ความหมายของกฎหมาย กฎหมายนั้นมีความหมายอยู่หลายประการ ซึ่งความหมายจะแปรเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ลักษณะของสังคมที่แตกต่างกัน สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ความต้องการของประชาชนในสังคม นั้น ๆ แต่หลักที่สำคัญและเป็นความหมายของกฎหมายโดยทั่วไปจะมีอยู่ 4 ประการ คือ 1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่ง 2. กฎหมายถูกกำหนดขึ้นโดยผู้มีอำนาจในสังคม 3. กฎหมายใช้บังคับและเป็นที่ทราบแก่คนทั่วไป 4. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับแก่ผู้ฝ่าฝืน ความสำคัญของกฎหมาย ความสำคัญของกฎหมาย มนุษย์เป็นสัตว์สังคมอยู่ร่วมกันเป็นหมู่ เป็นเหล่า ความเจริญของสังคมมนุษย์นั้นยิ่งทำให้สังคมมีความ สลับซับซ้อน ตามสัญชาตญาณของมนุษย์แล้ว ย่อมชอบที่จะกระทำสิ่งใด ๆ ตามใจชอบ ถ้าหากไม่มีการ ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์แล้ว มนุษย์ก็จะกระทำในสิ่งที่เกินขอบเขต ยิ่งสังคมเจริญขึ้นเพียงใด วามจำเป็น ที่จะต้องมีมาตรฐานในการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ ที่จะต้องถือว่าเป็นมาตรฐานอันเดียวกันนั้นก็ยิ่งมี มากขึ้น เพื่อใช้บังคับเป็นการทั่วไปแก่ทุกคนในลักษณะของกฎเกณฑ์และข้อบังคับต่าง ๆ ซึ่งจะกำหนด วิถีทางการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันตั้งแต่เกิดจนตาย กฎเกณฑ์และข้อบังคับหรือวิธีการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์มีการพัฒนา และมีวิวัฒนาการต่อไป อย่างไม่หยุดยั้ง ดังนั้นเราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากฎหมายไม่มีความจำเป็น และเกี่ยวข้องกับชีวิตคนเรา ในปัจจุบันนี้ กฎหมายได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตเรามาก ตั้งแต่เราเกิดก็จะต้องแจ้งเกิดเพื่อขอสูติบัตร เมื่ออายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ ก็ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน จะสมรสกันก็ต้องจดทะเบียนสมรสจึงจะ สมบูรณ์และในระหว่างเป็นสามี ภรรยากันกฎหมายก็ยังเข้ามาเกี่ยวข้องไปถึงวงศาคณาญาติอีกหรือจน ตายก็ต้องมีใบตาย เรียกว่าใบมรณะบัตร และก็ยังมีการจัดการมรดกซึ่งกฎหมายก็ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง เสมอนอกจากนี้ในชีวิตประจำวันของคนเรายังมีความเกี่ยวข้องกับ ผู้อื่น เช่นไปตลาดก็มีการซื้อขายและ ต้องมี กฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องการซื้อขาย หรือการ ทำงานเป็นลูกจ้าง นายจ้างหรืออาจจะเป็น ข้าราชการก็ต้องมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา และที่เกี่ยวข้องกับชาติบ้านเมืองก็เช่นกัน ประชาชนมีหน้าที่ต่อบ้านเมืองมากมาย เช่น การปฏิบัติตนตามกฎหมาย หน้าที่ในการเสียภาษีอากร หน้าที่รับราชการทหาร สำหรับชาวไทย กฎหมายต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องก็มีมากมายหลายฉบัย เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายแรงงาน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา "คนไม่รู้ กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว" เป็นหลักที่ว่า บุคคลใดจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้หลุดพ้นจากความผิด ตามกฎหมายมิได้ ทั้งนี้ ถ้าหากต่างคนต่างอ้างว่าตนไม่รู้กฎหมายที่ทำไปนั้น ตนไม่รู้จริง ๆ เมื่อกล่าวอ้าง อย่างนี้คนทำผิดก็คงจะรอดตัว ไม่ต้องรับผิด ไม่ต้องรับโทษกัน ก็จะเป็นการปิดหูปิดตาไม่อยากรู้กฎหมาย และถ้าใครรู้กฎหมายก็จะต้องมีความผิด รู้มากผิดมากรู้น้อยผิดน้อย ต่จะอ้างเช่นนี้ไม่ได้เพราะถือว่าเป็น หลักเกณฑ์ของสังคมที่ประชาชนจะต้องมีความรู้ เรียนรู้กฎหมาย เพื่อขจัดข้อปัญหาการขัดแย้ง ความ ไม่เข้าใจกัน ด้วยวิธีการที่เรียกว่า กฎเกณฑ์อันเดียวกันนั้นก็คือ กฎหมาย นั่นเอง |
ประเภทของกฎหมาย การแบ่งประเภทของกฎหมายสามารถแบ่งได้หลายประเภทด้วยกัน แต่ถ้าแบ่งประเภทของกฎหมายตามแหล่งกำเนิดของกฎหมายก็ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้คือ 1.1 กฎหมายภายใน(Internal Law) แ ยกพิจารณาออกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้คือ 1.1.1 การแบ่งแยกประเภทกฎหมายตามเนื้อหาที่บัญญัติในกฎหมาย โดยแบ่งเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายที่ไม่ได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษณ (1) กฎหมายลายลักษณ์อักษร (Written Law) เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยคำนึงถึงเนื้อหาของกฎหมายเป็นหลัก การบัญญัติกฎหมายอาจเป็นไปตามกระบวน การนิติบัญญัติหรือออกกฎหมายโดยฝ่ายบริหาร ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ นอกจากนั้นกฎหมายลายลักษณ์อักษรอาจบัญญัติขึ้นโดยองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นก็ได้ (2) กฎหมายทีไม่ได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร (Unwritten Law) ซึ่งได้แก่กฎหมายจารีตประเพณีหรือ หลักกฎหมายทั่วไปต่างๆอันเป็นกฎหมายที่มิได้ บัญญัติขึ้นตามกระบวนการบัญญัติกฎหมาย 1.1.2 การแบ่งตามสภาพบังคับของกฎหมาย โดยแบ่งออกเป็นกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่ง (1) กฎหมายอาญา(Criminal Law) เป็นกฎหมายที่มีสภาพบังคับ หากผู้ใดกระทำความผิดต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ซึ่งได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ดังนั้นจึงแตกต่างจากสภาพบังคับในทางแพ่ง (2) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์(Civil & Commercial Law) สภาพบังคับในทางแพ่งนั้นกฎหมายแพ่งมิได้กำหนดโทษไว้โดยตรงเช่นเดียวกับกฎหมาย อาญา แต่กฎหมายแพ่งก็มีสภาพบังคับในทางกฎหมาย เช่น หากมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด หรือ งดเว้นไม่กระทำการบางอย่างที่กฎหมายให้ต้องกระทำ หรือกระทำให้บุคคลอื่นเกิดความเสียหาย เป็นต้น บุคคลดังกล่าวนั้นก็จำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย หรือทำให้การกระทำนั้นๆ ต้องตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ หรือถูกบังคับให้ชำระหนี้ เป็นต้น 1.1.3 การแบ่งตามหลักแห่งการใช้กฎหมาย โดยแบ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ (1) กฎหมายสารบัญญัติ(Substentive Law) เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิหน้าที่ของบุคคล ทั้งนี้โดยกฎหมายจะกำหนดการกระทำที่เป็นองค์ประกอบของ ความผิดไว้ ซึ่งทำให้รัฐสามารถบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายได้ เช่นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือประมวลกฎหมายอาญา เป็นต้น (2) กฎหมายวิธีสบัญญัติ(Procederal Law) เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยวิธีปฏิบัติหลักเกณฑ์ต่างๆ โดยการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไปใช้ ดังนั้นกฎหมายวิธี สบัญญัติ ก็ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือประมวลกฎหมายวิธีความอาญา กฎหมายว่าด้วยพยานหลักฐาน เป็นต้น อย่างไรก็ตามกฎหมายบางฉบับก็มีลักษณะเป็นทั้ง กฎหมายสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติ เช่น กฎหมายล้มละลาย เป็นต้น กล่าวคือมีทั้งหลักเกณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบของกฎหมายและมีสภาพบังคับและขณะเดียวกันก็มีวิธีการ ดำเนินคดีล้มละลายอยู่ด้วยในกฎหมายฉบับนั้น 1.1.4 การแบ่งตามความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน โดยแบ่งออกเป็น กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน (1) กฎหมายมหาชน(Public Law) อาจกล่าวได้ว่ากฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนในประเทศ ทั้งนี้ เป็นการ กระทำเพื่อความสงบสุขของสังคม หรือเพื่อการปกครองหรือบริหารปรเทศ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นต้น (2) กฎหมายเอกชน(Private Law) เป็นกรณีที่ไม่มีผลกระทบต่อสังคมโดยตรง แต่เป็นเรื่องที่เกิดจากความสัมพันธ์กันระหว่างเอกชนด้วยกันเอง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นเรื่องของการผิดสัญญา อันทำให้สามารถฟ้องร้องกันได้ตามกฎหมาย 1.2 กฎหมายระหว่างประเทศ(International Law) สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้ 1.2.1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง (Public intertionnal law) มีนักนิติศาสตร์บางท่านมองว่ากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองนี้ไม่เป็น กฎหมายที่แท้จริง ทั้งนี้เพราะไม่มีสภาพบังคับ กล่าวคือไม่มีองค์กรที่มีอำนาจบังคับให้ปฏิบัติตามมติของสมัชชาใหญ่ หรือสังคมประชาชนชาติหรือตามคำพิพากษาของ ศาลโลก(International Court of Justice) แต่อย่างไรก็ตามได้มีนักนิติศาสตร์บางท่านก็มองว่ากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองนี้เป็นกฎหมาย เนื่องจากกฎหมายนี้เป็นกฎหมายข้อบังคับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐที่ต้องปฏิบัติต่อกันในฐานะที่รัฐเป็นนิติบุคคลระหว่างประเทศ 1.2.2 กฎหมายระหว่างปรเทศแผนกคดีบุคคล(Private international law) เป็นกฎหมายซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนต่างรัฐกัน ในกรณีที่เกิด ปัญหาพิพาทกันย่อมเกิดปัญหาว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับทำให้กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยก็มีกฎหมายที่ เรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย คอยเป็นตัวกำหนดว่าให้ใช้กฎหมายใดบังคับในกรณีที่มีการขัดแย้งกันดังกล่าว 1.2.3 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา (International criminal law) เป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่รัฐตกลงให้ศาลในส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจ พิจารณาพิพากษาลงโทษทางอาญาแก่ผู้กระทำผิดนอกประเทศได้ ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องนอกเหนืออำนาจรัฐที่จะลงโทษได้ แต่อย่างไรก็ตามหากประเทศต่างๆ นั้นมีการทำสนธิสัญญา ส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับประเทศไทย ก็สามารถส่งตัวผู้กระทำความผิดให้กลับมาถูกพิจารณาพิพากษายังประเทศไทยได้ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น