง รวม 20 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธรณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกระทรวง อยู่ภายใต้การปกครองบังคับบัญชาของนากยรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นเครี่องของนากยรัฐมนตรีในเรื่องที่เป็นหัวใจของการบิหารราชการหรือเกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี กิจการเกี่ยวกับการทำงบประมาณแผ่นดินและราชการอื่น ตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการอื่น ๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งโดยเฉพาะ
สำนักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของสำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกันนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี และจะให้มีรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีหรือทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติก็ได้
กระทรวง หมายถึง ส่วนราชการที่แบ่งออกเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ที่สุด รับผิดชอบงานที่กำหนดในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบาย และแผนการปฏิบัติราชการกระทรวง จะจัดระเบียบบริหารราชการโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีสำนักนโยบายและแผนเป็นส่วนราชการภายในขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
กระทรวงหนึ่งๆมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนัมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวง และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้ ให้มีปลัดกระทรวงมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมราชการประจะในกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจำในกระทรวงจากรับมนตรี โดยมีรองปลัดกระทรวงหรือผู้ช่วยปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งการและปฏิบัติราชการแทน การจัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางทบวงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้
ทบวง เป็นหน่วยงานที่เล็กกว่ากระทรวง แต่ใหญ่กว่า กรม ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 25 ว่า ราชการส่วนใดซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นกระทรสงหรือทบวง ซึ่งเทียบเท่ากระทรวงจะจัดตั้งเป็นทบวงสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงเพื่อให้มีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและมีรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวงและมีปลัดทบวง ซึ่งรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของทบวงก็ได้และมีอำนาจหน้าที่กำหนดไว้ในกฏหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม การจัดระเบียบราชการในทบวง มีดังนี้
(1) สำนักเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดทบวง
(3) กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้ส่วนราชการตาม (2) (3) มีฐานะเป็น กรม
กรม หมายถึง เป็นส่วนราชการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงหรืออาจเป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงอยู่ใต้การบังคับบัญชา ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการทรวงคนใดคนหนึ่งให้แบ่งส่วนราชการดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการกรม
(2) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง เว้นแต่บางกรมเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้
กรมใดมีความจำเป็น จะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจาก (1) หรือ (2) ก็ได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวง หรือทบวงหรือทบวงตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมหรือตามกฏหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรมนั้น
กรมมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง และในกรณีที่มีกฏหมายอื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การอำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง
ปัจจุบันมีส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงหรือทบวง มี 9 ส่วนราชการมีฐานะเป็นกรม คือ สำนักพระราชวัง สำนักราชเลขาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
การปฏิบัติราชการแทน อำนาจในการสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการใดที่ผู้ดำดงตำแหน่งใดพึงปฏิบัติตามกฎหมาย ถ้ากฎหมายมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ปฏิบัติราชการแทนได้ดังตัวอย่าง
1. นายกรัฐมนตรีมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาจมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้รับมอบจะมอบต่อไปไม่ได้เว้นแต่ผู้ว่าราชการจัวหวัดจะมอบต่อในจังหวัด อำเภอก็ได้
การรักษาราชการแทน ผู้ที่ได้รับอำนาจจะมีอำนาจเต็มตามกฎหมายทุกประการ ตัวอย่าง
1.นายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการไม่ได้ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงรักษาราชการแทน
2. ไม่มีปลัดกระทรวงหรือมี แต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองปลัดฯ ข้าราชการไม่ต่ำกว่าอธิบดีรักษาราชการแทน
3. ไม่มีอธิบดีหรือมีแต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองอธิบดี ผู้อำนวยการกองรักษาราชการแทน เป็นต้น
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคหมายถึง หน่วยราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ซึ่งได้แบ่งแยกออกไปดำเนินการจัดทำตามเขตการปกครอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการส่วนกลาง ซึ่งได้รับแต่งตั้งออกไปประจำตามเขตการปกครองต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลางโดยมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเพราะถือเป็นเพียงการแบ่งอำนาจการปกครองออกมาจากการบริหารส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจโดยส่วนกลางแบ่งอำนาจในการบริหารราชการให้แก่ภูมิภาค อันได้แก่จังหวัด มีอำนาจในการดำเนินกิจการในท้องที่แทนการบริหารราชการส่วนกลาง
ลักษณะการแบ่งอำนาจให้แก่การบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง การมอบอำนาจในการตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ไปประจำปฏิบัติงานในภูมิภาค เจ้าหน้าที่ในว่าในภูมิภาคให้อำนาจบังคับบัญชาของส่วนกลางโดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้งถอดถอนและงบประมาณซึ่งเป็นผลให้ส่วนภูมิภาคอยู่ใการควบคุมตรวจสอบจากส่วนกลางและส่วนกลางอาจเรียกอำนาจกลับคืนเมื่อใดก็ได้
ดังนั้นในทางวิชาการเห็นว่าการปกครองราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจึงเป็นการปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค จัดแบ่งออกได้ดังนี้
1. จังหวัด เป็นหน่วยราชการที่ปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด มีฐานะเป็นนิติบุคคลประกอบขึ้นด้วยอำเภอหลายอำเภอหลาย อำเภอ การตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นกฎหมายพระราชบัญญัติ
ในจังหวัดหนึ่ง ๆ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง และกรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชนและเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในบรรดาข้าราชการฝ่านบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ อาจจะมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย
ผู้ว่าราชการจังหวัด มีคณะปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้นเรียกว่า คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณีและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงและทบวงต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวง และทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ
ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัด ดังนี้
(1) สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้นมีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด
(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้นๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
2. อำเภอ เป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนจังหวัด การจัดตั้ง ยุบเลิกและเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ กระทำได้โดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกา มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบการบริหารราชการของอำเภอ นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย และให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวงต่าง ๆส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ การแบ่งส่วนราชการของอำเภอ มีดังนี้
(1) สำนักงานอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้น ๆ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ
(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวงกรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหมายถึง กิจกรรมบางอย่างซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้ท้องถิ่นจัดทำกันเอง เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยเฉพาะโดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งราษฎรในท้องถิ่นเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้ดำเนินงานโดยตรงและมีอิสระในการบริหารงาน
อาจกล่าวได้ว่าการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารราชการตามหลักการกระจายอำนาจ กล่าวคือ เป็นการมอบอำนาจให้ประชาชนปกครองกันเอง เพื่อให้ประชาชนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และรู้จักการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นการแบ่งเบาภาระของส่วนกลาง และอาจยังประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนในท้องที่ได้มากกว่า เพราะประชาชนในท้องถิ่นย่อมรู้ปัญหาและความต้องการได้ดีกว่าผู้อื่น
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีดังนี้
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เทศบาล
สุขาภิบาล
ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด ได้แก่ สภาตำบลองค์การบริหารตำบลกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดที่อยู่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล มีฐานะเป็นนิติบุคคล ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดแยกเป็นส่วนต่างหากจากการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในรูปของจังหวัด ในจังหวัดหนึ่งจะมีองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง
องค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย
สภาจังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ดำเนินกิจการส่วนจังหวัด
เทศบาล
เป็นองค์การทางการเมืองที่ดำเนินกิจการอันเป็นผลประโยชน์ของประชาชนในเขตท้องถิ่นนั้น ๆ การจัดตั้งเทศบาลทำได้โดยการออกพระราชกฤษฎีกายกท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แบ่งเทศบาลออกเป็น
1. เทศบาลตำบล เทศบาลประเภทนี้ไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์การจัดตั้งไว้โดยเฉพาะ แต่อยู่ในดุลยพินิจของรัฐ
2. เทศบาลเมืองได้แก่ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดหรือท้องถิ่นชุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ หนึ่งหมื่น คนขึ้นไป โดยมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
3. เทศบาลนครได้แก่ท้องถิ่นที่มีประชาชนตั้งแต่ ห้าหมื่นคน ขึ้นไป และมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันมีเทศบาลนครเพียงแห่งเดียว คือ เทศบาลนครเชียงใหม่
องค์ประกอบของเทศบาล ประกอบด้วย
1. สภาเทศบาล ประกอบด้วยสมาชิกที่ประชาชนเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้แทน ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของคณะเทศมนตรี
2. คณะเทศมนตรี ทำหน้าที่บริหารกิจการของเทศบาล มีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า การแต่งตั้งคณะเทศมนตรีกระทำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเป็นคณะเทศมนตรี ด้วยความเห็นชอบของสภาเทศบาล
3. พนักงานเทศบาล เป็นผู้ปฏิบัติงานของเทศบาล โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในงานทั่วไปของเทศบาล
องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) คือ หน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่นโดยประชาชนมีอำนาจตัดสินใจในการบริหารงานของตำบลตามที่กฏหมายกำหนดไว้
อบต. ประกอบด้วย
1. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมี กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านและแพทย์ประจำตำบล ราษฎรหมู่บ้านละ 2 คน
2. คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 2 คนเลือกจากสมาชิกองค์การฯอีก 4 คน ประธานกรรมการบริหารและเลขานุการกรรมการบริหาร
อบต. มีหน้าที่ต้องทำในเขตอบต. ดังนี้
(1) ให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
(2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(3) ป้องภัยโรคและระงับโรคติดต่อ
(4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
(6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
(7) คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(8) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ
นอกเหนือจากหลักการโดยทั่วไปของการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในรูปที่กล่าวมาแล้ว รัฐบาลได้จัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเพื่อให้เหมาะสมกับความสำคัญทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนเฉพาะแห่ง ปัจจุบันมีการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ 2 แห่ง คือ
การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
การบริหารราชการเมืองพัทยา
การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครประกอบด้วย
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานคร มีผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร 1 คน และรองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ไม่เกิน 4 คน ทั้งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการ กทม. เป็นข้าราชการการเมือง และได้รับเลือกตั้งจากประชาชนในกรุงเทพมหานคร
สภา กทม. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ควบคุมการบริหารราชการของผู้ว่าราชการ กทม. สภา กทม. ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน โดยถือเกณฑ์จำนวนประชาชน 1 แสนคนต่อสมาชิก 1 คน
ปลัดกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด และตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานคร
การบริหารราชการเมืองพัทยา
จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 เมืองพัทยามีฐานะเป็นนิติบุคคล ประกอบด้วย
สภาเมืองพัทยาประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน จำนวน 9 คน และสมาชิกจากการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำนวน 8 คนสภาเมืองพัทยา จะเลือกสมาชิกคนใดคนหนึ่งเป็นนายกเมืองพัทยา สภาเมืองพัทยาทำหน้าที่ด้านนโยบายและแผนการดำเนินงาน และควบคุมการปฏิบัติงานประจำของเมืองพัทยา
ปลัดเมืองพัทยามีหน้าที่บริหารกิจการเมืองพัทยาตามนโยบายของสภาเมืองพัทยา ปลัดเมืองพัทยามาจากการแต่งตั้งโดยสภาเมืองพัทยาตามที่นายกเมืองพัทยาเสนอผู้ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยาอย่างน้อย 2 คน แต่ไม่เกิน 3 คน

ศาลยุติธรรม

ศาลยุติธรรม (The Court of Justice) เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่ที่มีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่น
ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย
ศาลอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค
ศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลยุติธรรมสูงสุด ที่มีอยู่เพียงศาลเดียว
สำนักงานศาลยุติธรรม
สำนักงานศาลยุติธรรม เป็น
องค์กรอิสระที่ดูแลงานธุรการของศาลยุติธรรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอิสระในการบริหารงานบุคคลการงบประมาณและการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา
การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม

รัฐสภาไทย
รัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสถาบันที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานอำนาจให้เป็นผู้ออกกฎหมายสำหรับการปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติให้รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกัน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา โดยตำแหน่ง

ประวัติรัฐสภาไทย
รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่
28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา
ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการ
สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน
ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่
5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ
หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่
19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา
ประธานรัฐสภาไทย
รายนามประธานรัฐสภาไทย
จนถึงปัจจุบัน รัฐสภาไทย มีผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา รวม 28 คน ดังนี้
1.
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
28 มิถุนายน - 1 กันยายน 2475
15 ธันวาคม 2475 - 26 กุมภาพันธ์ 2476
2.
เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
2 กันยายน 2475 - 10 ธันวาคม 2476
3. พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (พลเรือตรี กระแส ประวาหะนาวิน)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
26 กุมภาพันธ์ 2476 - 22 กันยายน 2477
6 กรกฎาคม 2486 -24 มิถุนายน 2487
ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
31 สิงหาคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2490
15 พฤษภาคม 2490 - 8 พฤศจิกายน 2490
4.
เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
22 กันยายน 2477 - 15 ธันวาคม 2477
17 ธันวาคม 2477 - 31 กรกฎาคม 2478
7 สิงหาคม 2478 - 31 กรกฎาคม 2479
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
26 พฤศจิกายน 2490 - 18 กุมภาพันธ์ 2491
20 กุมภาพันธ์ 2491 - 14 มิถุนายน 2492
15 มิถุยายน 2492 - 20 พศจิกายน 2493
22 พฤศจิกายน 2493 - 29 พฤศจิกายน 2494
5.
พระยามานวราชเสวี (วิเชียร ณ สงขลา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
3 สิงหาคม 2479 - 10 ธันวาคม 2480
10 ธันวาคม 2480 -24 มิถุนายน 2481
28 มิถุยายน 2481 - 10 ธันวามคม 2481
12 ธันวาคม 2481 - 24 มิถุนายน 2482
28 มิถุนายน 2482 - 24 มิถุนายน 2483
1 กรกฎาคม 2483 - 24 มิถุนายน 2484
1 กรกฎาคม 2484 - 24 มิถุนายน 2485
30 มิถุนายน 2485 - 24 มิถุนายน 2586
2 กรกฎาคม 2487 - 24 มิถุนายน 2488
29 มิถุนายน 2488 - 15 ตุลาคม 2488
26 มกราคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2489
6. พันตรีวิลาศ โอสถานนท์ ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
4 มิถุนายน 2489 - 24 สิงหาคม 2489
7. พลเอก พระประจนปัจนึก (พุก มหาดิลก) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
1 ธันวาคม 2494 - 17 มีนาคม 2495
22 มีนาคม 2495 - 23 มิถุนายน 2495
28 มิถุนายน 2495 -23 มิถุนายน 2496
2 กรกฎาคม 2496 - 23 มิถุนายน 2497
29 มิถุนายน 2497 - 23 มิถุนายน 2498
2 กรกกาคม 2498 - 23 มิถุนายน 2499
30 มิถุนายน 2499 - 25 กุมภาพันธ์ 2500
16 มีนาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2500
28 มิถุนายน 2500 - 16 กันยายน 2500
27 ธันวาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2501
25 มิถุนายน 2501 - 20 ตุลาคม 2501
8. พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ์ สุทธิสารรณกร)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
20 กันยายน 2500 - 14 ธันวาคม 2500
ประธานรัฐสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
6 กุมภาพันธ์ 2502 - 17 เมษายน 2511
9.
นายทวี บุณยเกตุ ประธานรัฐสภา และประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
8 พฤษภาคม2511 -20 มิถุนายน 2511
10. พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
22 กรกฎาคม 2511 - 6 กรกฎาคม 2514
7 กรกฎาคม 2514 - 17 พฤศจิกายน 2514
11. พลตรีศิริ สิริโยธิน ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
18 ธันวามคม 2515 - 11 ธันวาคม 2516
12.
พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
29 ธันวาคม 2516 -7 ตุลาคม 2517
13. นายประภาศน์ อวยชัย ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
17 ตุลาคม 2517 - 25 มกราคม 2518
14.
นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
7 กุมภาพันธ์ 2518 -12 มกราคม 2519
15.
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
19 เมษายน 2519 - 6 ตุลาคม 2519
6 กุมภาพันธ์ 2544 - 5 มกราคม 2548
16. พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและประธานรัฐสภา
22 ตุลาคม 2519 - 20 พฤศจิกายน 2519
17. พลอากาศเอก หะริน หุงสกุล
ประธานรัฐสภา และประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
28 พฤศจิกายน 2519 - 20 ตุลาคม 2520
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
25 พฤศจิกายน 2520 - 22 เมษายน 2522
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
9 พฤษภาคม 2522 - 19 มีนาคม 2526
18. นายจารุบุตร เรืองสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
26 เมษายน 2526 - 19 มีนาคม 2527
19.
ศาสตราจารย์อุกฤษ มงคลนาวิน
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
30 เมษายน 2527 - 30 เมษายน 2528
1 พฤษภาคม 2528 - 23 เมษายน 2530
24 เมษายน 2530 - 22 เมษายน 2532
3 เมษายน 2335 - 26 พฤษภาคม 2535
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
2 เมษายน 2534 - 21 มีนาคม 2535
20.
ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
4 พฤษภาคม 2532 - 23 กุมภาพันธ์ 2534
21.
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
28 มิถุนายน 2535 - 29 มิถุนายน 2535
22.
ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
22 กันยายน 2535 - 19 พฤษภาคม 2538
23.
นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
11 กรกฎาคม 2538 27 กันยายน 2538
24.
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
24 พฤศจิกายน 2539 - 27 มิถุนายน 2543
25.
นายพิชัย รัตตกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
30 มิถุนายน 2543 - 9 พฤศจิกายน 2543
26.
นายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
8 มีนาคม 2548 - 24 กุมภาพันธ์ 2549
27.
นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
23 มกราคม 2551 - เมษายน 2551
28.
นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
15 พฤษภาคม 2551 - (ปัจจุบัน)
อาคารรัฐสภาแห่งใหม่
วันที่
29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ อนุมัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2552 เป็นเงิน 12,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บนพื้นที่ 119 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านเกียกกาย โดยจะต้องย้ายหน่วยราชการที่อยู่ในบริเวณนั้น ประกอบด้วย โรงเรียนโยธินบูรณะ โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ช่างกล ขส.ทบ. และบ้านพักข้าราชการหทาร กรมราชองครักษ์ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553
โดยจะใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิน 900 วัน โดยคาดว่าจะเสร็จในต้นปี
พ.ศ. 2556

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

นิทานเวตาล
นิทานเรื่องที่๒
พระราชาตริวิกรมเสนเสด็จกลับไปที่ต้นอโศกอีกครั้งหนึ่งเพื่อจับตัวเวตาล เมื่อเสด็จไปถึงที่นั้น ทรงสอดส่ายพระเนตรดูโดยรอบในความมืดอันมีแสงไฟเรือง ๆ จากจิตกาธานส่องมา ในที่สุดก็พบศพนั้นนอนหงายอยู่บนพื้นดินกำลังกรนอยู่ จึงเข้าไปจับตัวศพนั้นซึ่งมีเวตาลสิงอยู่ตวัดขึ้นบนบ่า และรีบดำเนินไปอย่างรวดเร็วเพื่อไปยังที่ซึ่งนัดไว้กับโยคีศานติศีล เวตาลซึ่งแขวนอยู่บนบ่าก็เริ่มกล่าวทำลายความเงียบขึ้นว่า
"โอ ราชะ ภาระที่พระองค์ต้องทนแบกไว้นี้ช่างสาหัสสากรรจ์เสียจริง ๆ ไม่เหมาะสมแก่พระองค์เลย ถ้ากระไรข้าจะเล่านิทานให้ฟังสักเรื่องหนึ่ง เพื่อจะได้ทรงเพลิดเพลิน ขอให้ทรงฟังเถิด"
บนฝั่งของแม่น้ำยมุนา ณ ที่แห่งนั้น เป็นเขตคามที่กำหนดไว้สำหรับพวกพราหมณ์โดยเฉพาะ มีชื่อว่าหมู่บ้านพรหมสถล ในหมู่บ้านนี้มีพราหมณ์ผู้หนึ่งอาศัยอยู่ มีชื่อว่า อัคนิสวามิน เป็นผู้ที่เจนจบในคัมภีร์พระเวททั้งปวง (คือคัมภีร์ไตรเวท ประกอบด้วยคัมภีร์ฤคเวท ยชุรเวท และสามเวท ต่อมาภายหลังได้เพิ่มเข้าไปอีกคัมภีร์หนึ่ง คืออถรรพเวท จึงเรียกว่า จตุรเวท) พราหมณ์ผู้นี้มีบุตรสาวแสนสวยผู้หนึ่งชื่อว่า มันทารวดี ความงามของนางล้ำเลิศหาที่เปรียบมิได้ราวกับเป็นผลงานที่พระพรหมทรงสรรค์สร้างขึ้น และเมื่อนางได้กำเนิดมาแล้วก็ดูเหมือนว่าท้าวธาดาเธอทรงสิ้นเยื่อใยในเทพอัปสรทั้งปวงโดยสิ้นเชิง เมื่อนางเจริญวัยเป็นสาวแรกรุ่นนั้นปรากฏว่ามีพราหมณ์หนุ่มสามคนเดินทางมาจากแคว้นกันยกุพชะ พราหมณ์เหล่านี้เป็นผู้แตกฉานในศาสตร์ทั้งปวงเท่าเทียมกัน และพราหมณ์แต่ละคนก็มุ่งมาสู่ขอมันทารวดีโฉมงามจากบิดาของนาง ต่างคนต่างก็สาบานว่าถ้านางแต่งงานกับคนอื่น ตนก็จะฆ่าตัวตาย แต่บิดาของนางก็มิได้ยกนางให้แก่ใคร เพราะเกรงว่าถ้ายกให้คนหนึ่ง อีกสองคนก็จะฆ่าตัวตายเสีย ดังนั้นนางจึงคงอยู่เป็นโสดเรื่อยมามิได้คิดแต่งงานกับใคร และพราหมณ์ทั้งสามก็ยังคงพักอยู่ที่นั่นเรื่อยมา ทั้งกลางวันและกลางคืนก็เฝ้าแต่มองดูพักตร์ของนางอันงามเปล่งปลั่งราวกับสมบูรณจันทร์ (พระจันทร์เต็มดวง) ต่างก็ไม่ได้กินไม่ได้นอน ทำตนราวกับนกจโกระ (นกเขาไฟ ตามนิยายโบราณกล่าวว่า "ยังชีพอยู่ได้ด้วยแสงจันทร์") ซึ่งอาศัยแสงจันทร์เป็นอาหารฉะนั้น
ต่อมานางมันทารวดีล้มป่วยเป็นไข้อย่างรุนแรง นางมิอาจจะทนทานต่อพิษไข้ได้ก็ถึงแก่ความตาย พราหมณ์หนุ่มทั้งสามมีความเศร้าโศกอย่างยิ่ง นำร่างอันเป็นศพของนางไปสู่ป่าช้า สวดให้แก่นางด้วยความรักและเผาศพนางที่จิตกาธาน พราหมณ์หนุ่มคนหนึ่งสร้างกระท่อมน้อยขึ้นตรงที่ใกล้ เอาเถ้าถ่านอังคารของนางมาโปรยลงบนเตียงและนอนทับบนพื้น เขายังชีพไปวันหนึ่ง ๆ ด้วยการถือกะลาขออาหารกินตามมีตามเกิด พราหมณ์คนที่สองรวบรวมกระดูกของนางเอาไปทิ้งในแม่น้ำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ ส่วนพราหมณ์คนที่สามถือเพศเป็นโยคีท่องเที่ยวพเนจรไปยังดินแดนต่าง ๆ
โยคีเดินทางผ่านแว่นแคว้นต่าง ๆ เรื่อยมาจนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อวัชรโลก จึงเข้าไปภิกขาจารที่บ้านพราหมณ์ผู้หนึ่ง ท่านพราหมณ์ได้ต้อนรับเขาด้วยอัธยาศัยอันดียิ่ง เขาจึงนั่งบริโภคอาหารในบ้านพราหมณ์ผู้นั้น ขณะนั้นมีเสียงทารกร้องจ้าขึ้นมาและร้องติดต่อกันไม่หยุด ไม่มีใครจะห้ามให้หยุดได้ นางพราหมณีผู้เป็นมารดาบันดาลโทสะจึงจับทารกขึ้นมาแล้วโยนโครมลงไปในกองไฟ เด็กถูกไฟเผาจนกลายเป็นเถ้าถ่าน โยคีผู้นั่งกินอาหารอยู่เงียบ ๆ แลเห็นเหตุการณ์โดยตลอดก็ตกใจ รู้สึกสยดสยองจนขนหัวลุกชัน ร้องออกมาว่า "พุทโธ่ พุทโธ่เอ๋ย นี่ข้าเข้ามาในบ้านของพราหมณ์รากษสหรือนี่ ข้าไม่กินอะไรแล้ว เพราะการเสพอาหารในบ้านของพราหมณ์ปีศาจเช่นนี้เป็นบาปกรรมอย่างมหันต์ไม่ว่าจะเป็นอาหารชนิดใดก็ตาม"
ขณะเมื่อเขากล่าวดังนี้ พราหมณ์ผู้คฤหบดี (เจ้าของบ้าน) จึงพูดว่า
"อย่าตกอกตกใจไปเลย ท่านจงคอยดู ข้าจะชุบชีวิตเด็กคนนี้ขึ้นใหม่ โดยการร่ายมนตร์อันศักดิ์สิทธิ์ ดูสิ"
เมื่อกล่าวดังนี้แล้ว มหาพราหมณ์ก็เดินไปหยิบคัมภีร์มหาเวทอันศักดิ์สิทธิ์มาเปิดออกแล้วสวดมนตร์บทหนึ่ง ขณะที่สวดอยู่ก็เอาขี้เถ้าโปรยลงในกองไฟ พอสวดจบลง เด็กก็ฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาใหม่ มีลักษณะและองคาพยพ (อวัยวะ) เหมือนเดิมทุกประการ พราหมณ์อาคันตุกะเห็นเหตุการณ์เป็นดังนั้นก็ค่อยคลายใจ ลงมือเสพอาหารต่อไปตามปกติ พราหมณ์เจ้าของบ้านเมื่อร่ายมนตร์เสร็จแล้ว ก็เอาคัมภีร์ไปเก็บไว้ที่เดิม ลงมือกินอาหารเสร็จแล้วก็เข้านอนในราตรี พราหมณ์อาคันตุกะก็กระทำเช่นเดียวกัน
พอเห็นพราหมณ์เจ้าของบ้านและภรรยานอนหลับแล้ว โยคีหนุ่มก็ลุกขึ้นค่อย ๆ ย่องไปที่เก็บคัมภีร์และหยิบเอาไป ตั้งใจจะเอาไปใช้ชุบชีวิตให้แก่นางมันทารวดีผู้เป็นที่รัก โยคีหนุ่มออกจากบ้านนั้นไปพร้อมด้วยคัมภีร์มหาเวท รีบเร่งเดินทางทั้งกลางวันและกลางคืน มุ่งกลับไปยังสุสานที่ตนและพรรคพวกช่วยกันเผาศพนางครั้งนั้น พอมาถึงป่าช้าก็แลเห็นพราหมณ์คนที่สองเดินทางกลับมาแล้วหลังจากที่เอาอัฐิของนางไปโยนแม่น้ำคงคาเพื่อให้นางไปสู่สุคติ และที่สุสานนั้นเช่นกันก็แลเห็นพราหมณ์ผู้เอาอังคารธาตุของนางมาโปรยนอน กำลังหลับอยู่ในกระท่อมที่สร้างไว้ จึงพูดกับพราหมณ์สหายให้รื้อกระท่อมทิ้งเสีย เพื่อตนจะได้ทำพิธีร่ายมนตร์มฤตสัญชีวินี (มนตร์ชุบคนตายให้ฟื้นคืนชีวิต พระศุกร์ได้มาจากพระศิวะและสืบต่อกันมาถึงคนรุ่นหลัง) ชุบชีวิตนางขึ้นใหม่ เมื่อรื้อกระท่อมทิ้งแล้วเถ้าถ่านของนางก็ตกเรี่ยรายอยู่บนพื้นดิน โยคีหนุ่มเมื่อเห็นทุกสิ่งพร้อมแล้วก็เปิดคัมภีร์ร่ายมนตร์อันศิกดิ์สิทธิ์พร้อมกับโปรยฝุ่นลงไปบนพื้นดินผสมผสานกับเถ้าถ่าน มินานพอจบมนตร์ดังกล่าวก็ปรากฎร่างนางมันทารวดีขึ้นในกองไฟ นางก้าวออกมาจากกองไฟพิธีด้วยรูปโฉมอันเปล่งปลั่งงดงามยิ่งกว่าเดิม ราวกับทองคำที่ถูกไฟชำระแล้วมีความสุกปลั่งผุดผ่องฉะนั้น
เมื่อพราหมณ์ทั้งสามแลเห็นนางมันทารวดีผู้งามเฉิดฉายราวเทพอัปสรปรากฏเฉพาะหน้า ต่างคนต่างก็แทบจะคลั่งตายเพราะความรัก และต่างก็ทุ่มเถียงแก่งแย่งกรรมสิทธิ์ในตัวนางด้วยกัน ไม่มีใครยอมเสียสละแก่กัน พราหมณ์ผู้เป็นโยคีกล่าวว่า "นางต้องเป็นของข้าเพราะข้าเป็นคนร่ายมนตร์ศักดิ์สิทธิ์ชุบนางขึ้นมาจากความตาย ข้าย่อมมีสิทธิ์ในตัวนาง" พราหมณ์คนที่สองเถียงว่า "นางควรเป็นของข้าเพราะข้าเป็นคนเอาอัฐิของนางไปโปรยลงในแม่น้ำคงคา ทำให้นางสะอาดบริสุทธิ์ด้วยสายน้ำอันศักดิ์สิทธิ์นั้น" และพราหมณ์คนที่สามก็กล่าวขึ้นอย่างเชื่อมั่นเต็มที่ว่า "ข้าเท่านั้นที่ควรจะได้นางเป็นภรรยา เพราะข้าเอาเถ้าถ่านของนางมาเก็บไว้และบำเพ็ญตบะเพื่อนางทุกวัน"
"โอ ราชะ" เวตาลกล่าวยิ้ม ๆ "โปรดตัดสินทีเถอะ ว่าในสามคนนี้นางควรจะเป็นของใคร ถ้าพระองค์รู้แล้วแกล้งไม่ตอบ พระเศียรของพระองค์จะต้องแยกเป็นเสี่ยง ๆ"
ฝ่ายพระเจ้าตริวิกรมเสนเมื่อได้ยินเวตาลพูดดังนั้นจึงตรัสว่า "ชายคนที่ร่ายมนตร์ทำให้นางคืนชีวิตขึ้นมานั้น ถึงแม้เขาจะต้องใช้ความสามารถและลำบากลำบนปานใด ก็ควรจะเป็นพ่อของนางเท่านั้น และพราหมณ์คนที่เอาอัฐิของนางไปสู่แม่น้ำคงคาก็ควรจะถือว่าเป็นลูกของนางอย่างเดียว ส่วนพราหมณ์ที่เก็บเถ้าถ่านของนางและคงอยู่ที่ป่าช้าถึงกับสร้างที่อยู่ตรงที่เผาศพนาง และบำเพ็ญตบะเพื่อนางนั่นต่างหาก ควรจะได้เป็นสามีของนางโดยแท้ เพราะเขาอยู่กับนางตลอดเวลามิได้ทอดทิ้งนางไปไหน แสดงความรักอันดื่มด่ำต่อนางแม้เพียงนอนบนเถ้าธุลีของนางโดยมิได้รังเกียจ"
เมื่อเวตาลได้ฟังพระเจ้าตริวิกรมเสนตรัส ดังนั้น เป็นการละเมิดสัญญาที่ตกลงกัน จึงอันตรธานจากบ่าของพระราชากลับไปที่อยู่ของตน แต่พระราชาก็ต้องทนลำบากติดตามหาตัวมันอีก ทั้งนี้ก็เพราะพระองค์ทรงถือมั่นในสัจจะที่ให้ไว้แก่โยคีศานติศีล และบุคคลที่มีสัจจะเช่นพระองค์นั้นไม่ว่าจะเป็นใครก็ย่อมจะปฏิบัติเหมือนกันหมด คือต้องทำภาระของตนให้สำเร็จลุล่วงไป ไม่ว่าจะต้องทนลำบากแม้ใหญ่หลวงเพียงไร
นิทานเวตาล
นิทานเรื่องที่๑
แต่โบราณกาล มีเมืองหนึ่งชื่อพาราณสี อันเป็นที่กล่าวกันว่าเป็นที่ประทับของพระศิวะผู้เป็นเจ้าเพราะเมืองนี้เป็นที่อยู่ของผู้บริสุทธิ์ในศาสนา ซึ่งเปรียบเหมือนภูเขาไกรลาสอันเป็นที่ชุมนุมของทวยเทพ แม่น้ำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์มีน้ำเปี่ยมฝั่งตลอดกาลไหลเลียบพระนครนี้ ทำให้ดูเสมือนสร้อยแก้วมณีอันบรรเจิดที่คล้องเอาไว้โดยรอบ
ที่พระนครพาราณสีนี้ มีพระราชาองค์หนึ่งทรงนามว่า พระเจ้าประตาปมกุฏปกครองอยู่ พระองค์เป็นผู้เลิศด้วยเดชานุภาพ สามารถปราบปรามเหล่าอริราชศัตรูได้ราบคาบราวกับกองอัคนีที่เผาผลาญป่าใหญ่ให้วอดวาย ฉะนั้นพระองค์มีราชโอรสองค์หนึ่งชื่อ วัชรมกุฏ ผู้ทรงโฉมอันงามยอดยิ่งเพียงดังจะเย้ยกามเทพให้ได้อาย เจ้าชายมีสหายผู้หนึ่งชื่อพุทธิศรีระ ซึ่งทรงรักและตีราคาคุณค่าของเขาเท่ากับชีวิตของพระองค์นั่นเทียว แลพุทธิศรีระนั้นเป็นบุตรมนตรีผู้ใหญ่ของพระราชา
สมัยหนึ่งเจ้าชายกับพระสหายพากันแสวงหาความบันเทิงสุขโดยการขี่ม้าประพาสป่าไล่ล่าสิงโตอย่างสนุก ทรงยิงธนูตัดสร้อยคอของสีหะเหล่านั้น อันมีลักษณะดังแส้จามรีของมันขาดกระจุย ในที่สุดเสด็จมาถึงป่าใหญ่แห่งหนึ่งที่นั้นมีความงดงามรื่นรมย์ราวกับอุทยานของกามเทพ มีเสียงนกดุเหว่าวิเวกแว่วอ่อนหวาน ผสมผสานมากับสายลมที่แผ่วรำเพยมาจากแนวพฤกษ์อันมีดอกบานสะพรั่งทุกกิ่งก้านกวัดไกวไปมา ระหว่างทิวไม้อันคดโค้งในเบื้องหน้าเป็นทะเลสาบซึ่งมีน้ำอันใสเขียวดังมรกตและมีระลอกน้อย ๆ วิ่งไล่กันเข้าสู่ฝั่งมิได้ ขาด กลางบึงใหญ่มีกอบัวอันสลับสล้างด้วยสีสันวรรณะต่าง ๆ อย่างงดงาม ณ ที่นั้น เจ้าชายทอดพระเนตรเห็นนารีนางหนึ่งมีรูปโฉมงดงามดังเทพอัปสร ลงเล่นน้ำอยู่พร้อมด้วยคณานางผู้เป็นบริวาร นางมีพักตร์อันงามดังสมบูรณจันทร์ อันทำให้เศวโตตบล (บัวสายสีขาว) ทั้งหลายต้องได้อาย เพียงได้แลเห็นนางครั้งแรก เจ้าชายหนุ่มก็รู้สึกเหมือนว่านางได้คร่าเอาดวงหทัยของพระองค์ไปเสียแล้วด้วยเสน่ห์อันลึกซึ้งของนาง แลนางนั้นกำลัง เพลิดเพลินอยู่ด้วยการเล่นน้ำจนมิทันระวัง อาภรณ์ที่หลุดร่วงจากอุระ ขณะที่เจ้าชายและสหายกำลังจ้องดูนางอยู่
ด้วยความสงสัยว่านางเป็นใครนั้น ก็พอดีนางเหลือบมาเห็นเข้า นางเมินหน้าหนีด้วยความอาย แต่แล้วกลับแสดงท่าทีเป็นนัย ๆ ให้ทราบว่านางเป็นใครมาจากไหน นางเด็ดดอกบัวออกจากมาลาที่สวมศีรษะนางดอกหนึ่งเอาทัดหูไว้ นิ่งอยู่ครู่หนึ่ง แล้วเอาดอกบัวออกจากหู บิดให้เป็นรูปเครื่องประดับอย่างหนึ่งที่เรียกว่า ทันตบัตร (แผ่นฟันเป็นรูปอาภรณ์ชนิดหนึ่ง) จากนั้นนางหยิบดอกบัวอีกดอกหนึ่งขึ้นวางบนศีรษะ และเอามือปิดอุระไว้ตรงหัวใจนาง เจ้าชายมองดูอากัปกิริยาของนางอย่างไม่เข้าใจ แต่สหายผู้เป็นบุตรมนตรีเข้าใจโดยตลอด นางโฉมงามนิ่งอยู่ครู่หนึ่งก็ขึ้นจากน้ำแวดล้อมด้วยบริวารเดินทางกลับไปยังนิวาสสถานของนาง
เมื่อนางเข้าในบ้านก็ล้มตัวลงบนที่นอน มีใจอันเต้นระทึกคิดถึงเจ้าชายด้วยความสงสัยว่าพระองค์จะเข้าใจสัญญาณของนางหรือไม่ ส่วนเจ้าชายวัชรมกุฏ เมื่อมิได้เห็นนางอีกแล้วก็เปรียบเหมือนวิทยาธรที่สิ้นไร้ซึ่งมนตร์วิเศษ เมื่อเสด็จกลับถึงพระนครก็มีแต่จิตประหวัดคิดถึงนางอยู่มิรู้วาย ทรงตกอยู่ในอารมณ์รันทด มีแต่ความเศร้าสร้อยอาวรณ์หาแต่นางผู้เดียว วันหนึ่งบุตรมนตรีเข้ามาเฝ้าและสนทนากันด้วยเรื่องต่าง ๆ พุทธิศรีระบุตรมนตรี ได้ถามเจ้าชายผู้เป็นสหายว่ามีความคิดอย่างไรเรื่องนางงามที่พบที่ทะเลสาบ ในความคิดของตนเห็นว่านางนั้นอาจจะติดต่อได้ง่ายกว่าที่คิดเพราะทุกอย่างไม่มีปัญหาอะไรเลย
เจ้าชายได้ฟังก็พลุ่งขึ้นมาว่า “เจ้าพูดได้อย่างไรว่าเข้าหาไม่ยากเลย ข้าไม่รู้จักแม้แต่ชื่อของนาง ที่ซึ่งนางอยู่ หรือแม้แต่หัวนอนปลาย ตีนของนางทั้งสิ้น เจ้าชางกวนโมโหข้าเสียจริง”
เมื่อเจ้าชายตรัสดังนี้ พุทธิศรีระก็ถึงกับอ้าปากค้าง กล่าวว่า “อะไรนะ พระองค์ไม่ทราบได้อย่างไรในเมื่อนางให้สัญญาณออกโจ่งแจ้งอย่างนั้น ก็เมื่อนางเอาดอกบัวทัดที่หู นางหมายจะบอกพระองค์ว่า ‘ฉันอยู่ในแว่นแคว้นของพระราชานาม กรรโณตบล’ (ผู้มีดอกกบัวประดับที่หู) เมื่อนางบิดกลับบัวเป็นอาภรณ์ทันตบัตร นางหมายความว่า ‘จงรู้เถิดว่าฉันเป็นลูกของทัตแพทย์ที่เมืองนั้น’ การที่นางหยิบดอกบัวขึ้นชูบนศีรษะว่า นางชื่อปัทมาวดี และการที่นางเอามือทาบหทัยประเทศก็หมายความว่า พระองค์สถิตอยู่ในหัวใจของนางแล้วนั่นเอง พระองค์ไม่รู้หรือว่าพระราชากรรโณตบลนั้นเป็น กษัตริย์แห่งแคว้นกลิงคะ และมีพระสหายที่โปรดปรานคนหนึ่งเป็นหมอฟันชื่อสงครามวรรธน์ ก็ชายผู้นี้แหละ มีลูกสาวชื่อ ปัทมาวดี ผู้เป็นมุกดาแห่งโลกทั้งสาม และบิดาของนางตีราคานางเท่ากับชีวิตของเขานั่นเทียว
เรื่องราวเหล่านี้ข้าพเจ้าทราบจากคำคนเขาพูดกันมานานแล้ว เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงตีความหมายของนางได้ถูก ต้องไม่ว่านางจะแสดงท่าทีอย่างไร
เมื่อราชบุตรได้ฟังคำเฉลยอันแจ่มแจ้งของบุตรมนตรีดังนี้ ก็มีใจปลอดโปร่งสิ้นความกังวลวิตก มีใบหน้าอันแช่มชื่นขึ้นทันที และเห็นโอกาสที่จะไปหานางอันเป็นที่รักได้โดยง่าย จึงจัดการเสด็จอีกครั้งหนึ่งพร้อมด้วยบุตรมนตรี โดยแสร้งทำเป็นว่าจะไปล่าสัตว์แล้วมุ่งไปหานางโดยทันทีตามเส้นทางเดิม พอมาถึงกลางทาง เจ้าชายก็กระตุ้นม้าเผ่นโผนไปด้วยความเร็วจนข้าราชบริพารตามไม่ทัน แล้วมุ่งหน้าไปยังแคว้นกลิงคะพร้อม ด้วยบุตรมนตรีตามเสด็จอย่างใกล้ชิด ณ ที่นั้นชายหนุ่มทั้งสองก็มุ่งไปยังพระนครของพระราชากรรโณตบล แล้วสืบเสาะจนพบคฤหาสน์หลังงามของทันตแพทย์ผู้ยิ่งใหญ่ เจ้าชายและพระสหายแวะเข้าไปสู่บ้านของหญิง ชราผู้หนึ่งซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับคฤหาสน์นั้น พุทธิศรีระจัดการให้หญ้าให้น้ำแก่ม้าทั้งสองตัว แล้วเอาไปซ่อนในที่ ลับตา จากนั้นก็กล่าวแก่หญิงชราต่อพระพักตร์ของเจ้าชายว่า “คุณแม่ ท่านเคยรู้จักหมอฟันชื่อ สงครามวรรธน์บ้างหรือ”
พอนางได้ฟังถ้อยคำดังนั้น ก็กล่าวแก่ชายหนุ่มอย่างอ่อนน้อมว่า “แม่รู้จักเขาดีทีเดียว ก็แม่นี่แหละเคยเป็นแม่นมของเขา เดี๋ยวนี้เขาให้แม่เป็นคนดูแลลูกสาวของเขาแล้ว แต่แม่ก็ไม่ได้เข้าไปที่บ้านใหญ่นั่นหรอก เพราะไม่มีเสื้อผ้าดี ๆ จะแต่ง มีแต่ชุดปอน ๆ นี่จะใส่ไปก็อายเขา ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะอ้ายลูกชายชาติชั่ว มันเล่นการพนันหมดเนื้อหมดตัว ไม่มีอะไรเหลืออีกแล้ว มันเห็นเสื้อผ้าสวย ๆ ของแม่มีอยู่ มันก็ขนเอาไปจนหมด” เมื่อบุตรมนตรีได้ฟังดังนั้นก็ยินดี แลเห็นช่องทางโดยตลอด จึงถอดสร้อยสังวาลออกมอบให้นางพร้อมด้วยของขวัญอีกหลายอย่าง ทำให้นางปลาบปลื้มเป็นอันมาก บุตรมนตรีเห็นได้โอกาสจึงกล่าวแก่นางว่า
“คุณแม่จงเป็นแม่ของพวกเราเถิด ตอนนี้ฉันมีความลับอย่างหนึ่งที่จะบอกคุณแม่ และขอให้คุณแม่ช่วยสงเคราะห์ด้วย ให้คุณแม่ไปหานางปัทมาวดี ลูกหมอฟันและกล่าวแก่นางว่า เจ้าชายที่เจ้าเห็นที่ทะเลสาบนั้น บัดนี้มาถึงแล้ว และเพราะความรักของเขาที่มีต่อเจ้าอย่างท่วมท้น เขาจึงรีบให้แม่มาบอกเจ้า”
เมื่อหญิงชราได้ฟังดังนั้นก็ตอบตกลง เพราะได้ลาภสักการมาไว้แล้วอย่างเต็มที่ รีบกระวีกระวาดเข้าไปพบนางปัทมาวดีในปราสาท และกลับมาในเวลาเพียงชั่วครู่ เจ้าชายและพระสหายเห็นนางกลับมาก็ถามเรื่องราวโดยทันที นางได้ฟังก็ตอบว่า “แม่ไปพบนางอย่างลับ ๆ และแจ้งข่าวแก่นางว่าเจ้ามาถึงแล้ว พอนางฟังจบก็ด่าข้ายกใหญ่ มิหนำซ้ำยังตบหน้าข้าทั้งสองข้างข้างละทีด้วยฝ่ามือที่ทาด้วยการบูร แล้วไล่ข้ากลับมา นางทำให้ข้าต้องร้องไห้ด้วยความเสียใจเพราะถูกดูหมิ่นอย่างคาดไม่ถึง นี่ไงล่ะ ลูกเอ๋ย รอยที่นางตบข้ายังเป็นผื่นห้านิ้วอยู่เลยเห็นไหม”
เมื่อได้ฟังดังนี้ เจ้าชายก็รู้สึกเป็นทุกข์เพราะความผิดหวังยิ่งนัก แต่บุตรมนตรีผู้ฉลาดได้กล่าวปลอบโยนว่า “อย่าทรงเศร้าโศกไปเลยพระเจ้าข้า ที่นางทำอย่างนี้เป็นแต่เพียงปริศนาเท่านั้นหรอก การที่นางบริภาษแม่เฒ่าและตบหน้าทั้งสองแก้มด้วยมือทาการบูรทั้งสิบนิ้วเป็นรอยสีขาวอย่างนั้นก็เพราะนางต้องการจะตอบเป็นนัย ๆ ว่าให้พระองค์ทรงรออีกสิบวันข้างขึ้น เพราะระหว่างนี้เป็นวันที่ฤกษ์ไม่ดี”
หลังจากที่บุตรมนตรีกล่าวปลอบโยนเจ้าราชบุตรดังนี้แล้ว บุตรมนตรีก็ออกไปตลาด แอบเอาเครื่องทองหยองออกขายอย่างลับ ๆ เอาเงินมาให้แม่เฒ่าไปทำอาหารอย่างดีเลิศมากินกันทั้งสามคน หลังจากนั้นเมื่อรอมาครบสิบวัน บุตรมนตรีก็ส่งแม่เฒ่าไปพบนางปัทมาวดีอีกเพื่อดูว่านางจะว่าอย่างไร ฝ่ายหญิงชราหลังจากที่ถูกปรนเปรอด้วยเหล้ายาปลาปิ้งและอาหารนานารสอย่างอิ่มหมีพีมันแล้วก็มีกำลังใจยอมช่วยเหลือเต็มที่ นางเดินทางไปหานางปัทมาวดีอีกครั้งเพื่อเอาใจแขกทั้งสอง นางไปแล้วมิช้าก็กลับมากล่าวแก่ชายทั้งสองว่า “แม่ไปมาแล้ว และไม่ทันได้พูดอะไร แต่นางกลับเยาะเย้ยแม่ว่าทำเป็นแม่สื่อดีนัก นางเอามือที่ทาชาดมาแปะหน้าอกข้าเป็นรอยนิ้วมือสามนิ้ว ข้าจึงกลับมายังเจ้าพร้อมด้วยรอยนิ้วมือของนางนี่แหละ”
เมื่อบุตรมนตรีได้ฟังและพิเคราะห์ด้วยความฉลาดก็ทูลเจ้าชายให้สงบพระทัย และไตร่ตรองในปริศนาของนาง ซึ่งตนเห็นว่าไม่ลี้ลับอะไรเลย “นางต้องการจะบอกให้ทราบว่า นางยังไม่ว่างที่จะพบใครในสามวันนี้” บุตรมนตรีเฉลยปัญหาอย่างมั่นใจ
หลังจากนั้นอีกสามวัน พุทธิศรีระก็ส่งหญิงเฒ่าไปหานางปัทมาวดีอีก คราวนี้นางปัทมาวดีต้อนรับขับสู้เป็นอย่างดี ปรนเปรอด้วยอาหารอันเอมโอชและสุราอย่างดี หญิงชราเพลิดเพลินอยู่ที่คฤหาสน์ตลอดวัน จนกระทั่งถึงเวลาเย็นนางจึงลากลับบ้าน ขณะนั้นปรากฎเสียงอื้ออึงในท้องถนนหน้าคฤหาสน์เสียงคนร้องเอะอะว่า “ระวังด้วย มีช้างบ้าหลุดจากเสาตะลุงวิ่งมาทางนี้ มันกระทืบคนตายไปหลายคนแล้ว หนีเร็ว!” นางปัทมาวดีได้ยินดังนั้นจึงกล่าวแก่หญิงชราว่า “แม่อย่าออกไปทางถนนใหญ่เลย อันตรายเปล่า ๆ เราจะให้แม่นั่งในกระเช้าแล้วค่อยหย่อนเชือกลงไปจากหน้าต่างดีกว่า พอลงไปถึงสวนแล้วก็ปีนต้นไม้ออกไปที่กำแพง แล้วข้ามกำแพง ลงไปโดยไต่ลงต้นไม้อีกต้นหนึ่ง ถึงทางลัดแล้วแม่ก็กลับไปบ้านเถิด” หลังจากกล่าวดังนี้แล้ว นางปัทมาวดีก็ให้หญิงชราลงไปนั่งในกระเช้า เอาเชือกพันแน่นหนา แล้วก็ค่อยหย่อนนางลงทางหน้าต่าง เมื่อลงไปถึงสวนแล้วก็ให้นางทำตามที่บอกจนหญิงเฒ่ากลับสู่บ้านด้วยความปลอดภัย เมื่อนางกลับมาบ้านแล้วก็เล่าเรื่องทั้งหมดให้ชายหนุ่มทั้งสองฟัง บุตรมนตรีได้ฟังดังนั้นก็กล่าวแก่เจ้าชายว่า “ความปรารถนาของพระองค์ถึงความสำเร็จแล้ว เพราะฟังจากถ้อยคำแม่เฒ่านี่ นางปัทมาวดีได้แนะหนทางให้พระองค์ไปสู่บ้านของนางแล้ว เพราะฉะนั้นจงเสด็จไปเถิด ไปเสียวันนี้เลย เวลาย่ำค่ำ ไปตามหนทางที่นางชี้แนะไว้แล้วนั่นแหละ”
เมื่อบุตรมนตรีกล่าวดังนี้ เจ้าราชบุตรก็เดินทางไปพร้อมด้วยบุตรมนตรีลัดเลาะมาจนถึงแนวกำแพงบ้านนางตามที่หญิงชราบอกไว้ ที่ตรงนั้นมีเชือกผูกระเช้าหย่อนลงมาจากหน้าต่าง ที่ขอบหน้าต่างแลเห็นสาวใช้กำลังเยี่ยม ๆ มอง ๆ เหมือนนางกำลังคอยหาเจ้าชายอยู่ ดังนั้นเจ้าจึงลงไปนั่งในกระเช้านางสาวใช้สองคนก็ช่วยกันชักกระเข้าขึ้นไปจนถึงหน้าต่าง จากนั้นเจ้าชายก็เสด็จเข้าไปในปราสาทและตรงเข้าไปหานางอันเป็นที่รัก บุตรมนตรีเห็นว่าเสร็จธุระของตนแล้วก็กลับที่พัก
ส่วนเจ้าชายเมื่อเข้าไปถึงห้องของนางก็แลเห็นนางนั่งอยู่บนอาสน์ มีใบหน้าอันงามปลั่งเปล่งดังจันทร์เพ็ญฉายแสงอร่ามเรืองในราตรี นางแลเห็นเจ้าชายก็รีบลุกจากแท่นเข้ามากอดไว้ด้วยความเสน่หาอันแผดเผาอุระให้ทรมานมานับเดือน เจ้าชายประคองนางไว้ด้วยความรัก และกระทำวิวาหะต่อนางตามแบบคานธรรพวิวาห์ (การได้เสียกันเองด้วยความพอใจทั้งฝ่ายชายและหญิง วิวาหะชนิดนี้ถือเป็นแบบหนึ่งที่ถูกต้องตามกฏหมายอย่างหนึ่งใน 8 ชนิด) เมื่อความปรารถนาของพระองค์บรรลุความสำเร็จแล้ว เจ้าชายก็ประทับอยู่กับนางเรื่อยมาโดยการลักลอบมิให้รู้ถึงผู้อื่น จนเวลาผ่านไปหลายวัน
วันหนึ่งขณะในที่อยู่กับนางในที่รโหฐาน เจ้าชายรำลึกถึงพระสหายได้ จึงกล่าวแก่นางว่า “ดูก่อนเจ้าผู้เป็นที่รัก สหายร่วมใจของข้ากำลังคอยข้าอยู่ที่บ้านแม่เฒ่า เวลาก็ผ่านไปหลายวันแล้ว ข้าคิดว่าควรจะกลับไปเยี่ยมเยียนเขาบ้าง เพราะเขาคอยฟังข่าวจากข้าอยู่ เสร็จธุระแล้วข้าจะกลับมาที่นี่อีก”
ปัทมาวดีโฉมงามได้ฟังก็นิ่งอยู่ ไตร่ตรองด้วยความฉลาดของนาง แล้วก็กล่าวแก่สามีของนางว่า “โอท่านผู้เป็นบดี (สามี หรือนาย) ของข้า เมื่อพระองค์ตรัสดังนี้ก็ดีแล้ว แต่ข้ายังมีความสงสัยอยู่อย่างหนึ่งที่จะถามว่า ก่อนหน้านี้ข้าเคยทำปริศนาหลายอย่างต่อพระองค์ พระองค์ทรงตีปัญหาแตกด้วยความคิดของพระองค์เองหรือ หรือว่าบุตรมนตรีผู้เป็นสหายเป็นคนคิดให้”
     เจ้าราชบุตรได้ฟังดังนั้นก็กล่าวตอบโดยความซื่อว่า “ข้าไม่ได้คิดเองเลยสักอย่าง แต่สหายของข้าคือบุตรมนตรีผู้นั้นเป็นผู้แนะนำต่างหาก”
นางได้ฟังดังนั้นก็คิดในใจด้วยความล้ำลึก ปกปิดความรู้สึกอันแท้จริงมิให้ปรากฏออกนอกหน้า กล่าวว่า “พระองค์ทำผิดเสียแล้วที่ไม่แจ้งเรื่องนี้แก่ข้าก่อน เมื่อเขาเป็นสหายของพระองค์ เขาก็ควรจะเป็นพี่ของข้าด้วย ข้าควรจะให้เกียรติแก่เขายิ่งกว่าใคร ๆ ทั้งหมด โดยให้ของขวัญอันมีค่าต่าง ๆ”
เมื่อนางกล่าวดังนี้แล้ว ตกเวลากลางคืนนางก็ส่งเจ้าชายกลับไปโดยวิธีเดิมเหมือนขามา เจ้าชายก็กลับมาหาพุทธิศรีระและพักอยู่ด้วยกันเป็นเวลาหลายวัน วันหนึ่งราชบุตรกล่าวแก่บุตรมนตรีว่าพระองค์ได้เล่าเรื่องการแก้ปริศนาของเขาให้นางทราบหมดแล้วเพื่อต้องการจะยกย่องความฉลาดของเขา สหายหนุ่มได้ฟังก็ตำหนิ ว่าเป็นการเสี่ยงมากที่ทรงทำดังนั้น การสนทนาระหว่างสองชายดำเนินไปจนกระทั่งเย็นค่ำ วันต่อมา หลังจากการสวดประจำวันเวลาเช้าสิ้นสุดลง ก็ปรากฏว่ามีสาวใช้คนสนิทของนางปัทมาวดีมารอพบอยู่ เอาหมากพลูมาให้พร้อมกับอาหารซึ่งน่ากินหลายอย่าง นางถามสารทุกข์สุกดิบของบุตรมนตรีตามธรรมเนียม แล้วมอบของกินให้แก่เขาและกล่าวแก่เจ้าชายว่า นางปัทมาวดีกำลังคอยอยู่ ขอให้พระองค์เสด็จไปเสวยอาหารที่บ้านของนางโดยเร็ว นางกล่าวจบก็รีบผลุนผลันกลับไป บุตรมนตรีเห็นนางไปแล้วก็กล่าวแก่เจ้าชายว่า
“ข้าแต่ราชบุตร โปรดคอยดู ข้าจะแสดงอะไรให้ดูสักอย่าง” กล่าวจบก็นำอาหารในภาชนะนั้นมาให้สุนัขกิน สุนัขกินอาหารนั้นยังไม่ทันหมดก็ล้มลงขาดใจตาย เจ้าชายแลดูด้วยความงุนงง ตรัสว่า “นี่มันอะไรกัน ข้าไม่เข้าใจ”
บุตรมนตรีจึงอธิบายว่า “ความจริงก็คือ นางผู้เป็นที่รักของพระองค์รู้ว่าข้าเป็นคนมีปัญญา เพราะสามารถตีปัญหาของนางออกทุกอย่าง นางจึงส่งอาหารใส่ยาพิษมาให้ข้ากิน ที่นางทำเช่นนี้ก็เพราะนางรักพระองค์มากเหลือเกิน นางต้องการให้พระองค์รักนางอย่างสุดจิตสุดใจ และนางเห็นว่า ตราบใดที่ข้ายังมีชีวิตอยู่ ข้าอาจเป็นก้างขวางคอนาง และอาจจะยุยงพระองค์ให้เหินห่างจากนางเมื่อไรก็ได้ นางจึงคิดจะฆ่าเสีย มิให้ข้านำพาพระองค์เสด็จกลับพระนคร แต่พระองค์อย่าโกรธนางเลย ทางที่ดีขอให้พระองค์เล้าโลมนางจนคิดหนีจากสกุลติดตามพระองค์กลับสู่พระนครจะดีกว่า ข้าจะเป็นผู้ออกอุบายดำเนินเรื่องนี้เอง”
เมื่อบุตรมนตรีทูลดังนี้ เจ้าราชบุตรก็ทรงยิ้มแย้มด้วยความพอพระทัยตรัสว่า “เจ้านี่สมแล้วที่ได้ชื่อว่า พุทธิศรีระ เพราะเจ้าเป็นแหล่งของความฉลาดแท้เทียว”
ขณะที่เจ้าชายกำลังกล่าวยกย่องพระสหายอยู่นั้นก็ได้ยินเสียงคนเป็นอันมากส่งเสียงปริเทวนาการมาจากท้องถนนว่า “โธ่เอ๋ย ช่างกระไรราชบุตรน้อยของพระราชามาด่วนจากไปเสียแล้ว ไม่ควรเลย ยังเด็กอยู่แท้ ๆ” บุตรมนตรีได้ยินเสียงดังนั้นก็รู้สึกยินดีนัก กล่าวแก่เจ้าชายว่า “รีบเสด็จไปบ้านนางเถอะ คืนนี้เมื่อพระองค์อยู่กับนาง จงพยายามให้นางดื่มสุราให้มาก ให้นางเมาจนสิ้นสติแน่นิ่ง แล้วจงเอาเหล็กเผาไฟนาบสะโพกของนางเป็นเครื่องหมายแล้วเก็บสร้อยถนิมพิมพาภรณ์เครื่องประดับกายของนางมาให้หมด จากนั้นขอให้เสด็จกลับมาทางเดิม เมื่อกลับมาบ้านแล้วข้าจะดำเนินการตามแผนที่คิดไว้ทุกอย่าง” เมื่อบุตรมนตรีกล่าวดังนี้แล้วก็มอบเหล็กแหลมรูปตรีศูลอันเล็ก ๆ มีลักษณะแหลมราวกับขนหมูป่าให้แก่เจ้าชายเพื่อไปกระทำตามแผน เจ้าชายรับมาแล้วทรงพิจารณาดูอาวุธน้อยอันดำเป็นมันขลับราวกับตะกั่วดำ พลางคิดว่าทั้งนางปัทมาวดีผู้เป็นที่รัก กับพุทธิศรีระผู้เป็นสหายแก้ว ดูจะเป็นคนใจหินด้วยกันทั้งคู่ไม่มีใครเป็นรองใครจึงตรัสว่า “เอาเถอะข้าจะทำตามที่เจ้าสั่งทุกอย่าง”
คืนนั้นเจ้าชายเสด็จไปยังคฤหาสน์ของนางปัทมาวดี เพราะขึ้นชื่อว่าเจ้าชายย่อมจะต้องทำตามคำแนะนำของมนตรีที่ฉลาดเสมอ ณ ที่นั้นพระองค์ได้ภิรมย์อยู่ด้วยนางจนเวลาค่อนคืน ปรนเปรอนางด้วยสุรา จนนางเมามายถึงขนาดและแน่นิ่งไป เจ้าชายเห็นได้โอกาสก็หยิบตรีศุลมาลนไฟแล้วนาบลงที่สะโพกของนางโดยนางยังคงสลบไสลไม่ได้สติเช่นเดิม เสร็จแล้วทรงรวบรวมรัตนาภรณ์ของนางใส่ห่อผ้า เสด็จเร้นพระองค์ลงจากหน้าต่างในความมืด แฝงกายลัดเลาะมาถึงบ้าน แจ้งเหตุการณ์ทุกอย่างให้บุตรมนตรีทราบ ทำให้บุตรมนตรีดีใจที่แผนการประสบผลสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว
รุ่งเช้าบุตรมนตรีแอบไปยังสุสานนอกเมือง พร้อมด้วยราชบุตร และเปลี่ยนเสื้อผ้า โดยบุตรมนตรีปลอมตนเป็นโยคี ส่วนเจ้าชายปลอมเป็นสาวก เสร็จแล้วบุตรมนตรีกล่าวแก่เจ้าชายว่า “พระองค์จงนำรัตนาวลีนี้ไปเร่ขายในตลาด แล้วทำเป็นโก่งราคาเสียจนไม่มีใครกล้าแตะ จงเดินเร่ขายไปเรื่อย ๆ ทำให้ใคร ๆ ได้เห็นกันจนทั่ว และเมื่อถูกราชบุรุษ (ตำรวจ) จับ จงทำเป็นไม่รู้อิโหน่อิเหน่ตอบแต่เพียงว่า ท่านโยคีอาจารย์ของข้าสั่งให้ข้าเอาสร้อยเส้นนี้มาขาย
เมื่อบุตรมนตรีกำชับกำชาเรียบร้อยแล้วก็ส่งเจ้าชายออกไปที่ตลาด เจ้าชายแกล้งตระเวนขายสายสร้อยมณีไปทั่วตลาด ในที่สุดก็ถูกราชบุรุษจับ เพราะราชบุรุษได้รับแจ้งความมาว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัตนาภรณ์ที่โจรเอาไปจากลูกสาวเศรษฐีผู้เป็นทันตแพทย์ เมื่อราชบุรุษจับกุมเจ้าชายไปแล้วก็นำไปมอบแก่ตุลาการ ตุลาการแลเห็นราชบุตรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าของโยคี ก็รีบแสดงความเคารพและถามด้วยความนอบน้อมว่า “ข้าแต่ท่านสาธุ ท่านเอาสร้อยมณีเส้นนี้มาจากไหน ท่านรู้หรือไม่ว่า สร้อยเส้นนี้เป็นของธิดาเศรษฐีใหญ่ คือธิดาทันตแพทย์หลวง นางทำหายไปโดยไร้ร่องรอยจำไม่ได้ว่าที่ไหน บางทีอาจจะถูกขโมยเมื่อคืนนี้ก็ได้”
เมื่อเจ้าชายผู้ปลอมเป็นสาธุได้ฟังดังนั้นจึงตอบว่า “ท่านมหาคุรุผู้เป็นอาจารย์ของข้าเป็นคนมอบให้ข้าเอง ถ้าท่านอยากรู้อะไรก็จงสอบถามท่านคุรุเถิด”
ตุลาการได้ฟังก็เดินทางไปที่สุสาน แลเห็นบุตรมนตรีนั่งอยู่ คิดว่าเป็นโยคีจึงเข้าไปทำความเคารพและถามว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านได้มุกดาวลีเส้นนี้มาจากไหน ข้าได้มาจากศิษย์ของท่าน”
เมื่อหนุ่มเจ้าเล่ห์ได้ฟังก็ตอบว่า “ข้าเป็นนักบวชแสวงบุญ เดินทางท่องเที่ยวจาริกแสวงบุญไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่พำนักถาวร ข้าชอบท่องเที่ยวไปในไพรกว้าง ออกจากป่าโน้นเข้าป่านี้ตามอำเภอใจของข้า คราวนี้ประเหมาะได้เจอเรื่องตื่นเต้นเข้าจนได้ เมื่อคืนข้ามาพักอยู่ในสุสานนี้ ข้าได้เห็นนางแม่มดจำนวนมากมาประชุมกันที่นี่ พวกมันคนหนึ่งนำเอาร่างสลบไสลของชายองค์หนึ่งมาด้วย มันเอาร่างเปล่าเปลือยของชายเคราะห์ร้ายมาวางเป็นเครื่องบูชายัญแด่องค์พระไภรวะ (ผู้น่ากลัว หมายถึงพระศิวะ (อิศวร) ปางดุร้าย) นางแม่มดตนหนึ่งมีอำนาจตบะแรงกล้ามิใช่น้อย แอบเข้ามาขโมยสร้อยประคำที่ข้าใช้ท่องบ่นมนตราอันศักดิ์สิทธิ์ไป ข้าลืมตาขึ้นเห็นนางตัวดีวิ่งหนีไปข้างหน้า ข้าโกรธมาก วิ่งตามไปจิกหัวมัน กระชากสร้อยประคำคืนมาแล้วมัดนางไว้ เอาตรีศุลของข้าลนไฟแล้วนาบสะโพกมัน ข้าหยิบสร้อยมุกดาที่มันสวมคอเอามาด้วย แล้วปล่อยมันไป ข้าเห็นว่ารัตนาวลีนี้เป็นของมีค่า มิใช่ของอันดาบสพึงเก็บเอาไว้ใช้สอย จึงให้ลูกศิษย์ข้าเอาไปขายที่ตลาด เรื่องก็มีเท่านี้แหละ
เมื่อตุลาการได้ฟังเรื่องราวโดยตลอดเช่นนั้นก็รีบกลับเข้าวังทูลพระราชาให้ทรงทราบ พระราชาได้ฟังรู้สึกตื่นเต้นไม่น้อยที่มีเรื่องราวดังกล่าวเกิดขึ้น ในที่สุดทรงสรุปเอาว่า สร้อยมุกดานั้นชะรอยจะเป็นเส้นเดียวกับเส้นที่หายไป พระราชาจึงส่งนางพนักงานชราที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้คนหนึ่งไปสืบที่บ้านเศรษฐี เพื่อดูว่าธิดาเศรษฐผู้นั้นมีรอยรูปตรีศุลอยู่ที่สะโพกหรือหาไม่ หญิงเฒ่าไปแล้วมิช้าก็กลับมาทูลว่า นางปัทมาวดีนั้นมีรอยรูปตรีศูลบนสะโพกเห็นได้อย่างชัดเจน เมื่อได้ฟังดังนั้นพระราชาก็ทรงมั่นพระทัยว่า นางปัทมาวดีเป็นแม่มด และเป็นคนเดียวกับที่ฆ่าพระโอรสของพระองค์เป็นแน่แท้ ดังนั้นพระองค์จึงเสด็จไปแต่ลำพัง เข้าไปหาโยคีที่สุสาน และถามว่า พระองค์ควรจะจัดการอย่างแก่นางปัทมาวดี โยคีปลอมจึงทูลแนะนำให้เนรเทศนางไปเสียจากพระนคร พระราชาจึงออกคำสั่งให้เนรเทศนางไปเสีย ทำให้บิดามารดาของนางเศร้าโศกเพียงชีวิตจะแตกสลาย เมื่อนางปัทมาวดีถูกขับไล่ออกจากเมือง เสื้อผ้าแพรพรรณและถนิมพิมพาภรณ์ของนางก็ถูกยึดไปหมด เหลือแต่ผ้านุ่งห่มปอน ๆ ผืนเดียว นางเข้าไปอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว สิ้นความคิดที่จะช่วยเหลือตัวเอง นั่งซึมเซาอยู่ตกเย็นบุตรมนตรีกับเจ้าชายเปลี่ยนเครื่องแต่งกายนักบวช แล้วขี่ม้าเข้ามาในป่าตรงไปหานาง ปลอบโยนนางให้คลายโศกแล้วเจ้าชายก็อุ้มนางขึ้นขี่ม้าตัวเดียวกันเดินทางกลับพระนครพาราณสี และดำรงชีวิตอยู่ด้วยกันด้วยความผาสุก ส่วนเศรษฐีทันตแพทย์ เมื่อธิดาของตนจากไปแล้วและมิได้ยินข่าวเกี่ยวกับนางอีกก็คิดว่านางคงถูกสัตว์ป่ากินสิ้นชีวิตไปแล้ว มีความทุกข์ระทมแสนสาหัส ก็ตรอมใจตาย ต่อมามิช้านางผู้ภริยาก็ตายตามไปด้วยอีกคนหนึ่ง
ฝ่ายเวตาลเมื่อเล่าเรื่องจบลงแล้ว ก็แสร้งกล่าวแก่พระราชาว่า “โอ อารยบุตร ข้ามีความสงสัยอยู่อย่างหนึ่งในเรื่องที่เล่ามานี้ว่า ในกรณีที่บิดามารดาของนางปัทมาวดีต้องสิ้นชีวิตลงไปนี้ ทรงเห็นว่าเป็นความผิดของใคร บุตรมนตรี หรือว่าเจ้าชาย หรือนางปัทมาวดีกันแน่ โปรดทรงวินิจฉันให้ข้าฟังหน่อยเถอะ เพราะพระองค์ก็ได้ชื่อว่าเป็นยอดนักปราชญ์ผู้หนึ่ง โอ ราชะ ถ้าพระองค์ไม่กล่าวคำจริงทั้ง ๆ ที่ทรงรู้ดีอยู่แก่ใจแล้วละก็ พระเศียรของพระองค์จะต้องแยกออกเป็นร้อยเสี่ยงแน่เทียว”
เมื่อเวตาลกล่าวดังนี้ พระราชาผู้เป็นสัตยเคราะห์ (ผู้ยึดมั่นในความสัตย์) ก็ตกพระทัยเพราะความเกรงกลัวในคำสาป จึงตรัสว่า “โอ เวตาล เจ้าก็เป็นผู้ชำนิชำนาญในมายาศาสตร์ทั้งปวง เรื่องนี้ยากเย็นอะไร บุคคลทั้งสามที่เจ้าเอ่ยมานั้นข้าไม่เห็นว่าจะมีใครเป็นผู้ผิดแม้แต่คนเดียว ความผิดในเรื่องนี้ทั้งหมดเป็นของพระราชากรรณโณตบลนั่นต่างหาก”
เวตาลได้ฟังก็กล่าวว่า “อะไรกัน พระราชาเป็นผู้ผิดด้วยเหตุใด บุคคลทั้งสามนั่นแหละเป็นผู้ก่อความผิดเกี่ยวเนื่องกันทั้งสามคน ก็กานั้นเสพของสกปรกจะต้องพลอยมีความผิดด้วยหรือ ในเมื่อหงส์นั้นมิได้กินภักษาหารเหมือนกา แต่กินข้าวเปลือกแทน”
พระราชาตรัสอธิบายว่า “ว่าตามจริงคนทั้งสามมิได้ทำความผิดเลยสักนิด บุตรมนตรีไม่ได้ทำผิดเพราะสิ่งที่เขาทำไปเป็นเพราะเขาต้องการจะช่วยเจ้านายของเขา นับเป็นหน้าที่ที่เขาจะต้องทำอยู่แล้วในฐานเสวกและสหาย ส่วนนางปัทมาวดีและเจ้าราชบุตรก็มิได้ทำผิดอะไร เพราะทั้งสองคนต่างก็ถูกเผาไหม้ด้วยพิษศรกามเทพเช่นเดียวกัน สิ่งที่พวกเขากระทำไปก็เพราะเขาต่างรักกัน และทำไปด้วยความโง่เขลาต่างหาก จึงไม่ควรถูกตำหนิในเรื่องนี้ ก็พระราชากรรโณตบลนั่นแหละ ขาดความรู้ความเข้าใจในนิติศาสตร์อันเป็นหลักที่พระเจ้าแผ่นดินควรจะรู้ ไม่สืบสวนข้อเท็จจริงให้ประจักษ์ในงานอันเกี่ยวกับแว่นแคว้นที่ตนปกครอง ไม่รู้จักการใช้จารชนให้เป็นประโยชน์ แม้ในเรื่องของราษฎรภายใต้อำนาจของตัวเองก็ไม่รู้ ไม่มีความเฉลียวในเล่ห์ของทรชน ขาดความชำนิชาญในการตีวความสิ่งที่ปรากฎแม้ง่าย ๆ ที่กล่าวมานี้แล คือความบกพร่องอันควรนับว่าเป็นความผิดของพระราชากรรโณตบลโดยแท้ เวตาลผู้สิงอยู่ในศพเมื่อได้ฟังพระราชากล่าวดังนั้น ทราบว่าเป็นคำตอบที่ถูกต้อง แต่พระราชาได้ลืมคำสัญญาที่ว่าจะไม่พูดแล้ว จึงเป็นโอกาสอันดีที่ตนจะหนีไป เวตาลก็ผละจากไหล่ของพระราชาและอันตรธานหายไป ทำให้พระราชาตริวิกรมเสนต้องเสด็จเที่ยวติดตามเพื่อจับเอาตัวมาอีก
เวตาลปัญจวิงศติ
เป็นปีศาจชั่วร้ายพวกหนึ่ง ซึ่งหากินอยู่ในสุสาน และสิงสู่อยู่ในศพโดยทั่วไป ว่ากันถึงรูปร่างหน้าตาของเวตาล ในวรรณคดีของอินเดียภาคใต้กล่าวไว้ว่า เวตาลได้รับการเคารพนับถือว่าเป็นภูตที่มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองดูและประชาชนในท้องถิ่น ตั้งแต่ที่ราบสูงเด็กข่าน เรื่อยลงมาทางภาคใต้ เวตาลมักจะปรากฎรูปร่างเป็นมนุษย์ แต่มือและเท้าหันกลับไปทางด้านหลัง นัยน์ตาเป็นสีลานแกมเขียว มีเส้นผมตั้งชันทั้งศีรษะ มือขวาถือไม้เท้า มือซ้ายถือหอยสังข์ ขณะเมื่อมาปรากฎตัวจะนุ่งห่มเสื้อผ้าสีเขียวทั้งชุด นั่งมาบนเสลี่ยงบางคราวก็ขี่ม้า มีภูตบริวารถือคบเพลิงแวดล้อมโดยรอบ และส่งเสียงโห่ร้องกึกก้อง รูปเคารพของเวตาลที่ใช้เป็นรูปบูชามักทำด้วยหินทาสีแดง บนส่วนยอดของแท่งหินแกะสลักเป็นรูปหน้าคน
  โอม ขอชัยชนะจงมีแด่พระคเณศ พระผู้ซึ่งขณะฟ้อนรำได้ยังปวงดาราให้พรั่งพรูลงจากฟากฟ้าราวกับสายธารแห่งบุปผามาลัย ด้วยแรงลมเป่า จากปลายงวงของพระองค์แม้เพียงเล็กน้อย
  ณ ฝั่งแม่น้ำโคทาวรี มีพระมหานครแห่งหนึ่งตั้งอยู่นามว่า ประดิษฐาน ที่เมืองนี้ในสมัยบรรพกาลมีพระราชาธิบดีองค์หนึ่ง ทรงนามว่า ตริวิกรมเสน ได้ครองราไชศวรรย์มาด้วยความผาสุก พระองค์เป็นราชโอรสของพระเจ้าวิกรมเสนผู้ทรงเดชานุภาพเทียมท้าววัชรินทร์
ทุก ๆ วัน เมื่อพระราชาเสด็จออกว่าราชการ ณ ท้องพระโรงธารคำนัล จะมีนักบวชชื่อ ศานติศีล เข้ามาเฝ้าถวายความเคารพ แล้วถวายผลไม้ผลหนึ่งและทุก ๆวัน พระราชาก็ได้ประทานผลไม้นั้นแก่ขุนคลังผู้อยู่ใกล้ชิดให้เอาไปเก็บไว้ ด้วยประการฉะนี้แล กาลเวลาก็ผ่านไปนับสิบปี
อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อโยคีศานติศีลเข้ามาเฝ้าถวายผลไม้เช่นเคย แล้วทูลลากลับไป พระราชาทรงยื่นผลไม้นั้นแก่ลิงตัวหนึ่งซึ่งทรงเลี้ยงไว้ในตำหนัก และหนีคนเลี้ยงเข้ามาวิ่งเล่นอยู่ในท้องพระโรง ลิงรับผลไม้แล้วเอาเข้าปากขบกัด ทำให้เปลือกผลไม้ฉีกออก ทันใดนั้นเพชรมณีอันงามและมีค่าหามิได้ก็ร่วงตกลงมาเป็นประกายระยิบระยับ พระราชาทรงหยิบมณีเม็ดนั้นขึ้นมาพิจารณาและตรัสแก่โกศาธิบดีว่า
"นี่แนะขุนคลัง เจ้าจำได้ไหมว่าข้าเคยมอบผลไม้ของโยคีให้แก่เจ้าทุก ๆ วัน ป่านนี้ก็คงจะมีจำนวนมากโขอยู่ เจ้าเอาไปเก็บไว้ที่ไหนเล่า"
ได้ฟังรับสั่งดังนั้น ขุนคลังก็เกิดความตระหนกเป็นล้นพ้น อึกอักกราบทูลว่า "ข้าแต่มหิบาล ขอทรงอภัยด้วยเถิด ข้าพระบาทคิดว่าเป็นผลไม้ธรรมดาก็เลยไม่ได้เอาใจใส่ ได้รับมาครั้งใดก็โยนเข้าไปในหน้าต่างท้องพระคลัง ป่านนี้จะเป็นอย่างไรก็ไม่ทราบ ข้าพระองค์ขอเปิดประตูคลังดูก่อน" โกศาธิบดีกราบทูลแล้วรีบวิ่งมาที่พระคลัง เปิดประตูออกดูภายในครู่หนึ่งก็รีบกลับมาทูลว่า
"โอ นฤบดี ผลไม้ดังกล่าวนั้นเปื่อยเน่าไปหมดแล้ว เหลือแต่เมล็ดคือ ดวงแก้วมณีกองเป็นภูเขาเลากาเต็มไปหมด ส่องแสงระยิบระยับไปทั้งห้องพระเจ้าข้า"
พระราชาได้ฟังดังนั้นก็ตรัสว่า
"สมบัติของข้าในท้องพระคลังก็มีมากมายเหลือที่จะคณานับ ข้าจะปรารถนาอะไรกับอนรรฆมณีเหล่านั้น ข้าขอมอบให้แก่เจ้าทั้งหมด จงเอาไปเถิด"
วันรุ่งขึ้น เมื่อเสด็จออกท้องพระโรง ทอดพระเตรเห็นโยคีศานติศีลเข้ามาเฝ้า จึงตรัสว่า
"ดูก่อนมุนี ท่านมาหาเราทุกวัน เอามณีจินดาค่าควรเมืองนับไม่ถ้วนมาให้แก่เรา ท่านมีความประสงค์อะไร จงบอกมาตามจริง ถ้าท่านยังไม่บอกเรา วันนี้เราก็จะไม่รับผลไม้จากท่าน"
โยคีได้ฟังก็ตอบว่า
"ข้าพเจ้ากำลังจะประกอบมหายัญพิธีอันสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ซึ่งจะทำสำเร็จไม่ได้เลย ถ้าไม่ได้บุรุษสุดกล้าหาญอย่างท่านมาช่วยเหลือ ขอทรงเมตตาเถิด โอ ราชะ"
พระราชาได้ฟังก็ตรัสว่า
"ท่านโยคี ข้ายินดีจะช่วยเหลือท่านทุกอย่าง จะให้ทำอะไรก็บอกมาเถิด"
"โอ วิศามบดี ข้าพเจ้ายินดีนัก" โยคีศานติศีลกล่าว "ข้าพเจ้าจะรอพระองค์อยู่ที่สุสานนอกเมืองเมื่อถึงข้างแรมคืนแรกแห่งกาฬปักษ์ พระองค์จงมาพบข้าพเจ้าในเวลาค่ำที่บริเวณใต้ต้นไทรเถิด อย่าทรงลืมเป็นอันขาด"
พระราชาทรงยินยอม ตรัสว่า "เอาเถิด ข้าจะไปตามนัด"
โยคี เมื่อได้รับคำสัญญาของพระราชา ก็ทูลลากลับไปด้วยความยินดี
ฝ่ายพระราชาผู้มหาวีระ ครั้นถึงวันแรมแรกก็เสด็จออกจากวัง ทรงแต่งพระองค์อย่างรัดกุม โพกพระเศียรด้วยผ้าสีดำ ทรงเลาะเร้นไปตามทางโดยไม่มีผู้พบเห็น จนกระทั่งบรรลุถึงสุสานนอกเมืองตามที่นัดหมาย บริเวณนั้นมืดด้วยเงาแมกไม้ ปรากฎเพียงตะคุ่ม ๆ ในที่สุดก็มาถึงที่ใกล้จิตกาธานอันสว่างวอมแวมด้วยไฟที่่เผาไหม้ซากอสุภอยู่ บางส่วนก็เหลือเพียงโครงกระดูกและกะโหลกศีรษะเรี่ยรายอยู่ ทำให้เกิดความสะพรึงกลัวแก่ผู้ได้พบเห็นยิ่งนัก ณ ที่นั้นมีพวกภูตและเหล่าเวตาลลอยอยู่เกลื่อน บ้างก็ยื้อแย่งกินศพอันชวนให้สะอิดสะเอียนเหียนราก เสียงหมาไนหอนโหยหวนอยู่ในที่ใกล้เคียงเหมือนเสียงปีศาจมาหลอกหลอน รวมแล้วความสยดสยองทั้งหลายที่ปรากฎก็เป็นประดุจการมาเยือนของพระไภรวะ (พระศิวะหรือพระอิศวร ปางดุร้าย) นั่นเทียว
จากนั้นพระราชาทรงค้นหาสำนักของโยคีศานติศีลจนพบที่ใต้ต้นไทรใหญ่ อันมีรากย้อยระย้า จึงเสด็จเข้าไปหา ตรัสว่า
"ข้ามาแล้ว ท่านโยคีจะให้ข้าทำอะไรเล่า"
เมื่อโยคีเห็นพระราชาเสด็จมาตามสัญญาก็ดีใจ กล่าวว่า
"โอ ราชะ ข้าพเจ้าเห็นแล้วจากพระเนตรของพระองค์ว่า ทรงมีเมตตาต่อข้าพเจ้า ทรงฟังเถิด ถ้าพระองค์เสด็จจากนี่ไปทางทิศใต้ไม่ไกลนัก จะทรงพบต้นอโศกต้นหนึ่ง บนกิ่งอโศกมีศพชายคนหนึ่งแขวนอยู่ ขอให้นำศพนั้นมาให้ข้าพเจ้า นั่นแหละคืองานที่ข้าพเจ้าต้องการจะให้พระองค์ช่วยเหลือ โอ มหาวีระ"
ทันทีที่วีรกษัตริย์ผู้มั่นคงต่อคำสัญญาได้ยินถ้อยคำดังกล่าว ก็ทรงกล่าวแก่โยคีว่า "ข้าจะทำตามคำของท่าน" แล้วเสด็จไปทางทิศใต้ ครู่หนึ่งก็มาถึงที่อันอยู่ไม่ไกลจากกองไฟที่ใกล้จะมอด แลเห็นต้นอโศกอยู่บริเวณนั้น บนกิ่งอโศกมีศพชายผู้หนึ่งแขวนอยู่ราวกับห้อยลงมาจากบ่าของอสุรกาย พระราชาทรงปีนต้นอโศกขึ้นไปปลดเอาศพลงมาอย่างยากเย็นและเหวี่ยงมันลงบนพื้นดิน ทันทีที่ร่างนั้นกระทบแผ่นดินมันก็หวีดร้องราวกับเจ็บปวดเต็มที่ พระราชาทรงคิดว่าร่างนั้นมีชีวิต ก็ปีนลงมาจากต้นอโศกเข้าประคองเอาไว้ ทรงนวดเฟ้นร่างนั้นด้วยความกรุณาเพื่อให้คลายเจ็บ ทันใดนั้นศพก็กรีดเสียงหัวเราะเยือกเย็นราวกับเสียงภูตผี พระราชาทรงทราบได้ทันทีว่าศพนั้นถูกเวตาลสิงอยู่ จึงถามมันว่า "เจ้าหัวเราะอะไร อย่ามัวชักช้าอยู่เลย รีบไปกันเถอะ" ทันใดนั้นเอง ศพที่เวตาลเข้าสิง ก็ลอยกลับขึ้นไปห้อยอยู่บนกิ่งอโศกตามเดิม พระราชาเห็นดังนั้น ก็รีบปีนขึ้นไปดึงเอาศพนั้นลงมาแล้วเหวี่ยงขึ้นบ่า เสด็จไปอย่างรวดเร็ว ขณะที่เสด็จมาตามทาง เวตาลในร่างของศพที่พาดบ่าอยู่ก็กล่าวแก่พระราชาว่า
"โอ ราชัน ข้าจะเล่านิทานสนุก ๆ ให้ฟังสักเรื่องหนึ่ง ระหว่างทางจะได้ไม่เบื่อ โปรดทรงสดับเถิด และเมื่อฟังแล้วอย่าได้ตรัสอะไรเลย"

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติการปฏิวัติรัฐประหารและกบฏ ในประเทศไทย
'กบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร' โดยสาระสำคัญแล้ว การทำรัฐประหาร คือการใช้กำลังอำนาจเข้าเปลี่ยนแปลงอำนาจของรัฐ โดยมาก หากรัฐประหารครั้งนั้นสำเร็จ จะเรียกว่า 'ปฏิวัติ' แต่หากไม่สำเร็จ จะเรียกว่า 'กบฏ'

จาก พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2549 มีการก่อรัฐประหารหลายครั้ง ทั้งที่เป็น การปฏิวัติ และเป็น กบฏ มีดังนี้

พ.ศ. เหตุการณ์ หัวหน้าก่อการ รัฐบาล
2475 ปฏิวัติ 24 มิถุนายน พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ
2476 รัฐประหาร พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
2476 กบฎบวรเดช พล.อ.พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2478 กบฎนายสิบ ส.อ.สวัสดิ์ มหะหมัด พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2481 กบฎพระยาสุรเดช พ.อ.พระยาสุรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2490 รัฐประหาร พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
2491 กบฎแบ่งแยกดินแดน ส.ส.อีสานกลุ่มหนึ่ง นายควง อภัยวงศ์
2491 รัฐประหาร คณะนายทหารบก นายควง อภัยวงศ์
2491 กบฏเสนาธิการ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2492 กบฎวังหลวง นายปรีดี พนมยงค์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2494 กบฎแมนฮัตตัน น.อ.อานน บุณฑริกธาดา จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2494 รัฐประหาร จอมพล ป. พิบูลสงคราม จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2497 กบฎสันติภาพ นายกุหราบ สายประสิทธิ์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2500 รัฐประหาร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2501 รัฐประหาร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ถนอม กิตติขจร
2514 รัฐประหาร จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพล ถนอม กิตติขจร
2516 ปฏิวัติ 14 ตุลาคม ประชาชน จอมพล ถนอม กิตติขจร
2519 รัฐประหาร พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
2520 กบฎ 26 มีนาคม พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
2520 รัฐประหาร พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
2524 กบฎ 1 เมษายน พล.อ.สัณห์ จิตรปฏิมา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
2528 การก่อความไม่สงบ 9 กันยายน พ.อ.มนูญ รูปขจร * พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
2534 รัฐประหาร พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
2549 รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มีพล.อ.สนธิ บุญยตกรินทร
เป็นหัวหน้า รัฐประหารรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
* คณะบุคคลกลุ่มนี้ อ้างว่า พลเอก เสริม ณ นคร อดีตผู้บัญชาทหารสูงสุดเป็นหัวหน้า แต่หัวหน้าก่อการจริงคือ พ.อ. มนูญ รูปขจร

ประวัติการปฏิวัติรัฐประหารและกบฎ ในประเทศไทย (2475 - 2549)

การ ปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475

" คณะราษฎร " ซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนบางกลุ่ม จำนวน 99 นาย มีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศสืบต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้แก่ปวงชนชาวไทยอยู่ก่อนแล้ว จึงทรงยินยอมตามคำร้องขอของคณะราษฎร ที่ทำการปฏิวัติในครั้งนั้น

รัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476

พัน เอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พร้อมด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนคณะหนึ่ง ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกจากตำแหน่งซึ่งเป็นการริดรอนอำนาจภายในคณะราษฏร ที่มีการแตกแยกกันเอง
ในส่วนของการใช้อำนาจ ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ใช้อำนาจในทางที่ละเมิดต่อกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและประเทศชาติ เช่น ให้มีศาลคดีการเมือง ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการรัฐสภา สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่มีอิสระอย่างเต็มที่ การประกาศทรัพย์สินของนักการเมืองทุกคนทุกตำแหน่ง การออกกฎหมายผลประโยชน์ขัดกัน ฯลฯ

กบฏบวชเดช 11 ตุลาคม 2476

พระ เจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารจากหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ก่อการเพื่อล้มล้างอำนาจของรัฐบาล โดยอ้างว่าคณะราษฎรปกครองประเทศไทยโดยกุมอำนาจไว้แต่เพียงแต่เพียงผู้เดียว และปล่อยให้บุคคลกระทำการหมิ่นองค์พระประมุขของชาติ รวมทั้งจะดำเนินการปกครองโดยลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามแนวทางของนายปรีดี พนมยงค์ คณะผู้ก่อการได้ยกกำลังเข้ายึดดอนเมืองเอาไว้ ฝ่ายรัฐบาลได้แต่งตั้ง พ.ท.หลวง พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม ออกไปปราบปรามจนประสบผลสำเร็จ

กบฏนายสิบ 3 สิงหาคม 2478

ทหาร ชั้นประทวนในกองพันต่างๆ ซึ่งมีสิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยจะสังหารนายทหารในกองทัพบก และจับพระยาพหลพลพยุหเสนาฯ และหลวงพิบูลสงครามไว้เป็นประกัน รัฐบาลสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ หัวหน้าฝ่ายกบฏถูกประหารชีวิต โดยการตัดสินของศาลพิเศษในระยะต่อมา

กบฏพระยาทรงสุรเดช 29 มกราคม 2481

ได้มีการจับกุมบุคคลผู้คิดล้มล้างรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังเดิม นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และได้ให้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต่อมารัฐบาลได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณา และได้ตัดสินประหารชีวิตหลายคน ผู้มีโทษถึงประหารชีวิตบางคน เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร นายพลโทพระยาเทพหัสดิน นายพันเอกหลวงชานาญยุทธศิลป์ ได้รับการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต เนื่องจากศาลเห็นว่าเป็นผู้ได้ทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติมาก่อน

รัฐ ประหาร 8 พฤศจิกายน 2490

คณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมี พลโทผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าสำคัญ ได้เข้ายึดอำนาจรัฐบาล ซึ่งมีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ แล้วมอบให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลต่อไป ขณะเดียวกัน ได้แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย

กบฏแบ่งแยกดินแดน 28 กุมภาพันธ์ 2491

จะมีการจับกุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของภาคตะวันออก เฉียงเหนือหลายคน เช่น นายทิม ภูมิพัฒน์ นายถวิล อุดล นายเตียง ศิริขันธ์ นายฟอง สิทธิธรรม โดยกล่าวหาว่าร่วมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย แต่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุมได้ เนื่องจากสมาชิกผู้แทนราษฏรมีเอกสิทธิทางการเมือง

รัฐประหาร 6 เมษายน 2491

คณะนายทหารซึ่งทำรัฐประหารเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 บังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วมอบให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้าดำรงตำแหน่งต่อไป

กบฏเสนาธิการ 1 ตุลาคม 2491

พล ตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้าคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง วางแผนที่จะเข้ายึดอำนาจการปกครอง และปรับปรุงกองทัพจากความเสื่อมโทรม และได้ให้ทหารเข้าเล่นการเมืองต่อไป แต่รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ทราบแผนการ และจะกุมผู้คิดกบฏได้สำเร็จ

กบฏวังหลวง 26 มิถุนายน 2492

นาย ปรีดี พนมยงค์ กับคณะนายทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง และตั้งเป็นกองบัญชาการ ประกาศถอดถอน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารผู้ใหญ่หลายนาย พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยกาปราบปราม มีการสู้รบกันในพระนครอย่างรุนแรง รัฐบาลสามารถปราบฝ่ายก่อการกบฏได้สำเร็จ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบหนออกนอกประเทศอีกครั้งหนึ่ง

กบฏแมนฮัตตัน 29 มิถุนายน 2494

นาวาตรีมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือรบหลวงสุโขทัยใช้ปืนจี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปกักขังไว้ในเรือรบศรีอยุธยา นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา หัวหน้าผู้ก่อการได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้งพระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการสู้รบกันระหว่างทหารเรือ กับทหารอากาศ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถหลบหนีออกมาได้ และฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏจนเป็นผลสำเร็จ

รัฐ ประหาร 29 พฤศจิกายน 2494

จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้ ต้องใช้วิธีการให้ตำแหน่งและผลประโยชน์ต่างๆ แก่บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนอยู่เสมอ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2492 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น มีวิธีการที่เป็นประชาธิปไตยมากเกินไป จึงได้ล้มเลิกรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเสีย พร้อมกับนำเอารัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม 2475 มาใช้อีกครั้งหนึ่ง

กบฏ สันติภาพ 8 พฤศจิกายน 2497

นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) และคณะถูกจับในข้อหากบฏ โดยรัฐบาลซึ่งขณะนั้นมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เห็นว่าการรวมตัวกันเรี่ยไรเงิน และข้าวของไปแจกจ่ายแก่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขณะนั้นกำลังประสบกับความเดือดร้อน เนื่องจากความแห้งแล้งอย่างหนัก เป็นการดำเนินการที่เป็นภัยต่อรัฐบาล นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ กับคณะถูกศาลตัดสินจำคุก 5 ปี

รัฐประหาร 16 กันยายน 2500

จอม พลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารนำกำลังเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังจากเกิดการเลือกตั้งสกปรก และรัฐบาลได้รับการคัดค้านจากประชาชนอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ต้องหลบหนีออกไปนอกประเทศ

รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501

เป็นการปฏิวัติเงียบอีกครั้งหนึ่ง โดยจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น ลากออกจากตำแหน่ง ในขณะเดียวกันจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากเกิดการขัดแย้งในพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และมีการเรียกร้องผลประโยชน์หรือตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง เป็นเครื่องตอบแทนกันมาก คณะปฏิวัติได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง และให้สภาผู้แทน และคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง

รัฐ ประหาร 17 พฤศจิกายน 2514

จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำการปฏิวัติตัวเอง ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขึ้นทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และให้ร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในระยะเวลา 3 ปี

ปฏิวัติโดยประชาชน 14 ตุลาคม 2516

การเรียกร้องให้มีรัฐ ธรรมนูญของนิสิตนักศึกษา และประชาชนกลุ่มหนึ่งได้แผ่ขยายกลายเป็นพลังประชาชนจำนวนมาก จนเกิดการปะทะสู้รบกันระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เป็นผลให้จอมพลถนอม กิตติขจร นายักรัฐมนตรี จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร ต้องหลบหนีออกนอกประเทศ

ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 6 ตุลาคม 2519

พล เรือเอกสงัด ชลออยู่ และคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ เนื่องจากเกิดการจลาจล และรัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยทันที คณะปฏิวัติได้ประกาศให้มีการปฏิวัติการปกครอง และมอบให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520

พล เรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจของรัฐบาล ซึ่งมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลได้รับความไม่พอใจจากประชาชน และสถานการณ์จะก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างข้าราชการมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเห็นว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งมีระยะเวลาถึง 12 ปีนั้นนานเกินไป สมควรให้มีการเลือกตั้งขึ้นโดยเร็ว

กบ ฎ 26 มีนาคม 2520

พลเอกฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังทหารจากกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ 4 แห่ง คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกสวนรื่นฤดี กองบัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ ฝ่ายทหารของรัฐบาลพลเรือน ภายใต้การนำของ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอกกมล เดชะตุงคะ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลเอกเสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2520

กบฎ 1 เมษายน 2524

พล เอกสัณห์ จิตรปฏิมา ด้วยความสนับสนุนของคณะนายทหารหนุ่มโดยการนำของพันเอกมนูญ รูปขจร และพันเอกประจักษ์ สว่างจิตร ได้พยายามใช้กำลังทหารในบังคับบัญชาเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ ซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดความแตกแยกในกองทัพบก แต่การปฏิวัติล้มเหลว ฝ่ายกบฏยอมจำนนและถูกควบคุมตัว พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา สามารถหลบหนีออกไปนอกประเทศได้ ต่อมารัฐบาลได้ออกกฏหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการกบฏในครั้งนี้

การ ก่อความไม่สงบ 9 กันยายน 2528

พันเอกมนูญ รูปขจร นายทหารนอกประจำการ ได้นำกำลังทหาร และรถถังจาก ม.พัน 4 ซึ่งเคยอยู่ใต้บังคับบัญชา และกำลังทหารอากาศโยธินบางส่วน ภายใต้การนำของนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร เข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด และประกาศให้ พลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองของประเทศ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในขณะที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก อยู่ในระหว่างการไปราชการต่างประเทศ กำลังทหารฝ่ายรัฐบาลโดยการนำของพลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองผู้บัญชากรทหารสูงสุด ได้รวมตัวกันต่อต้านและควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ในเวลาต่อมา พันเอกมนูญ รูปขจร และนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร หลบหนีออกนอกประเทศ การก่อความไม่สงบในครั้งนี้มีอดีตนายทหารผู้ใหญ่หลายคน ตกเป็นผู้ต้องหาว่ามีส่วนร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ พลเอกเสริม ณ นคร พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลอากาศเอกพะเนียง กานตรัตน์ พลเอกยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และพลอากาศเอกอรุณ พร้อมเทพ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

รัฐ ประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534

โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติซึ่ง ประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ เจ้าหน้าที่-ตำรวจ และพลเรือน ภายใต้การนำของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณ-จันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมร-วิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และพลเอกอสิระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี
รัฐประหาร 19 กันยายน 2549
มีพล.อ.สนธิ บุญยตกรินทร
เป็นหัวหน้า

ลำดับเหตุการณ์ ความเคลื่อนไหว การปฎิวัติยึดอำนาจ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
------------------------------------------------------------------------------------------
18.30 น. มีข่าวลือสะพัด กำลังทหารเตรียมเคลื่อนกำลังพล โดยมีรายงานว่าหน่วยรบพิเศษจากลพบุรีราว 1
กองพันเคลื่อนกำลังด่วนเข้า กรุงแล้ว

19.00 น. ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
ยืน ยัน ไม่มีการเคลื่อนไหวกำลังพล

19.30 น. แม่ทัพภาค 3 ยืนยัน ไม่มีการเคลื่อนกำลัง ยังฝึกปกติ

20.00 น. นายทหารคนสนิทประธานองคมนตรี ยืนยัน มีการเข้าเฝ้า เมื่อช่วงเย็น เรื่องทำบุญ หม่อมหลวงบัว

21.00 น. ทหารรบพิเศษ สองคันรถบัสเคลื่อนพลเข้ากองบัญชาการกองทัพบก สั่งปิดไฟสลก.

21.20 น. มีทหารเฝ้าประตูวังสุโขทัย มากกว่า 20

21.20 น.นายกฯสั่งช่อง 11 เตรียมการถ่ายทอดสดทางโทรศัพท์ จากนิวยอร์ค

21.35 น. เลขาธิการนายกฯเข้าทำเนียบ

21.40 น. รถถ่ายทอดททบ.5เคลื่อนเข้าไปในกองบัญชาการกองทัพบก

22.40 น. นายกฯสั่งช่อง 9 เตรียมถ่ายทอดสดจากนิวยอร์ค

21.45 น. เลขาฯนายก หอบเอกสารปึกใหญ่ นั่งรถ รองนายกฯชิดชัยออกจากทำเนียบรัฐบาล

22.00 น. กองบัญชาการตำรวจนครบาลสั่งปิดประตู พร้อมวางกำลังเจ้าหน้าที่อาวุธครบมือประจำการประมาณ

22.10 น. ทหารเตรียมเคลื่อนกำลังออกจากม.พัน 4

22.13 น. ยานหุ้มเกราะ 20 คันเคลื่อนจากเกียกกายสู่ลานพระรูป ขณะที่รถถัง 3-4 คันเคลื่อนไปทำเนียบ

22.14 น. ทหารเคลื่อนพลปิดล้อมทำเนียบ รัฐบาลแล้ว

22.14 น. รถถัง 3 คันประจำการแยกเกียกกาย บ้านสี่เสาเทเวศน์ รถถังสองคันพร้อมรถบรรทุกกำลังพล 5
คันเคลื่อนออกจากกองพันทหารปืนใหญ่

22.20 น. วิทยุและโทรทัศน์ทหารเปิดเพลงมาร์ชกระหึ่ม ทหารยึดอสมท.

22.24 น. ทหารเคลื่อนกำลังพลปิดบ้านนายกฯ ขณะที่นายกฯประกาศใช้พรก.ฉุกเฉินต้านทันควัน พร้อมสั่งย้าย
ผบ.ทบ.เข้า รายงานตัวกับชิดชัย ตั้งผบ.สส.เป็นผู้มีอำนาจสั่งการตามพรก.

22.26 น. ทหารสั่งตัดไฟสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ขณะนายกฯกำลังประกาศใช้พรก.ฉุกเฉิน

22.40 น. มีการตัดสัญญาณ ฟรีทีวีทุกช่อง

22.41 น. Cnn รายงานสถานีวิทยุและโทรทัศน์ไทย ถูกปิดหมดแล้ว และมีรายงานการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉิน

22.44 น. ทหารสั่งกักบริเวณ ผู้สื่อข่าวทำเนียบรัฐบาล

22.55 น. ทหารปล่อยให้สื่อมวลชนกลับบ้านแล้ว

23.00 น. ทหารควบคุมตัวพลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแล้ว

23.05 น. มีประกาศจากคณะปฏิรูปการเมืองซึ่งประกอบด้วยสี่เหล่าทัพขอความร่วมมือจาก ประชาชนหลัง
ควบคุมสถานการณ์ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลไว้ได้โดยไม่มีการต่อ ต้าน

23.10 น.เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารสั่งสถานีวิทยุ ในเครือกองทัพ( ๑๐๑
)เตรียมรับสัญญาณถ่ายทอดสดจากสถานีวิทยุ ๙๙.๕

23.15 น. ทหารสั่งปลดอาวุธเจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาความปลอดภัยทำเนียบรัฐบาล
และ กักบริเวณไว้หน้าตึกไทยคู่ฟ้า

23.27 น. พลตรี ประพาส สกุนตนารถ ที่ปรึกษาททบ.๕ ออกแถลงการณ์ประกาศคณะปฏิรูปอย่างเป็นทางการ

23.30 น. มีข้อความแพร่ไปทาง มือถืออ้างพลเอกเปรมปฏิวัติแต่ในหลวงไม่เอาด้วย

23.31 น. ประธานาธิบดีสหรัฐประกาศเป็นศัตรูกับรัฐบาลที่ทำการยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจาก การเลือกตั้ง

23.40 น. มีการสั่งปลดอาวุธ ตำรวจหน่วยอรินทราชและคอมมานโดทั้งหมด

23.50 น. มีประกาศจากคณะปฏิรูปการเมืองครั้งที่ ๒
แจงก่อเหตุเพราะมีการบริหาร ราชการแผ่นดินส่อไปในทางทุจริตอย่างกว้างขวาง องค์กรอิสระถูกครอบงำไม่เป็นไปตา
มเจตนารมย์รัฐธรรมนูญ การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองมีอุปสรรค
หมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพของพระมหากษัตริย์อยู่หลายครั้ง
คณะปฏิรูปไม่ประสงค์จะยึดอำนาจเพื่อ บริหารเอง แต่จะคืนอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินอันมีพระมหากษัตริย์
เป็น ประมุขให้ปวงชนชาวไทยโดยเร็วที่สุด

23.55 น. มีการตัดสัญญาณ โทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก ( ยูบีซี ) ช่อง ๕๓ ของสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น

23.59 น. ผู้บัญชาทหารทุกเหล่าทัพเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระตำหนักจิ ครลดารโหฐาน
พระราชวังดุสิต

00.24 น. มีรายงานการปะทะกันที่บริเวณกองพันทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์บางเขน

00.28 น. พลตรี ประพาส สกุนตนารถ ที่ปรึกษาททบ.๕ อ่านแถลงการประกาศกฎอัยการศึกบังคบใช้ทั่วประเทศตั้งแต่
๒๑.๐๕ น.ของวันที่ ๑๙ กันยายน ๔๙ โดยมีพลเอก สนธิบุญรัตนกลิน เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปฯ

00.30 น. มีประกาศคณะปฎิรูป การปกครองฯฉบับที่ ๒ สั่งห้ามเคลื่อนย้ายกำลังทหาร
โดยไม่ได้รับคำสั่ง จากคณะปฏิรูป




ชื่อ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย

รายนามนายกรัฐมนตรีไทย

1. พระยามโน ปกรณ์นิติธาดา

2. พัน เอก พระยาพหลพลพยุหเสนา

3. จอม พล แปลก พิบูลสงคราม

4. พัน ตรี ควง อภัยวงศ์

5. นาย ทวี บุณยเกตุ

6. หม่อม ราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

7. นาย ปรีดี พนมยงค์

8. พล เรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

9. นาย พจน์ สารสิน

10. จอม พล ถนอม กิตติขจร

11. จอม พล สฤษดิ์ ธนะรัชต์

12. นาย สัญญา ธรรมศักดิ์

13. พล ตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

14. นาย ธานินทร์ กรัยวิเชียร

15. พล เอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

16. พล เอก เปรม ติณสูลานนท์

17. พล เอก ชาติชาย ชุณหะวัณ

18. นาย อานันท์ ปันยารชุน

19. พล เอก สุจินดา คราประยูร

20. นาย ชวน หลีกภัย

21. นาย บรรหาร ศิลปอาชา

22. พล เอก ชวลิต ยงใจยุทธ

23. พัน ตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร

24. พล เอก สุรยุทธ์ จุลานนท์

25. นายสมัคร สุนทรเวช

26. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์

27. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ