กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา


กฎหมายแพ่ง


:: ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2535 เป็นปีที่ 47 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรด เกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงบทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และบทบัญญัติลักษณะ 23 สมาคม ของบรรพ 3 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติ ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 และบรรพ 3 ดังต่อไปนี้
 (1) ให้ยกเลิกบทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งได้ใช้บังคับโดยพระราชกฤษฎีกา ให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 และบรรพ 2 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2468
 (2) ให้ยกเลิกลักษณะ 23 สมาคม ของบรรพ 3 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งได้ใช้บังคับโดยพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2471
 (3) ให้ใช้บทบัญญัติท้ายพระราชบัญญัตินี้เป็นบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่
มาตรา 4 เอกสารที่มีการใช้ตราประทับแทนการลงลายมือชื่อตาม มาตรา 9 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ซึ่งได้กระทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีผลสมบูรณ์เสมือนกับลงลายมือชื่อต่อไป
มาตรา 5 บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการให้กู้ยืมเงินที่ผู้เสมือนไร้ความสามารถได้กระทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา 6 ผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ที่ศาลได้ตั้งขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากยังมิได้จัดทำบัญชีทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่หรือจัดทำยังไม่แล้วเสร็จ ให้จัดทำให้แล้วเสร็จภายในสามเดือนนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้นำ มาตรา52 และมาตรา53 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ
มาตรา 7 ให้องค์กรหรือหน่วยงานที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นทบวงการเมืองตามความหมายของ มาตรา72 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งถูกยกเลิกโดย มาตรา 3
 (1) แห่งพระราชบัญญัตินี้ คงมีฐานะเป็นนิติบุคคลต่อไป
มาตรา 8 ให้บรรดาสมาคมที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นสมาคมตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้
สมาคมใดที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มิได้ใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า "สมาคม" ประกอบกับชื่อของสมาคมให้ยื่นคำขอ แก้ไขข้อบังคับของสมาคมให้ถูกต้องตาม มาตรา80 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา 9 สมาคมตาม มาตรา 8 วรรคหนึ่ง สมาคมใด มีวิธีจัดการโดยไม่มีคณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมตาม มาตรา79 (6) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ถ้าสมาคมนั้นไม่ดำเนินการยื่นคำขอแก้ไข ข้อบังคับของสมาคมและจัดให้มีคณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้นายทะเบียนถอนชื่อสมาคมนั้นออกจากทะเบียน
มาตรา 10 สมาคมตาม มาตรา 8 วรรคหนึ่ง สมาคมใด มีสมาชิกไม่ถึงสิบคนหากสมาคมนั้นไม่ได้จัดให้มีจำนวนสมาชิกตาม มาตรา81แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้ บังคับ ให้นายทะเบียนถอนชื่อสมาคมนั้นออกจากทะเบียนตาม มาตรา102 (5) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 11 ให้บรรดามูลนิธิที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นมูลนิธิตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ และให้ถือว่าตราสารก่อตั้งมูลนิธิดังกล่าว เป็นข้อบังคับของมูลนิธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้
มูลนิธิใดที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มิได้ใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า "มูลนิธิ" ประกอบกับชื่อของมูลนิธิ ให้ยื่นคำขอแก้ไขข้อบังคับของมูลนิธิให้ถูกต้องตาม มาตรา113 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา 12 บรรดามูลนิธิที่มีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและมิได้เป็นนิติบุคคลถ้าประสงค์จะจัดตั้งเป็นนิติบุคคลและใช้คำว่า "มูลนิธิ" ประกอบชื่อของตนต่อไป ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนตาม มาตรา 114 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา 13 มูลนิธิตาม มาตรา 11 วรรคหนึ่ง มูลนิธิใด มีข้อบังคับที่กำหนดให้มีผู้จัดการของมูลนิธิไม่ถึงสามคนในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้ามูลนิธินั้นไม่ดำเนินการยื่น คำขอแก้ไขข้อบังคับของมูลนิธิเพื่อให้มีคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยบุคคลไม่น้อยกว่าสามคน เป็นผู้ดำเนินกิจการของมูลนิธิภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้นายทะเบียนดำเนินการตาม มาตรา128แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้เพื่อสั่งการให้แก้ไขข้อบังคับของมูลนิธิให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไปถ้า ปรากฏว่ามูลนิธิใดไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ก็ให้นายทะเบียนร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้เลิกมูลนิธิตามมาตรา131 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 14 บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และที่บัญญัติไว้ในลักษณะ 23 สมาคม ของบรรพ 3 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิมให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ
มาตรา 15 ให้แก้เลขมาตราตามที่มีอยู่ในมาตราต่างๆ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นเลขมาตราตามบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้
 (1) " มาตรา 9" วรรคสองและวรรคสาม" ใน มาตรา1666 ให้แก้เป็น " มาตรา 9 วรรคสอง"
 (2) " มาตรา 29" ใน มาตรา1464 และ มาตรา1519 ให้แก้เป็น " มาตรา 28"
 (3) " มาตรา 34" ใน มาตรา1610 และ มาตรา1611 ให้แก้เป็น " มาตรา 32"
 (4) " มาตรา 60 มาตรา 61 มาตรา 63" ใน มาตรา1577 ให้แก้เป็น" มาตรา 56 มาตรา 57 มาตรา 60"
 (5) " มาตรา 65" ใน มาตรา1602 ให้แก้เป็น " มาตรา 62"
 (6) " มาตรา 66" ใน มาตรา1602 ให้แก้เป็น " มาตรา 63"
 (7) " มาตรา 81" ใน มาตรา1676 ให้แก้เป็น " มาตรา 110"
 (8) " มาตรา 85" ใน มาตรา1677 ให้แก้เป็น " มาตรา 114"
 (9) " มาตรา 130 วรรคสอง" ใน มาตรา360 ให้แก้เป็น " มาตรา 169 วรรคสอง"
 (10) " มาตรา 189" ใน มาตรา248 และ มาตรา1754 ให้แก้เป็น " มาตรา 193/27"
มาตรา 16 บทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่นที่อ้างถึงบทบัญญัติในบรรพ 1 หรือลักษณะ 23 ในบรรพ 3 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นอ้างถึงบทบัญญัติที่มีนัยเช่นเดียวกันในบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 17 บรรดากฎกระทรวงที่ออกตามความใน มาตรา 97 และ มาตรา 1297 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 18 ให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

:: ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
:: อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี



:: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

บรรพ1 หลักทั่วไป
:: ข้อความเบื้องต้น มาตรา 1-3
:: ลักษณะ1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไปมาตรา 4-14
:: ลักษณะ2 บุคคล
:: หมวด1 บุคคลธรรมดา
:: ส่วนที่1 สภาพบุคคลมาตรา 15-18
:: ส่วนที่2 ความสามารถมาตรา 19-36
:: ส่วนที่3 ภูมิลำเนามาตรา 37-47
:: ส่วนที่4 สาบสูญมาตรา 48-64
:: หมวด2 นิติบุคคล
:: ส่วนที่1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไปมาตรา 65-77
:: ส่วนที่2 สมาคมมาตรา 78-109
:: ส่วนที่3 มูลนิธิมาตรา 110-136
:: ลักษณะ3 ทรัพย์มาตรา 137-148
:: ลักษณะ4 นิติกรรม
:: หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไปมาตรา 149-153
:: หมวด2 การแสดงเจตนามาตรา 154-171
:: หมวด3 โมฆะกรรมและโมฆียะมาตรา 172-181
:: หมวด4 เงื่อนไขและเงื่อนเวลามาตรา 182-193
:: ลักษณะ5 ระยะเวลามาตรา 193/1-193/8
:: ลักษณะ6 อายุความ
:: หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไปมาตรา 193/9-193/29
:: หมวด2 กำหนดอายุความมาตรา 193/30-193/35
 

 บรรพ2 หนี้
:: ลักษณะ1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
:: หมวด1 วัตถุแห่งหนี้มาตรา 194-202
:: หมวด2 ผลแห่งหนี้
:: ส่วนที่1 การไม่ชำระหนี้มาตรา 203-225
:: ส่วนที่2 รับช่วงสิทธิมาตรา 226-232
:: ส่วนที่3 การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ มาตรา 233-236
:: ส่วนที่4 เพิกถอนการฉ้อฉลมาตรา 237-240
:: ส่วนที่5 สิทธิยึดหน่วงมาตรา 241-250
:: ส่วนที่6 บุริมสิทธิมาตรา 251-252
1. บุริมสิทธิสามัญมาตรา 253-258
2. บุริมสิทธิพิเศษ
(ก) บุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์ มาตรา 259-272
(ข) บุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ มาตรา 273-276
3. ลำดับแห่งบุริมสิทธิมาตรา 277-280
4. ผลแห่งบุริมสิทธิมาตรา 281-289
:: หมวด3 ลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายคนมาตรา 290-302
:: หมวด4 โอนสิทธิเรียกร้องมาตรา 303-313
:: หมวด5 ความระงับหนี้
:: ส่วนที่1 การชำระหนี้มาตรา 314-339
:: ส่วนที่2 ปลดหนี้มาตรา 340
:: ส่วนที่3 หักกลบลบหนี้มาตรา 341-348
:: ส่วนที่4 แปลงหนี้ใหม่มาตรา 349-352
:: ส่วนที่5 หนี้เกลื่อนกลืนกันมาตรา 353
:: ลักษณะ2 สัญญา
:: หมวด1 ก่อให้เกิดสัญญามาตรา 354-368
:: หมวด2 ผลแห่งสัญญามาตรา 369-376
:: หมวด3 มัดจำและกำหนดเบี้ยปรับมาตรา 377-385
:: หมวด4 เลิกสัญญามาตรา 386-394
:: ลักษณะ3 จัดการงานนอกสั่งมาตรา 395-405
:: ลักษณะ4 ลาภมิควรได้มาตรา 406-419
:: ลักษณะ5 ละเมิด
:: หมวด1 ความรับผิดเพื่อละเมิดมาตรา 420-437
:: หมวด2 ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด มาตรา 438-448
:: หมวด3 นิรโทษกรรมมาตรา 449-452

บรรพ3 เอกเทศสัญญา
:: ลักษณะ1 ซื้อขาย
:: หมวด1 สภาพและหลักสำคัญของสัญญาซื้อขาย
:: ส่วนที่1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไปมาตรา 453-457
:: ส่วนที่2 การโอนกรรมสิทธิ์มาตรา 458-460
:: หมวด2 หน้าที่และความรับผิดของผู้ขาย
:: ส่วนที่1 การส่งมอบมาตรา 461-471
:: ส่วนที่2 ความรับผิดชอบเพื่อชำรุดบกพร่อง มาตรา 472-474
:: ส่วนที่3 ความรับผิดในการรอนสิทธิมาตรา 475-482
:: ส่วนที่4 ข้อสัญญาว่าจะไม่ต้องรับผิด มาตรา 483-485
:: หมวด3 หน้าที่ของผู้ซื้อมาตรา 486-490
:: หมวด4 การซื้อขายเฉพาะบางอย่าง
:: ส่วนที่1 ขายฝากมาตรา 491-502
:: ส่วนที่2 ขายตามตัวอย่าง ขายตามคำพรรณนา ขายเผื่อชอบ มาตรา 503-508
:: ส่วนที่3 ขายทอดตลาดมาตรา 509-517
:: ลักษณะ2 แลกเปลี่ยนมาตรา 518-520
:: ลักษณะ3 ให้มาตรา 521-536
:: ลักษณะ4 เช่าทรัพย์
:: หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไปมาตรา 537-545
:: หมวด2 หน้าที่และความรับผิดชอบ ของผู้ให้เช่า มาตรา 546-551
:: หมวด3 หน้าที่และความรับผิดของผู้เช่า มาตรา 552-563
:: หมวด4 ความระงับแห่งสัญญาเช่ามาตรา 564-571
:: ลักษณะ5 เช่าซื้อมาตรา 572-574
:: ลักษณะ6 จ้างแรงงานมาตรา 575-586
:: ลักษณะ7 จ้างทำของมาตรา 587-607
:: ลักษณะ8 รับขนมาตรา 608-609
:: หมวด1 รับขนของมาตรา 610-633
:: หมวด2 รับขนคนโดยสารมาตรา 634-639
:: ลักษณะ9 ยืม
:: หมวด1 ยืมใช้คงรูปมาตรา 640-649
:: หมวด2 ยืมใช้สิ้นเปลืองมาตรา 650-656
:: ลักษณะ10 ฝากทรัพย์
:: หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไปมาตรา 657-671
:: หมวด2 วิธีเฉพาะการฝากเงินมาตรา 672-673
:: หมวด3 วิธีเฉพาะสำหรับเจ้าสำนักโรงแรม มาตรา 674-679
:: ลักษณะ11 ค้ำประกัน
:: หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไปมาตรา 680-685
:: หมวด2 ผลก่อนชำระหนี้มาตรา 686-692
:: หมวด3 ผลภายหลังชำระหนี้มาตรา 693-697
:: หมวด4 ความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกัน มาตรา 698-701
:: ลักษณะ12 จำนอง
:: หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไปมาตรา 702-714
:: หมวด2 สิทธิจำนองครอบเพียงใดมาตรา 715-721
:: หมวด3 สิทธิและหน้าที่ของผู้รับจำนองและผู้จำนอง มาตรา 722-727
:: หมวด4 การบังคับจำนองมาตรา 728-735
:: หมวด5 สิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง มาตรา 736-743
:: หมวด6 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาจำนอง มาตรา 744-746
:: ลักษณะ13 จำนำ
:: หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไปมาตรา 747-757
:: หมวด2 สิทธิและหน้าที่ของผู้จำนำและผู้รับจำนำ มาตรา 758-763
:: หมวด3 การบังคับจำนำมาตรา 764-768
:: หมวด4 ความระงับสิ้นไปแห่งการจำนำมาตรา 769
:: ลักษณะ14 เก็บของในคลังสินค้า
:: หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไปมาตรา 770-774
:: หมวด2 ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า มาตรา 775-796
:: ลักษณะ15 ตัวแทน
:: หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไปมาตรา 797-806
:: หมวด2 หน้าที่และความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการ มาตรา 807-814
:: หมวด3 หน้าที่และความรับผิดของตัวการต่อตัวแทน มาตรา 815-819
:: หมวด4 ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคล ภายนอก มาตรา 820-825
:: หมวด5 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน มาตรา 826-832
:: หมวด6 ตัวแทนค้าต่างมาตรา 833-844
:: ลักษณะ16 นายหน้ามาตรา 845-849
:: ลักษณะ17 ประนีประนอมยอมความมาตรา 850-852
:: ลักษณะ18 การพนันและขันต่อมาตรา 853-855
:: ลักษณะ19 บัญชีเดินสะพัดมาตรา 856-860
:: ลักษณะ20 ประกันภัย
:: หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไปมาตรา 861-868
:: หมวด2 ประกันวินาศภัย
:: ส่วนที่1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไปมาตรา 869-882
:: ส่วนที่2 วิธีเฉพาะการประกันภัยในการรับขน มาตรา 883-886
:: ส่วนที่3 ประกันภัยค้ำจุนมาตรา 887-888
:: หมวด3 ประกันชีวิตมาตรา 889-897
:: ลักษณะ21 ตั๋วเงิน
:: หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไปมาตรา 898-907
:: หมวด2 ตั๋วแลกเงิน
:: ส่วนที่1 การออกและสลักหลังตั๋วแลกเงิน มาตรา 908-926
:: ส่วนที่2 การรับรองมาตรา 927-937
:: ส่วนที่3 อาวัลมาตรา 938-940
:: ส่วนที่4 การใช้เงินมาตรา 941-949
:: ส่วนที่5 การสอดเข้าแก้หน้ามาตรา 950
(1) การรับรองเพื่อแก้หน้ามาตรา 951-953
(2) การใช้เงินเพื่อแก้หน้ามาตรา 954-958
:: ส่วนที่6 สิทธิไล่เบี้ยเพราะเขาไม่รับรองหรือไม่ใช้เงิน มาตรา 959-974
:: ส่วนที่7 ตั๋วแลกเงินเป็นสำรับมาตรา 975-981
:: หมวด3 ตั๋วสัญญาใช้เงินมาตรา 982-986
:: หมวด4 เช็คมาตรา 987-1000
:: หมวด5 อายุความมาตรา 1001-1005
:: หมวด6 ตั๋วเงินปลอม ตั๋วเงินถูกลัก และตั๋วเงินหาย มาตรา 1006-1011
:: ลักษณะ22 หุ้นส่วนและบริษัท
:: หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไปมาตรา 1012-1024
:: หมวด2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ
:: ส่วนที่1 บทวิเคราะห์มาตรา 1025
:: ส่วนที่2 ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้น ส่วน ด้วยกันเอง มาตรา 1026-1048
:: ส่วนที่3 ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้น ส่วน กับบุคคลภายนอก มาตรา 1049-1054
:: ส่วนที่4 การเลิกและชำระบัญชีห้างหุ้น ส่วนสามัญ มาตรา 1055-1063
:: ส่วนที่5 การจดทะเบียนห้างหุ้น ส่วนสามัญ มาตรา 1064-1072
:: ส่วนที่6 การควบห้างหุ้น ส่วนจดทะเบียนเข้ากัน มาตรา 1073-1076
:: หมวด3 ห้างหุ้น ส่วนจำกัด มาตรา 1077-1095
:: หมวด4 บริษัทจำกัด
:: ส่วนที่1 สภาพและการตั้งบริษัทจำกัด มาตรา 1096-1116
:: ส่วนที่2 หุ้นและผู้ถือหุ้นมาตรา 1117-1143
:: ส่วนที่3 วิธีจัดการบริษัทจำกัด
1. บทเบ็ดเสร็จทั่วไปมาตรา 1144-1149
2. กรรมการมาตรา 1150-1170
3. ประชุมใหญ่มาตรา 1171-1195
4. บัญชีงบดุลมาตรา 1196-1199
5. เงินปันผลและเงินสำรองมาตรา 1200-1205
6. สมุดและบัญชีมาตรา 1206-1207
:: ส่วนที่4 การสอบบัญชีมาตรา 1208-1214
:: ส่วนที่5 การตรวจมาตรา 1215-1219
:: ส่วนที่6 การเพิ่มทุนและลดทุนมาตรา 1220-1228
:: ส่วนที่7 หุ้นกู้มาตรา 1229-1235
:: ส่วนที่8 เลิกบริษัทจำกัดมาตรา 1236-1237
:: ส่วนที่9 การควบบริษัทจำกัดเข้ากัน มาตรา 1238-1243
:: ส่วนที่10 หนังสือบอกกล่าวมาตรา 1244-1245
:: ส่วนที่11 การถอนทะเบียนบริษัทร้างมาตรา 1246
:: หมวด5 การชำระบัญชีห้างหุ้น ส่วน จดทะเบียน ห้างหุ้น ส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด มาตรา 1247-1273
:: ลักษณะ23 สมาคมมาตรา 1274-1297

บรรพ4 ทรัพย์สิน
:: ลักษณะ1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไปมาตรา 1298-1307
:: ลักษณะ2 กรรมสิทธิ์
:: หมวด1 การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์มาตรา 1308-1334
:: หมวด2 แดนแห่งกรรมสิทธิ์ และการใช้กรรมสิทธิ์ มาตรา 1335-1355
:: หมวด3 กรรมสิทธิ์รวมมาตรา 1356-1366
:: ลักษณะ3 ครอบครองมาตรา 1367-1386
:: ลักษณะ4 ภารจำยอมมาตรา 1387-1401
:: ลักษณะ5 อาศัยมาตรา 1402-1409
:: ลักษณะ6 สิทธิเหนือพื้นดินมาตรา 1410-1416
:: ลักษณะ7 สิทธิเก็บกินมาตรา 1417-1428
:: ลักษณะ8 ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 1429-1434

บรรพ5 ครอบครัว
:: ลักษณะ1 การสมรส
:: หมวด1 การหมั้นมาตรา 1435-1447/2
:: หมวด2 เงื่อนไขแห่งการสมรสมาตรา 1448-1460
:: หมวด3 ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา มาตรา 1461-1464/1
:: หมวด4 ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา มาตรา 1465-1493
:: หมวด5 ความเป็นโมฆะของการสมรสมาตรา 1494-1500
:: หมวด6 การสิ้นสุดแห่งการสมรสมาตรา 1501-1535
:: ลักษณะ2 บิดามารดากับบุตร
:: หมวด1 บิดามารดามาตรา 1536-1560
:: หมวด2 สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร มาตรา 1561-1584/1
:: หมวด3 ความปกครองมาตรา 1585-1598/18
:: หมวด4 บุตรบุญธรรมมาตรา 1598/19-1598/37
:: ลักษณะ3 ค่าอุปการะเลี้ยงดู มาตรา 1598/38-1598/41

บรรพ6 มรดก
:: ลักษณะ1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
:: หมวด1 การตกทอดแห่งทรัพย์มรดกมาตรา 1599-1603
:: หมวด2 การเป็นทายาทมาตรา 1604-1607
:: หมวด3 การตัดมิให้รับมรดกมาตรา 1608-1609
:: หมวด4 การสละมรดกและอื่น ๆ มาตรา 1610-1619
:: ลักษณะ2 สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก
:: หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไปมาตรา 1620-1628
:: หมวด2 การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรม ในลำดับและชั้นต่าง ๆ มาตรา 1629-1631
:: หมวด3 การแบ่ง ส่วนมรดกของทายาทโดยธรรม ในลำดับและชั้นต่าง ๆ
:: ส่วนที่1 ญาติมาตรา 1632-1634
:: ส่วนที่2 คู่สมรสมาตรา 1635-1638
:: หมวด4 การรับมรดกแทนที่กันมาตรา 1639-1645
:: ลักษณะ3 พินัยกรรม
:: หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไปมาตรา 1646-1654
:: หมวด2 แบบพินัยกรรมมาตรา 1655-1672
:: หมวด3 ผลและการตีความแห่งพินัยกรรม มาตรา 1673-1685
:: หมวด4 พินัยกรรมที่ตั้งผู้ปกครองทรัพย์ มาตรา 1686-1692
:: หมวด5 การเพิกถอนและการตกไปแห่งพินัยกรรม หรือข้อกำหนดพินัยกรรม มาตรา 1693-1699
:: หมวด6 ความเสียเปล่าแห่งพินัยกรรม หรือข้อกำหนดพินัยกรรม มาตรา 1700-1710
:: ลักษณะ4 วิธีจัดการและปันทรัพย์มรดก
:: หมวด1 ผู้จัดการมรดกมาตรา 1711-1733
:: หมวด2 การรวบรวมจำหน่ายทรัพย์มรดกเป็นตัวเงิน และการชำระหนี้กับแบ่งปันทรัพย์มรดก มาตรา 1734-1744
:: หมวด3 การแบ่งมรดกมาตรา 1745-1752
:: ลักษณะ5 มรดกที่ไม่มีผู้รับมาตรา 1753
:: ลักษณะ6 อายุความมาตรา 1754-1755



กฎหมายอาญา
แนวคิด
                    
1. กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคมให้เกิดความสงบเรียบร้อย โดยกำหนดว่าการกระทำใดเป็นความผิดอาญาและกำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน
                    2. ลักษณะที่สำคัญของกฎหมายอาญา คือเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้งและไม่มีผลบังคับย้อนหลังที่เป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด
                    3. โทษทางอาญามี 5 ชนิด คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับและริบทรัพย์สิน4. การกระทำความผิดทางอาญามีบางกรณีที่กฎหมายยกเว้นโทษและยกเว้นความผิด
                    5. เด็กและเยาวชนกระทำความผิดอาจได้รับโทษต่างกับการกระทำความผิดของผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กและเยาวชนเป็นผู้อ่อนเยาว์ ปราศจากความรู้สึกรับผิดชอบ การลงโทษต้องคำนึงถึงอายุของเด็กกระทำความผิด
                กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด ตัวบทที่สำคัญๆ ของกฎหมายอาญาก็คือ ประมวลกฎหมายอาญา นอกจากประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติอื่นๆที่กำหนดโทษทางอาญาสำหรับการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินั้น เช่น พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติการพนัน เป็นต้น
                ทุกสังคมย่อมมีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมนั้นๆ บุคคลใดมีการกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ จัดเป็นการกระทำความผิดทางอาญา ดังนั้นกฎหมายอาญาจึงเป็นกฎหมายซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคม เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยโดยการกำหนดว่า การกระทำใดเป็นความผิดอาญาและได้กำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน กระทำความผิดนั้นๆ
1. ความผิดทางอาญา
                
ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ   เมื่อบุคคลใดกระทำความผิดทางอาญา จะต้องได้รับโทษตามกฎหมายมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระทำความผิด กฎหมายมิได้ถือว่าการกระทำความผิดทุกอย่างร้ายแรงเท่าเทียมกัน การลงโทษผู้กระทำความผิดจึงขึ้นอยู่กับการกระทำ และสังคมมีความรู้สึกต่อการกระทำนั้นๆ ว่า อะไรเป็นปัญหาสำคัญมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะแบ่งการกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
                1.1 ความผิดต่อแผ่นดิน หมายถึง ความผิดในทางอาญา ซึ่งนอกจากเรื่องนั้นจะมีผลต่อตัวผู้รับผลร้ายแล้ว ยังมีผลกระทบที่เสียหายต่อสังคมอีกด้วย และรัฐจำเป็นต้องป้องกันสังคมเอาไว้ด้วยการยื่นมือเข้ามาเป็นผู้เสียหายเอง ดังนั้นแม้ผู้รับผลร้ายจากการกระทำโดยตรงจะไม่ติดใจเอาความ แต่ก็ยังต้องเข้าไปดำเนินคดีฟ้องร้องเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้
                กรณีตัวอย่างที่ 1
 นายมังคุดทะเลาะกับนายทุเรียน นายมังคุดบันดาลโทสะใช้ไม้ตีศีรษะนายทุเรียนแตก นายทุเรียนไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีกับนายมังคุดในข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่น ต่อมานายทุเรียนหายโกรธนายมังคุดก็ไม่ติดใจเอาเรื่องกับนายมังคุด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายทุเรียนต่อไปเพราะเป็นความผิดต่อแผ่นดิน
                กรณีตัวอย่างที่ 2
 นายแตงโมขับรถยนต์ด้วยความประมาทไปชนเด็กชายแตงไทยถึงแก่ความตายเป็นความผิดอาญาฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต่อมานายแตงกวาและนางแต่งอ่อนบิดามารดาของเด็กชายแตงไทย ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายแตงโมเป็นเงิน 200,000 บาทแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความกับนายแตงโม แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายแตงโมต่อไป เพราะความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเป็นความผิดต่อแผ่นดิน
                1.2 ความผิดอันยอมความกันได้ หมายถึง ความผิดในทางอาญาซึ่งไม่ได้มีผลร้ายกระทบต่อสังคมโดยตรง หากตัวผู้รับผลร้ายไม่ติดใจเอาความแล้ว รัฐก็ไม่อาจยื่นมือเข้าไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ และถึงแม้จะดำเนินคดีไปแล้ว เมื่อตัวผู้เสียหายพอใจยุติคดีเพียงใดก็ย่อมทำได้ด้วยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความ เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ เป็นต้น
                กรณีตัวอย่างที่ 1 นายโก๋และนางกี๋ลักลอบได้เสียกัน นายแฉแอบเห็นเข้า จึงได้นำความไปเล่าให้นายเชยผู้เป็นเพื่อนฟัง การกระทำของนายแฉมีความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อนายโก๋และนางกี๋รู้เข้าจึงไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ นายแฉไปหานายโก๋และนางกี๋  เพื่อขอขมานายโก๋และนางกี๋จึงถอนคำร้องทุกข์ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีกับนายแฉอีกต่อไป ถือว่าเป็นความผิดอันยอมความกันได้
                กรณีตัวอย่างที่ 2
 นายตำลึงล่ามโซ่ใส่กุญแจประตูใหญ่บ้านของนายมะกรูด ทำให้นายมะกรูดออกจากบริเวณบ้านไม่ได้ นายมะกรูดต้องปีนกำแพงรั้งกระโดลงมา การกระทำของนายตำลึงเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ปราศจากเสรีภาพ นายมะกรูดจึงไปแจ้งความยังสถานีตำรวจ นายตำลึงได้ไปหานายมะกรูดยอมรับความผิด และขอร้องไม่ให้นายตำลึงเอาความกับตนเอง นายตำลึงเห็นใจจึงไปถอนคำร้องทุกข์ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะดำเนินคดีต่อไปอีกไม่ได้เพราะเป็นความผิดอันยอมความกันได้
2. ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญา
                
2.1 เป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง ในขณะกระทำความผิดต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วอย่างชัดแจ้งว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด เจ้าหน้าที่ผู้ใช้กฎหมายจะสร้างกฎหมายใหม่ขึ้นมาใช้บังคับแก่ประชาชนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะไม่ได้ เช่น กฎหมายบัญญัติว่า “การลักทรัพย์เป็นความผิด” ดังนั้น ผู้ใดลักทรัพย์ก็ย่อมมีความผิดเช่นเดียวกัน
                2.2 เป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง เป็นโทษไม่ได้แต่เป็นคุณได้ ถ้าหากในขณะที่มีการกระทำสิ่งใดยังไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด แม้ต่อมาภายหลังจะมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำอย่างเดียวกันนั้นเป็นความผิด ก็จะนำกฎหมายใหม่ใช้กับผู้กระทำผิดคนแรกไม่ได้
                กรณีตัวอย่าง
 นายมะม่วงมีต้นไม้สักขนาดใหญ่ซึ่งขึ้นในที่ดิน ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเขา นายมะม่วงได้ตัดต้นสัก เลื่อยแปรรูปเก็บเอาไว้ ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติป่าไม้ ฉบับที่ 3 ออกมาบังคับใช้ ถือว่าไม้สักเป็นไม้หวงห้ามก็ตาม นายมะม่วงก็ไม่มีความผิด เพราะจะใช้กฎหมายใหม่ย้อนหลังลงโทษทางอาญาไม่ได้
3. โทษทางอาญา
                
1) ประหารชีวิต คือ นำตัวไปยิงด้วยปืนให้ตาย
                2) จำคุก คือ นำตัวไปขังไว้ที่เรือนจำ
                3) กักขัง คือนำตัวไปขังไว้ ณ ที่อื่น ที่ไม่ใช่เรือนจำ เช่น นำไปขังไว้ที่สถานีตำรวจ
                4) ปรับ คือ นำค่าปรับซึ่งเป็นเงินไปชำระให้แก่เจ้าพนักงาน
                5) ริบทรัพย์สิน คือ ริบเอาทรัพย์สินนั้นเป็นของหลวง เช่น ปืนเถื่อน ให้ริบ ฯลฯ
4. บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาและได้รับโทษทางอาญาเมื่อใด
                
บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาต่อเมื่อ
                4.1 กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
                กรณีตัวอย่างที่ 1
 นายฟักรู้ว่านายแฟง ซึ่งเป็นศัตรูจะต้องเดินผ่านสะพานข้ามคลองหลังวัดสันติธรรมทุกเช้าเวลาประมาณ 08.00 น. เขาจึงไปดักซุ่มอยู่ใกล้บริเวณนั้น เมื่อนายแฟงเดินมาใกล้นายฟักจึงใช้ปืนยิงไปที่นายแฟง 1 นัด กระสุนปืนถูกบริเวณหน้าอกของนายแฟง เป็นเหตุให้นายแฟงถึงแก่ความตาย นายฟักมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
                กรณีตัวอย่างที่ 2
 ดาวเรืองทะเลาะกับบานชื่น ดาวเรืองพูดเถียงสู้บานชื่นไม่ได้ ดาวเรืองจึงตบปากบานชื่น 1 ที่ ดาวเรืองมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเจตนา
                4.2 กระทำโดยไม่เจตนา แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยแจ้งชัดให้รับผิดแม้กระทำโดยไม่เจตนากระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ เช่น เราผลักเพื่อนเพียงจะหยอกล้อเท่านั้น แต่บังเอิญเพื่อนล้มลงไป ศีรษะฟาดขอบถนนถึงแก่ความตาย เป็นต้น
                4.3 กระทำโดยประมาท แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาทการกระทำโดยประมาท คือ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
                กรณีตัวอย่าง
 นายเหิรฟ้าใช้อาวุธปืนขู่นายเหิรลม เพื่อไม่ให้เอาแป้งมาป้ายหน้านายเหิรฟ้า โดยที่นายเหิรฟ้าไม่รู้ว่าอาวุธปืนกระบอกนั้น มีลูกกระสุนปืนบรรจุอยู่ เป็นเหตุให้กระสุนปืนลั่นไปถูกนายเหิรลมตาม นายเหิรฟ้ามีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
                อนึ่ง “การกระทำ” ไม่ได้หมายความเฉพาะถึงการลงมือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงการงดเว้นการกระทำโดยประสงค์ให้เกิดผลและเล็งเห็นผลที่จะเกิดเช่น แม่จงใจทิ้งลูกไม่ให้กินข้าว จนทำให้ลูกตาย ตามกฎหมายแม่มีหน้าที่จะต้องเลี้ยงดูลูก เมื่อแม่ละเลยไม่ทำหน้าที่ดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้ลูกตาย ย่อมเป็นการกระทำความผิดโดยงดเว้น ถ้าการงดเว้นนั้นมีเจตนางดเว้นก็ต้องรับผิดในฐานะกระทำโดยเจตนา ถือว่าเป็นความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
บุคคลจะต้องได้รับโทษทางอาญาต่อเมื่อ
                
1. การกระทำอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิดซึ่งเป็นไปตามหลักที่ว่า “ไม่มีความผิดโดยปราศจากกฎหมาย”
                2. กฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นต้องกำหนดโทษไว้ด้วย เป็นไปตามหลักที่ว่า “ไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย” การลงโทษต้องเป็นโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เช่น กฎหมายกำหนดโทษปรับศาลจะลงโทษจำคุกไม่ได้ แม้ศาลจะลงโทษปรับศาลก็ลงโทษปรับเกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ได้
                กรณีตัวอย่าง
 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 372 บัญญัติว่า ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถานหรือกระทำโดยประการอื่นใด ให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารณะสถานต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท  ดังนั้น ถ้าผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรานี้ศาลจะลงโทษจำคุกไม่ได้  เพราะความผิดตามมาตราดังกล่าวกำหนดเฉพาะโทษปรับเท่านั้น ถ้าศาลจะลงโทษปรับก็จะปรับได้ไม่เกิน 500 บาท
5. เหตุที่กฎหมายไม่ลงโทษ
                
โดยหลักทั่วไปแล้วบุคคลใดกระทำความผิดต้องรับโทษ แต่มีบางกรณีที่กฎหมายไม่ลงโทษ   เหตุที่กฎหมายไม่ลงโทษนั้น เป็นกรณีที่กฎหมายไม่ลงโทษผู้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด หมายความว่า ผู้กระทำยังมีความผิดอยู่แต่กฎหมายยกเว้นโทษให้ ต่างกับกรณียกเว้นความผิด ซึ่งผู้กระทำไม่มีความผิดเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามทั้งเหตุยกเว้นและหยุดยกเว้นความผิดต่างก็มีผลทำให้ผู้กระทำรับโทษเหมือนๆกัน
                เหตุยกเว้นโทษทางอาญา  
                
การกระทำความผิดอาญาที่ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษถ้ามีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย เช่น
                    1. การกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
                    2. การกระทำความผิดเพราะความบกพร่องทางจิต
                    3. การกระทำความผิดเพราะความมึนเมา
                    4. การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
                    5. สามีภริยากระทำความผิดต่อกันในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์บางฐาน
                    6. เด็กอายุไม่เกิน 14 ปีกระทำความผิด
6. เด็กและเยาวชนกระทำความผิด
                
เด็กอาจกระทำความผิดได้เช่นเดียวผู้ใหญ่ แต่การกระทำความผิดของเด็กอาจได้รับโทษต่างจากการกระทำของผู้ใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากเด็กเป็นผู้อ่อนเยาว์ ปราศจากความรู้สึกรับผิดชอบหรือขาดความรู้สึกสำนึกเท่าผู้ใหญ่ การลงโทษเด็กจำต้องคำนึงถึงอายุของเด็ก   ผู้กระทำความผิดด้วย   กฎหมายได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ
                1) เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี
                2) เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี
                3) เยาวชนอายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี
                4) เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี
            สำหรับเด็กในช่วงอายุไม่เกิน 7 ปี และเด็กอายุกว่า 7 ปีแต่ไม่เกิน 14 ปีเท่านั้น  ที่กฎหมายยกเว้นโทษให้ ส่วนผู้ที่อายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี และผู้ที่มีอายุกว่า 17 ปี  แต่ไม่เกิน 20 ปี หากกระทำความผิดกฎหมายก็จะไม่ยกเว้นโทษให้ เพียงแต่ให้รับลดหย่อนโทษให้
                    6.1 เด็กอายุไม่เกิน 7 ปีการกระทำความผิด เด็กไม่ต้องรับโทษเลย ทั้งนี้เพราะกฎหมายถือว่าเด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถรู้ผิดชอบได้ ฉะนั้นจะมีการจับกุมฟ้องร้อยเกในทางอาญามิได้
                    6.2 เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปีกระทำความผิด เด็กนั้นก็ไม่ต้องรับโทษเช่นกัน แต่กฎหมายให้อำนาจศาลที่จะใช้วิธีการสำหรับเด็ก เช่น
                            1) ว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นแล้วปล่อยตัวไป
                            2) เรียกบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้
                            3) มอบตัวเด็กให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อกำหนดให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้าย
                            4) มอบเด็กให้แก่บุคคลที่เด็กอาศัยอยู่ เมื่อเขายอมรับข้อกำหนดที่จะระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้าย
                            5) กำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติ
                            6) มอบตัวเด็กให้กับบุคคลหรือองค์การที่ศาลเห็นสมควร เพื่อดูและอบรมและสั่งสอนเด็กในเมื่อบุคคลหรือองค์การนั้นยินยอม
                            7) ส่งตัวเด็กนั้นไปยังโรงเรียนหรือสถานฝึกอบรม หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรม
                    6.3 เยาวชนอายุเกิน 14 ปี แต่ไม่เกิน 17 ปีกระทำความผิด ผู้ที่อายุกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ให้ศาลพิจารณาถึงความรู้ผิดชอบและสิ่งอื่นทั้งปวงเกี่ยวกับผู้นั้นในอันควรวินิจฉัยว่าสมควรพิพากษาลงโทษผู้นั้นหรือไม่ศาลอาจใช้วิธีการตามข้อ 6.2 หรือลงโทษเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ โดยลดมาตราส่วนโทษที่จะใช้กับเยาวชนนั้นลงกึ่งหนึ่ง ก่อนที่จะมีการลงโทษเยาวชนผู้กระทำความผิด
                    6.4 เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปีกระทำความผิด ผู้ที่อายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี กระทำอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นลง 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งก็ได้จะเห็นได้ว่า ผู้ที่อายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี กฎหมายไม่ถือว่าเป็นเด็ก   แต่กฎหมายก็ยอมรับว่า บุคคลในวัยนี้ยังมีความคิดอ่านไม่เท่าผู้ใหญ่จริง จึงไม่ควรลงโทษเท่าผู้ใหญ่กระทำความผิด โดยให้ดุลพินิจแก่ศาลที่จะพิจารณาว่า สมควรจะลดหย่อนผ่อนโทษให้หรือไม่ ถ้าศาลพิจารณาสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับผู้กระทำความผิด เช่น ความคิดอ่าน การศึกษาอบรม ตลอดจนพฤติการณ์ในการกระทำความผิด เช่น กระทำความผิดเพราะถูกผู้ใหญ่เกลี้ยกล่อม หากศาลเห็นสมควรลดหย่อนผ่อนโทษให้ก็มีอำนาจลดมาตราส่วนโทษได้ 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งการลดมาตราส่วนโทษ คือ การลดอัตราโทษขั้นสูงและโทษขั้นต่ำลง 1 ใน 3  หรือกึ่งหนึ่งแล้ว จึงลงโทษระหว่างนั้น แต่ถ้ามีอัตราโทษขั้นสูงอย่างเดียวก็ลดเฉพาะอัตราโทษขั้นสูงนั้น แล้วจึงลงโทษจากอัตราที่ลดแล้วนั้น
                กรณีตัวอย่าง
 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2516 จำเลยอายุ 19 ปี ยอมมีความรู้สึกผิดชอบน้อย ได้กระทำความผิดโดยเข้าใจว่าผู้ตายข่มเหงน้ำใจตน ศาลเห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษลง 1 ใน 3
สรุปสาระสำคัญ
                    
1. กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด
                    2. ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ
                    3. การกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ  ความผิดต่อแผ่นดิน และความผิดอันยอมความกันได้
                    4. ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง หรือเป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง
                    5. โทษทางอาญา มี 5 ชนิด
                                1. ประหารชีวิต 2. จำคุก
                                3. กักขัง 4. ปรับ
                                5. ริบทรัพย์สิน
                    6. กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
                    7. กระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้
                    8. การกระทำโดยประมาท คือ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
                    9. กฎหมายได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ
                            1) เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี
                            2) เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี
                            3) เยาวชนอายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี
                            4) เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี