วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติการปฏิวัติรัฐประหารและกบฏ ในประเทศไทย
'กบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร' โดยสาระสำคัญแล้ว การทำรัฐประหาร คือการใช้กำลังอำนาจเข้าเปลี่ยนแปลงอำนาจของรัฐ โดยมาก หากรัฐประหารครั้งนั้นสำเร็จ จะเรียกว่า 'ปฏิวัติ' แต่หากไม่สำเร็จ จะเรียกว่า 'กบฏ'

จาก พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2549 มีการก่อรัฐประหารหลายครั้ง ทั้งที่เป็น การปฏิวัติ และเป็น กบฏ มีดังนี้

พ.ศ. เหตุการณ์ หัวหน้าก่อการ รัฐบาล
2475 ปฏิวัติ 24 มิถุนายน พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ
2476 รัฐประหาร พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
2476 กบฎบวรเดช พล.อ.พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2478 กบฎนายสิบ ส.อ.สวัสดิ์ มหะหมัด พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2481 กบฎพระยาสุรเดช พ.อ.พระยาสุรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2490 รัฐประหาร พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
2491 กบฎแบ่งแยกดินแดน ส.ส.อีสานกลุ่มหนึ่ง นายควง อภัยวงศ์
2491 รัฐประหาร คณะนายทหารบก นายควง อภัยวงศ์
2491 กบฏเสนาธิการ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2492 กบฎวังหลวง นายปรีดี พนมยงค์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2494 กบฎแมนฮัตตัน น.อ.อานน บุณฑริกธาดา จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2494 รัฐประหาร จอมพล ป. พิบูลสงคราม จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2497 กบฎสันติภาพ นายกุหราบ สายประสิทธิ์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2500 รัฐประหาร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2501 รัฐประหาร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ถนอม กิตติขจร
2514 รัฐประหาร จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพล ถนอม กิตติขจร
2516 ปฏิวัติ 14 ตุลาคม ประชาชน จอมพล ถนอม กิตติขจร
2519 รัฐประหาร พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
2520 กบฎ 26 มีนาคม พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
2520 รัฐประหาร พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
2524 กบฎ 1 เมษายน พล.อ.สัณห์ จิตรปฏิมา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
2528 การก่อความไม่สงบ 9 กันยายน พ.อ.มนูญ รูปขจร * พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
2534 รัฐประหาร พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
2549 รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มีพล.อ.สนธิ บุญยตกรินทร
เป็นหัวหน้า รัฐประหารรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
* คณะบุคคลกลุ่มนี้ อ้างว่า พลเอก เสริม ณ นคร อดีตผู้บัญชาทหารสูงสุดเป็นหัวหน้า แต่หัวหน้าก่อการจริงคือ พ.อ. มนูญ รูปขจร

ประวัติการปฏิวัติรัฐประหารและกบฎ ในประเทศไทย (2475 - 2549)

การ ปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475

" คณะราษฎร " ซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนบางกลุ่ม จำนวน 99 นาย มีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศสืบต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้แก่ปวงชนชาวไทยอยู่ก่อนแล้ว จึงทรงยินยอมตามคำร้องขอของคณะราษฎร ที่ทำการปฏิวัติในครั้งนั้น

รัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476

พัน เอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พร้อมด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนคณะหนึ่ง ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกจากตำแหน่งซึ่งเป็นการริดรอนอำนาจภายในคณะราษฏร ที่มีการแตกแยกกันเอง
ในส่วนของการใช้อำนาจ ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ใช้อำนาจในทางที่ละเมิดต่อกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและประเทศชาติ เช่น ให้มีศาลคดีการเมือง ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการรัฐสภา สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่มีอิสระอย่างเต็มที่ การประกาศทรัพย์สินของนักการเมืองทุกคนทุกตำแหน่ง การออกกฎหมายผลประโยชน์ขัดกัน ฯลฯ

กบฏบวชเดช 11 ตุลาคม 2476

พระ เจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารจากหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ก่อการเพื่อล้มล้างอำนาจของรัฐบาล โดยอ้างว่าคณะราษฎรปกครองประเทศไทยโดยกุมอำนาจไว้แต่เพียงแต่เพียงผู้เดียว และปล่อยให้บุคคลกระทำการหมิ่นองค์พระประมุขของชาติ รวมทั้งจะดำเนินการปกครองโดยลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามแนวทางของนายปรีดี พนมยงค์ คณะผู้ก่อการได้ยกกำลังเข้ายึดดอนเมืองเอาไว้ ฝ่ายรัฐบาลได้แต่งตั้ง พ.ท.หลวง พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม ออกไปปราบปรามจนประสบผลสำเร็จ

กบฏนายสิบ 3 สิงหาคม 2478

ทหาร ชั้นประทวนในกองพันต่างๆ ซึ่งมีสิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยจะสังหารนายทหารในกองทัพบก และจับพระยาพหลพลพยุหเสนาฯ และหลวงพิบูลสงครามไว้เป็นประกัน รัฐบาลสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ หัวหน้าฝ่ายกบฏถูกประหารชีวิต โดยการตัดสินของศาลพิเศษในระยะต่อมา

กบฏพระยาทรงสุรเดช 29 มกราคม 2481

ได้มีการจับกุมบุคคลผู้คิดล้มล้างรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังเดิม นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และได้ให้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต่อมารัฐบาลได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณา และได้ตัดสินประหารชีวิตหลายคน ผู้มีโทษถึงประหารชีวิตบางคน เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร นายพลโทพระยาเทพหัสดิน นายพันเอกหลวงชานาญยุทธศิลป์ ได้รับการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต เนื่องจากศาลเห็นว่าเป็นผู้ได้ทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติมาก่อน

รัฐ ประหาร 8 พฤศจิกายน 2490

คณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมี พลโทผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าสำคัญ ได้เข้ายึดอำนาจรัฐบาล ซึ่งมีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ แล้วมอบให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลต่อไป ขณะเดียวกัน ได้แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย

กบฏแบ่งแยกดินแดน 28 กุมภาพันธ์ 2491

จะมีการจับกุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของภาคตะวันออก เฉียงเหนือหลายคน เช่น นายทิม ภูมิพัฒน์ นายถวิล อุดล นายเตียง ศิริขันธ์ นายฟอง สิทธิธรรม โดยกล่าวหาว่าร่วมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย แต่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุมได้ เนื่องจากสมาชิกผู้แทนราษฏรมีเอกสิทธิทางการเมือง

รัฐประหาร 6 เมษายน 2491

คณะนายทหารซึ่งทำรัฐประหารเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 บังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วมอบให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้าดำรงตำแหน่งต่อไป

กบฏเสนาธิการ 1 ตุลาคม 2491

พล ตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้าคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง วางแผนที่จะเข้ายึดอำนาจการปกครอง และปรับปรุงกองทัพจากความเสื่อมโทรม และได้ให้ทหารเข้าเล่นการเมืองต่อไป แต่รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ทราบแผนการ และจะกุมผู้คิดกบฏได้สำเร็จ

กบฏวังหลวง 26 มิถุนายน 2492

นาย ปรีดี พนมยงค์ กับคณะนายทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง และตั้งเป็นกองบัญชาการ ประกาศถอดถอน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารผู้ใหญ่หลายนาย พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยกาปราบปราม มีการสู้รบกันในพระนครอย่างรุนแรง รัฐบาลสามารถปราบฝ่ายก่อการกบฏได้สำเร็จ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบหนออกนอกประเทศอีกครั้งหนึ่ง

กบฏแมนฮัตตัน 29 มิถุนายน 2494

นาวาตรีมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือรบหลวงสุโขทัยใช้ปืนจี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปกักขังไว้ในเรือรบศรีอยุธยา นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา หัวหน้าผู้ก่อการได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้งพระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการสู้รบกันระหว่างทหารเรือ กับทหารอากาศ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถหลบหนีออกมาได้ และฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏจนเป็นผลสำเร็จ

รัฐ ประหาร 29 พฤศจิกายน 2494

จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้ ต้องใช้วิธีการให้ตำแหน่งและผลประโยชน์ต่างๆ แก่บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนอยู่เสมอ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2492 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น มีวิธีการที่เป็นประชาธิปไตยมากเกินไป จึงได้ล้มเลิกรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเสีย พร้อมกับนำเอารัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม 2475 มาใช้อีกครั้งหนึ่ง

กบฏ สันติภาพ 8 พฤศจิกายน 2497

นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) และคณะถูกจับในข้อหากบฏ โดยรัฐบาลซึ่งขณะนั้นมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เห็นว่าการรวมตัวกันเรี่ยไรเงิน และข้าวของไปแจกจ่ายแก่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขณะนั้นกำลังประสบกับความเดือดร้อน เนื่องจากความแห้งแล้งอย่างหนัก เป็นการดำเนินการที่เป็นภัยต่อรัฐบาล นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ กับคณะถูกศาลตัดสินจำคุก 5 ปี

รัฐประหาร 16 กันยายน 2500

จอม พลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารนำกำลังเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังจากเกิดการเลือกตั้งสกปรก และรัฐบาลได้รับการคัดค้านจากประชาชนอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ต้องหลบหนีออกไปนอกประเทศ

รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501

เป็นการปฏิวัติเงียบอีกครั้งหนึ่ง โดยจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น ลากออกจากตำแหน่ง ในขณะเดียวกันจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากเกิดการขัดแย้งในพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และมีการเรียกร้องผลประโยชน์หรือตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง เป็นเครื่องตอบแทนกันมาก คณะปฏิวัติได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง และให้สภาผู้แทน และคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง

รัฐ ประหาร 17 พฤศจิกายน 2514

จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำการปฏิวัติตัวเอง ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขึ้นทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และให้ร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในระยะเวลา 3 ปี

ปฏิวัติโดยประชาชน 14 ตุลาคม 2516

การเรียกร้องให้มีรัฐ ธรรมนูญของนิสิตนักศึกษา และประชาชนกลุ่มหนึ่งได้แผ่ขยายกลายเป็นพลังประชาชนจำนวนมาก จนเกิดการปะทะสู้รบกันระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เป็นผลให้จอมพลถนอม กิตติขจร นายักรัฐมนตรี จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร ต้องหลบหนีออกนอกประเทศ

ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 6 ตุลาคม 2519

พล เรือเอกสงัด ชลออยู่ และคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ เนื่องจากเกิดการจลาจล และรัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยทันที คณะปฏิวัติได้ประกาศให้มีการปฏิวัติการปกครอง และมอบให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520

พล เรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจของรัฐบาล ซึ่งมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลได้รับความไม่พอใจจากประชาชน และสถานการณ์จะก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างข้าราชการมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเห็นว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งมีระยะเวลาถึง 12 ปีนั้นนานเกินไป สมควรให้มีการเลือกตั้งขึ้นโดยเร็ว

กบ ฎ 26 มีนาคม 2520

พลเอกฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังทหารจากกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ 4 แห่ง คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกสวนรื่นฤดี กองบัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ ฝ่ายทหารของรัฐบาลพลเรือน ภายใต้การนำของ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอกกมล เดชะตุงคะ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลเอกเสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2520

กบฎ 1 เมษายน 2524

พล เอกสัณห์ จิตรปฏิมา ด้วยความสนับสนุนของคณะนายทหารหนุ่มโดยการนำของพันเอกมนูญ รูปขจร และพันเอกประจักษ์ สว่างจิตร ได้พยายามใช้กำลังทหารในบังคับบัญชาเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ ซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดความแตกแยกในกองทัพบก แต่การปฏิวัติล้มเหลว ฝ่ายกบฏยอมจำนนและถูกควบคุมตัว พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา สามารถหลบหนีออกไปนอกประเทศได้ ต่อมารัฐบาลได้ออกกฏหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการกบฏในครั้งนี้

การ ก่อความไม่สงบ 9 กันยายน 2528

พันเอกมนูญ รูปขจร นายทหารนอกประจำการ ได้นำกำลังทหาร และรถถังจาก ม.พัน 4 ซึ่งเคยอยู่ใต้บังคับบัญชา และกำลังทหารอากาศโยธินบางส่วน ภายใต้การนำของนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร เข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด และประกาศให้ พลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองของประเทศ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในขณะที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก อยู่ในระหว่างการไปราชการต่างประเทศ กำลังทหารฝ่ายรัฐบาลโดยการนำของพลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองผู้บัญชากรทหารสูงสุด ได้รวมตัวกันต่อต้านและควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ในเวลาต่อมา พันเอกมนูญ รูปขจร และนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร หลบหนีออกนอกประเทศ การก่อความไม่สงบในครั้งนี้มีอดีตนายทหารผู้ใหญ่หลายคน ตกเป็นผู้ต้องหาว่ามีส่วนร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ พลเอกเสริม ณ นคร พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลอากาศเอกพะเนียง กานตรัตน์ พลเอกยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และพลอากาศเอกอรุณ พร้อมเทพ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

รัฐ ประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534

โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติซึ่ง ประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ เจ้าหน้าที่-ตำรวจ และพลเรือน ภายใต้การนำของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณ-จันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมร-วิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และพลเอกอสิระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี
รัฐประหาร 19 กันยายน 2549
มีพล.อ.สนธิ บุญยตกรินทร
เป็นหัวหน้า

ลำดับเหตุการณ์ ความเคลื่อนไหว การปฎิวัติยึดอำนาจ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
------------------------------------------------------------------------------------------
18.30 น. มีข่าวลือสะพัด กำลังทหารเตรียมเคลื่อนกำลังพล โดยมีรายงานว่าหน่วยรบพิเศษจากลพบุรีราว 1
กองพันเคลื่อนกำลังด่วนเข้า กรุงแล้ว

19.00 น. ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
ยืน ยัน ไม่มีการเคลื่อนไหวกำลังพล

19.30 น. แม่ทัพภาค 3 ยืนยัน ไม่มีการเคลื่อนกำลัง ยังฝึกปกติ

20.00 น. นายทหารคนสนิทประธานองคมนตรี ยืนยัน มีการเข้าเฝ้า เมื่อช่วงเย็น เรื่องทำบุญ หม่อมหลวงบัว

21.00 น. ทหารรบพิเศษ สองคันรถบัสเคลื่อนพลเข้ากองบัญชาการกองทัพบก สั่งปิดไฟสลก.

21.20 น. มีทหารเฝ้าประตูวังสุโขทัย มากกว่า 20

21.20 น.นายกฯสั่งช่อง 11 เตรียมการถ่ายทอดสดทางโทรศัพท์ จากนิวยอร์ค

21.35 น. เลขาธิการนายกฯเข้าทำเนียบ

21.40 น. รถถ่ายทอดททบ.5เคลื่อนเข้าไปในกองบัญชาการกองทัพบก

22.40 น. นายกฯสั่งช่อง 9 เตรียมถ่ายทอดสดจากนิวยอร์ค

21.45 น. เลขาฯนายก หอบเอกสารปึกใหญ่ นั่งรถ รองนายกฯชิดชัยออกจากทำเนียบรัฐบาล

22.00 น. กองบัญชาการตำรวจนครบาลสั่งปิดประตู พร้อมวางกำลังเจ้าหน้าที่อาวุธครบมือประจำการประมาณ

22.10 น. ทหารเตรียมเคลื่อนกำลังออกจากม.พัน 4

22.13 น. ยานหุ้มเกราะ 20 คันเคลื่อนจากเกียกกายสู่ลานพระรูป ขณะที่รถถัง 3-4 คันเคลื่อนไปทำเนียบ

22.14 น. ทหารเคลื่อนพลปิดล้อมทำเนียบ รัฐบาลแล้ว

22.14 น. รถถัง 3 คันประจำการแยกเกียกกาย บ้านสี่เสาเทเวศน์ รถถังสองคันพร้อมรถบรรทุกกำลังพล 5
คันเคลื่อนออกจากกองพันทหารปืนใหญ่

22.20 น. วิทยุและโทรทัศน์ทหารเปิดเพลงมาร์ชกระหึ่ม ทหารยึดอสมท.

22.24 น. ทหารเคลื่อนกำลังพลปิดบ้านนายกฯ ขณะที่นายกฯประกาศใช้พรก.ฉุกเฉินต้านทันควัน พร้อมสั่งย้าย
ผบ.ทบ.เข้า รายงานตัวกับชิดชัย ตั้งผบ.สส.เป็นผู้มีอำนาจสั่งการตามพรก.

22.26 น. ทหารสั่งตัดไฟสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ขณะนายกฯกำลังประกาศใช้พรก.ฉุกเฉิน

22.40 น. มีการตัดสัญญาณ ฟรีทีวีทุกช่อง

22.41 น. Cnn รายงานสถานีวิทยุและโทรทัศน์ไทย ถูกปิดหมดแล้ว และมีรายงานการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉิน

22.44 น. ทหารสั่งกักบริเวณ ผู้สื่อข่าวทำเนียบรัฐบาล

22.55 น. ทหารปล่อยให้สื่อมวลชนกลับบ้านแล้ว

23.00 น. ทหารควบคุมตัวพลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแล้ว

23.05 น. มีประกาศจากคณะปฏิรูปการเมืองซึ่งประกอบด้วยสี่เหล่าทัพขอความร่วมมือจาก ประชาชนหลัง
ควบคุมสถานการณ์ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลไว้ได้โดยไม่มีการต่อ ต้าน

23.10 น.เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารสั่งสถานีวิทยุ ในเครือกองทัพ( ๑๐๑
)เตรียมรับสัญญาณถ่ายทอดสดจากสถานีวิทยุ ๙๙.๕

23.15 น. ทหารสั่งปลดอาวุธเจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาความปลอดภัยทำเนียบรัฐบาล
และ กักบริเวณไว้หน้าตึกไทยคู่ฟ้า

23.27 น. พลตรี ประพาส สกุนตนารถ ที่ปรึกษาททบ.๕ ออกแถลงการณ์ประกาศคณะปฏิรูปอย่างเป็นทางการ

23.30 น. มีข้อความแพร่ไปทาง มือถืออ้างพลเอกเปรมปฏิวัติแต่ในหลวงไม่เอาด้วย

23.31 น. ประธานาธิบดีสหรัฐประกาศเป็นศัตรูกับรัฐบาลที่ทำการยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจาก การเลือกตั้ง

23.40 น. มีการสั่งปลดอาวุธ ตำรวจหน่วยอรินทราชและคอมมานโดทั้งหมด

23.50 น. มีประกาศจากคณะปฏิรูปการเมืองครั้งที่ ๒
แจงก่อเหตุเพราะมีการบริหาร ราชการแผ่นดินส่อไปในทางทุจริตอย่างกว้างขวาง องค์กรอิสระถูกครอบงำไม่เป็นไปตา
มเจตนารมย์รัฐธรรมนูญ การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองมีอุปสรรค
หมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพของพระมหากษัตริย์อยู่หลายครั้ง
คณะปฏิรูปไม่ประสงค์จะยึดอำนาจเพื่อ บริหารเอง แต่จะคืนอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินอันมีพระมหากษัตริย์
เป็น ประมุขให้ปวงชนชาวไทยโดยเร็วที่สุด

23.55 น. มีการตัดสัญญาณ โทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก ( ยูบีซี ) ช่อง ๕๓ ของสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น

23.59 น. ผู้บัญชาทหารทุกเหล่าทัพเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระตำหนักจิ ครลดารโหฐาน
พระราชวังดุสิต

00.24 น. มีรายงานการปะทะกันที่บริเวณกองพันทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์บางเขน

00.28 น. พลตรี ประพาส สกุนตนารถ ที่ปรึกษาททบ.๕ อ่านแถลงการประกาศกฎอัยการศึกบังคบใช้ทั่วประเทศตั้งแต่
๒๑.๐๕ น.ของวันที่ ๑๙ กันยายน ๔๙ โดยมีพลเอก สนธิบุญรัตนกลิน เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปฯ

00.30 น. มีประกาศคณะปฎิรูป การปกครองฯฉบับที่ ๒ สั่งห้ามเคลื่อนย้ายกำลังทหาร
โดยไม่ได้รับคำสั่ง จากคณะปฏิรูป




ชื่อ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย

รายนามนายกรัฐมนตรีไทย

1. พระยามโน ปกรณ์นิติธาดา

2. พัน เอก พระยาพหลพลพยุหเสนา

3. จอม พล แปลก พิบูลสงคราม

4. พัน ตรี ควง อภัยวงศ์

5. นาย ทวี บุณยเกตุ

6. หม่อม ราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

7. นาย ปรีดี พนมยงค์

8. พล เรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

9. นาย พจน์ สารสิน

10. จอม พล ถนอม กิตติขจร

11. จอม พล สฤษดิ์ ธนะรัชต์

12. นาย สัญญา ธรรมศักดิ์

13. พล ตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

14. นาย ธานินทร์ กรัยวิเชียร

15. พล เอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

16. พล เอก เปรม ติณสูลานนท์

17. พล เอก ชาติชาย ชุณหะวัณ

18. นาย อานันท์ ปันยารชุน

19. พล เอก สุจินดา คราประยูร

20. นาย ชวน หลีกภัย

21. นาย บรรหาร ศิลปอาชา

22. พล เอก ชวลิต ยงใจยุทธ

23. พัน ตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร

24. พล เอก สุรยุทธ์ จุลานนท์

25. นายสมัคร สุนทรเวช

26. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์

27. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง (24 มิถุนายน)


การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 คือ การปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของ ประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือน ประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป

หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นหมุดทองเหลือง ฝังอยู่กับพื้นถนน บนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนามเสือป่า (ถ้าหันหน้าไปทางเดียวกับหัวม้า จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ) มีข้อความว่า "ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ" เป็นหลักฐานถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมื่อ 72 ปีก่อน ข้อความเหล่านี้นับวันแต่จะเลือนหายไปตามกาลเวลา

คณะราษฎรที่ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นั้นประกอบด้วยคนสองกลุ่ม คือ

  1. กลุ่มนักเรียนไทยในต่างประเทศ
  2. กลุ่มนายทหารในประเทศไทย

บุคคลทั้งสองกลุ่มพื้นฐานการศึกษาคล้ายกัน คือ ศึกษาวิชาพื้นฐานหรือวิชาชีพจากประเทศทางตะวันตก ใกล้ชิดกับการปกครองของประเทศที่ตนไปศึกษา คือ ได้สัมผัสกับบรรยากาศการปกครองในระบอบประธิปไตย เห็นความเจริญก้าวหน้าจากการที่ประชาชนในยุโรปตะวันตกมีส่วนร่วมในการปกครอง ประกอบกับบุคคลทั้งสองกลุ่มเป็นบุคคลที่มีสติปัญญาสูง ส่วนใหญ่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง จึงกำหนดในความคิดว่าตนควรจะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ

คณะผู้ก่อการยึดอำนาจการปกครอง ได้รวมกลุ่มกันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ พ.ศ. 2469 ได้มีข้อขัดแย้งกับผู้ดูแลนักเรียนไทยในฝรั่งเศสซึ่งเป็นพระราชวงศ์องค์ หนึ่ง ซึ่งกล่าวหาว่านักเรียนไทยเป็นพวกหัวรุนแรง ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัย ควรเรียกบางคนกลับประเทศไทยำให้นักเรียนในต่างประเทศมีพื้นฐานการไม่พอใจ สถานการณ์บ้านเมืองเป็นส่วนตัว คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เป็นนักเรียนไทยในต่างประเทศเมื่อกลับ มาถึงประเทศไทย ก็ได้เตรียมการวางแผนยึดอำนาจโดยชักชวนให้กลุ่มนายทหารเข้าร่วมด้วย การยึดอำนาจการปกครองของประเทศไทยมีผู้กระทำมาครั้งหนึ่งแล้วใน ร.ศ.130 กระทำไม่สำเร็จ ดังนั้นคณะราษฎรจึงได้วางแผนอย่างดีป้องกันข้อบกพร่องที่อาจมีขึ้น และการชัดชวนทหารเข้าร่วมด้วยจึงทำให้เกิดความสำเร็จเพราะทหารมีอาวุธ ผู้บริหารประเทศยินยอมให้คณะราษฎรยึดอำนาจไม่โต้แย้ง ด้วยเกรงว่าพระบรมวงศานุวงศ์จนถึงประชาชนจะเป็นอันตรายเพราะอาวุธ

ชนวนที่ทำให้คณะราษฎรลงมือ วางแผนยึดอำนาจมีหลายสาเหตุ ได้แก่

  • สาเหตุแรก สภาพบ้าน เมืองในช่วงเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาอภิรัฐมนตรีสภาซึ่งสมาชิกทั้งหมดเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ด้วยเหตุผลที่จำให้แก้สถานการณ์ที่กล่าวว่า พระมหากษัตริย์กับพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่แตกแยกกัน อภิรัฐมนตรีสภาช่วยแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้หลายประการแต่ความคิดของผู้ใหญ่ และของผู้เยาว์กว่าย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นการยับยั้งข้อเสนอบางเรื่องโดยเฉพาะพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระ ปกเกล้าเย้าอยู่หัวที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ประชาชนชาวไทยในวาระราชวงศ์ จักรีทรงปกครองแผ่นดินมาครบ 150 ปี จึงทำให้คณะราษฎรและกลุ่มหนังสือพิมพ์มองว่า พวกเจ้าหลงกับอำนาจ
  • สาเหตุที่สอง ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศรายได้ไม่พอกับรายจ่าย สืบเนื่องจากเศรษฐกิจของโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และการใช้จ่ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว การแก้ไขคือ การดุลข้าราชการ ยุบเลิกหน่วยงานต่าง ๆ ตัดทอนค่าใช้จ่ายของกระทรวง กรม กอง และเก็บภาษีบางประการเพิ่มการแก้ไขดังนี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่ผู้เสีย ประโยชน์ ในวงการทหารก็เช่นกัน การขัดแย้งเรื่องงบประมาณกระทรวงกลาโหม จนถึงเสนาบดีกระทรวงกลาโหมขอลาออกจากราชการ จึงเป็นเหตุให้นายทหารคิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในขณะที่มีการดุลข้าราชการออก ก็มีกลุ่มบุคคลมองว่าดุลออกเฉพาะสามัญชน ส่วนข้าราชการที่เป็นเจ้าไม่ต้องถูกดุล แล้วยังบรรจุเข้าทำงานแทนสามัญชนอีก ความแตกต่างทางฐานะด้านสังคมก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง
  • สาเหตุที่สำคัญที่สุดก็คือ ความล่าช้าในการบริหารราชการแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์จะฝึกข้าราชการในสภากรรมการองคมนตรีให้เรียนรู้วิธีการ ประชุม ปรึกษาแบบรัฐสภาเพื่อเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ก็ทำได้อย่างไม่มีผลเท่าไรนักพระราชบัญญติเทศบาลซึ่งจะเป็นรากฐานของการ ปกครองตนเองก็ยังไม่ได้ประกาศออกใช้ และข้อสุดท้ายคือ ร่างรัฐธรรมนูญที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ผู้ชำนาญการร่างไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ยังไม่ได้พระราชทานแก่ประชาชน

การเปลี่ยนแปลงการปกครองกระทำได้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน การปกครองของประเทศจึงเปลี่ยนไป คือมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ

76 ปี ประชาธิปไตยไทย

การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในยุครัตนโกสินทร์ ยั่งยืนมา 150 ปี จนถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) จนบัดนี้กำลังล่วงลุสู่ปีที่ 76 ในวันที่ 24 มิถุนายน 2551 ที่จะถึงนี้

เมื่อวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎรผู้ก่อการปฏิวัติได้ออกประกาศเรียกว่า ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 อ้างเหตุผลความจำเป็นในการต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองความว่า

"เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ ครองราชย์สมบัติสืบต่อพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้จะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การณ์หาเป็นไปตามหวังที่คิดไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจอยู่เหนือกฎหมายตามเดิมทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้ คุณงามความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้างซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน ผลาญเงินทองของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดังที่จะเห็นได้ในการตกต่ำในการเศรษฐกิจและความฝืดเคืองทำมาหากิน ซึ่งราษฎรได้รู้กันอยู่ทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย มิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้ การที่แก้ไขไม่ได้ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิได้ปกครองประเทศ เพื่อราษฎรตามที่รัฐบาลอื่นๆได้กระทำกัน ..... ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นได้โค่นราชบัลลังก์เสียแล้ว"

"ฯลฯ.......เหตุ ฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น และได้ยึดอำนาจของรัฐบาลของกษัตริย์ไว้แล้ว คณะราษฎรเห็นว่า การที่จะแก้ความชั่วร้ายก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลายๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่มีประสงค์ทำการชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึงขอเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองของแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความเห็นนี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจล งม าก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา ตามวิธีนี้ราษฎรพึงหวังเถิดว่า ราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุก ๆ คนจะมีงานทำ เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้าน มาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น การปกครองซึ่งคณะราษฎรจะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการอาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว"

คณะผู้ก่อการปฏิวัติล้มล้างระบอบกษัตริย์ ได้ประกาศนโยบาย โดยเรียกว่า "หลักใหญ่ๆที่คณะราษฎรวางไว้" มีอยู่ว่า

  1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
  2. จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
  3. ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทาง เศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
  4. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎร เช่นที่เป็นอยู่)
  5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลักสี่ประการดังกล่าวข้างต้น
  6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

คณะราษฎรผู้ก่อการปฏิวัติ ได้ให้ความหวังแก่ประชาชนในแถงการณ์สุดท้ายว่า "ราษฎร ทั้งหลาย จงพร้อมกันช่วยคณะราษฎรให้ทำกิจอันคงจะอยู่ชั่วดินฟ้านี้ให้สำเร็จ คณะราษฎรขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือ กฎหมาย พึงตั้งอยู่ในความสงบและตั้งหน้าหากิน อย่าทำการใดๆอันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎรนี้ เท่ากับราษฎรช่วยประเทศและช่วยตัวราษฎร บุตร หลาน เหลนของตนเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบริบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะต้องมีงานทำไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพจากการเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาส พวกเจ้าหมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า "ศรีอาริย์" นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า"

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์สมเด็จพระปก เกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ รวมทั้งความเสียหายแก่บ้านเมือง และเนื่องจากพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบ ประชาธิปไตยอยู่แล้ว จึงไม่ทรงขัดความปรารถนาของคณะราษฎรที่ได้กราบบังคมทูลเชิญเป็นพระมหา กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองและได้พระราชทาน รัฐธรรมนูญ ฉบับถาวรดังกล่าว เหตุการณ์บ้านเมือง มีความสับสนวุ่นวาย อาญาสิทธิในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กลายเป็นการผูกขาดอำนาจเผด็จการในระบอบ ประชาธิปไตยที่คณะราษฎรกำหนดให้ จนมีคำกล่าวขานเป็นคำคล้องจองว่า "พระยาพหลต้นคิด หลวงประดิษฐ์ต้นเรื่อง โค่นอำนาจพระราชา ปล่อยหมูปล่อยหมามานั่งเมือง"

วันที่ 2 มีนาคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสละราชสมบัติ โดยพระราชหัตถเลขา ความว่า

"ข้าพเจ้าเห็นว่า คณะรัฐบาลและพวกพ้องใช้วิธีการปกครองไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัว บุคคลและหลักความยุติธรรม ตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใด คณะใดใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้

ข้าพเจ้ามี ความเต็มใจที่จะสละอำนาจ อันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาชน"

76 ปีที่ผ่านมาจนบัดนี้ สถานการณ์บ้านเมืองดังที่คณะราษฎรได้หยิบยกขึ้นมาประกอบเพื่อเป็นเหตุผลใน การปฏิวัติยังคงมีอยู่อย่างครบถ้วนทุกประการ ซ้ำร้ายหลายประการยิ่งเลวร้ายขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่า"คนสอพลอไร้คุณงาม ความรู้ขึ้นดำรงตำแหน่งหน้าที่สำคัญๆ การไม่ฟังเสียงราษฎร การปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในการรับสินบนทุจริตคอรัปชั่น การหากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน การปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม การทำตนอยู่เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้" หลักใหญ่ 5 ประการที่เสมือนนโยบายดังได้ประกาศไว้ และให้ความหวังไว้ว่าจะนำความสุขความเจริญอย่างประเสริฐเยี่ยง "ศรีอาริย์" มาบังเกิดแก่ราษฎรถ้วนหน้า ดูเหมือนกำลังจะนำพาประเทศชาติไปสู่ "กลียุค" เข้าทุกขณะ

ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 และฉบับต่อมาหลายฉบับ คือการ "ล้มเจ้า" และบังอาจจาบจ้วงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผยและร้ายแรงที่สุดต่อ สาธารณะ

วันที่ 9 มิถุนายน 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงขึ้นครองราชย์ ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วยพระราชปณิธานว่า "เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

62 ปี ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาล และทศพิธราชธรรมที่มั่นคง เป็นสิ่งที่นำพาชาติไทยให้ร่มเย็นเป็นสุขและอยู่รอดตลอดมา


กบฏ ร.ศ. 130

กบฏ ร.ศ. 130 หรือ กบฏเก็กเหม็ง หรือ กบฏน้ำลาย เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2455(ร.ศ. 130) ก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 สองทศวรรษในสมัยรัชกาล ที่6 เมื่อนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง วางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการแตกเสียก่อน จึงมีการจับกุมผู้คิดก่อการหลายคนไว้ได้ 91 คน คณะตุลาการศาลทหารมีการพิจารณาตัดสินลงโทษ ให้จำคุกและประหารชีวิต โดยให้ประหารชีวิตหัวหน้าผู้ก่อการจำนวน 3 คน คือ ร.อ.เหล็ง ศรีจันทร์ ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง และ ร.ต.เจือ ศิลาอาสน์ ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต 20 คน จำคุกยี่สิบปี 32 คน จำคุกสิบห้าปี 6 คน จำคุกสิบสองปี 30 คน แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่ได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย และได้มีพระบรมราชโองการพระราชทานอภัยโทษ ละเว้นโทษประหารชีวิต ด้วยทรงเห็นว่า ทรงไม่มีจิตพยาบาทต่อผู้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์

คณะผู้ก่อการได้รวมตัวกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2455 ประกอบด้วยผู้ร่วมคณะเริ่มแรกจำนวน 7 คน คือ

  • ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า
  • ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ จาก กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
  • ร.ต.จรูญ ษตะเมษ จากกองปืนกล รักษาพระองค์
  • ร.ต.เนตร์ พูนวิวัฒน์ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
  • ร.ต.ปลั่ง บูรณโชติ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
  • ร.ต.หม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร จาก โรงเรียนนายสิบ
  • ร.ต.เขียน อุทัยกุล จาก โรงเรียนนายสิบ

คณะผู้ก่อการวางแผนจะก่อการในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และวันขึ้นปีใหม่ ผู้ที่จับฉลากว่าต้องเป็นคนลงมือลอบปลงพระชนม์ คือ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ (หลวงสินาด โยธารักษ์) เกิดเกรงกลัวความผิด จึงนำความไปแจ้งหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และพากันนำความไปแจ้งสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

ความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ประทับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์จังหวัดนครปฐมคณะทั้งหมดจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27กุมภาพันธ์ ถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกกองมหันตโทษ ที่สร้างขึ้นใหม่ และได้รับพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ 2467 ครบรอบปีที่ 15 ของการครองราชย์



การปฏิรูปการปกครองในรัชกาลที่ 5


มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินดังนี้ ตั้งสภาแผ่นดิน 2 สภาได้แก่
1. รัฐมนตรีสภา ประกอบด้วยขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ มีพระองค์ท่านเป็นประธาน รัฐมนตรีสภามีหน้าที่ถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดิน รวมทั้งพิจารณาพระราชบัญญัติ พระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ
2. องคมนตรีสภา ประกอบด้วยสมาชิก 49 คน ทำหน้าที่เป็นสภา ที่ปรึกษา ราชการในพระองค์และมีหน้าที่ปฏิบัติราชการแผ่นดินตามแต่จะมีพระราชดำรัส ปฏิรูปองค์การบริหารในส่วน กลางใหม่ดังนี้


กรมมหาดไทย กรมกลาโหม กรมเมือง กรมวัง กรมท่า และกรมนา คือ 6 กรมเดิมที่มีมาและต่อมาได้ตั้งขึ้นใหม่อีก 6 กรม ได้แก่ กรมพระคลัง กรมยุติธรรม กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ กรมยุทธนาธิการ และ กรมมุรธาธร รวมเป็น 12 กรม ต่อมายกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง ภายหลังได้ยุบกระทรวงยุทธนาธิการเข้ากับ กระทรวงกลาโหม และ กระทรวงมุรธาธรรวมเข้ากับกระทรวงวัง คงเหลือ 10 กระทรวงดังนี้


1. กระทรวงมหาดไทย
2. กระทรวงกลาโหม
3. กระทรวงนครบาล
4. กระทรวงการต่างประเทศ
5. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
6. กระทรวงวัง
7. กระทรวงเกษตราธิการ
8. กระทรวงยุติธรรม
9. กระทรวงโยธาธิการ
10. กระทรวงธรรมการ



กระทรวงต่าง ๆ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

1. กระทรวงมหาดไทย มี หน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือรวมทั้งประเทศราศทางเหนือ
2. กระทรวงกลาโหม มี หน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ กรมทหารเรือ กรมช้าง กรมแสง
3. กระทรวงการต่างประเทศ มี หน้าที่จัดการเรื่องเกี่ยวกับการต่างประเทศ
4. กระทรวงนครบาล มีหน้าที่จัดการในเรื่องความปลอดภัยในพระนคร
5.กระทรวงวัง มี หน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องในราชสำนักและพระราชพิธีต่าง ๆ
6. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีหน้าที่บังคับบัญชาการเก็บภาษีอากรและการเงินของแผ่นดิน
7. กระทรวงเกษตรและพาณิชยการ มีหน้าที่จัดการเรื่องเพาะปลูก การป่าไม้ การค้า และโฉนดที่ดิน
8. กระทรวงยุติธรรม มี หน้าที่จัดการเรื่องเกี่ยวกับศาล
9. กระทรวงยุทธนาธิการ มี หน้าที่จัดการเกี่ยวกับทหารบกและทหารเรือ
10. กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องศาสนา การศึกษา การพยาบาล และพิพิธภัณฑ์
11. กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องการก่อสร้าง การไปรษณีย์ การสื่อสาร
12. กระทรวงมุรธาธร มีหน้าที่ดูแลรักษาพระราชลัญจกร หนังสือราชการเกี่ยวกับพระ มหากษัตริย์

กระทรวงต่างๆ

กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง สื่อมวลชนไทย มักจะเรียกขาน กระทรวงมหาดไทย ว่า กระทรวง คลองหลอด

หน้าที่และความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย สรุปได้ 4 ประการ คือ

1.ด้านการเมืองการ ปกครอง กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการอำนวยการเลือกตั้ง ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย และการรักษาความมั่นคงของชาติ

2.ด้านเศรษฐกิจ กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพและความเป็นอยู่ของ ประชาชน รับผิดชอบการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร การพัฒนาแหล่งน้ำ

3. ด้านสังคม กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชน และการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม เป็นต้น

4.ด้านการพัฒนาทางกายภาพ กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดชุมชนการจัดที่ดิน และการให้บริการสาธารณูปโภคในเขตเมือง กระทรวงกลาโหมเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลที่รับผิดชอบทางด้านการป้องกัน ประเทศ ประกอบด้วยหน่วยงานทางการทหารหลายสาขา กระทรวงนครบาล

ในสมัยรัชกาลที่ 5ได้ทรงจัดตั้ง "กระทรวงนครบาล"ขึ้น มีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและการปกครองท้องที่ มีหน่วยงาน กรมกองตระเวน (ตำรวจ) และทรงแต่งตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศวรฤทธิ์ เป็นเสนาบดีว่าการกระทรวงนครบาล ทรงได้รับสนองพระบรมราชโองการล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 โดยปฏิรูปงานของกรมพลตระเวนหรือตำรวจนครบาลให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น และกำหนดระบบงานต่างๆขึ้นมามากมาย อันถือเป็นรากฐานสำคัญในการจัดระบบราชการ และของตำรวจนครบาลตั้งแต่นั้นมารัชกาลที่ 5 ทรงเร่งรัดงานตำรวจมีข้อมูลทางประวัติศาสตร์ปรากฏเป็นพระราชหัตเลขาหลายฉบับ ที่พระองค์ทรงเอาใจใส่ ดังนั้นการที่ตำรวจนครบาลในยุคปัจจุบันที่ถูกเร่งรัดงานจากผู้บังคับบัญชา ระดับสูง กระทรวง การต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการต่างประเทศและราชการ อื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้ เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกราชการด้านการคลังออกจากกรมท่า ตราบัวแก้วจึงเป็นตราประจำตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์ กรมท่า และต่อมาเมื่อได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดระบบราชการใหม่โดยแบ่งเป็น 12 กระทรวง ตราบัวแก้ว จึงเป็นตราประจำเสนาบดีว่าการต่างประเทศ และกลายมาเป็นตราของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่ เกี่ยวกับการเงินของแผ่นดิน การภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ซึ่งรัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่เพียงผู้เดียวตามกฎหมายและไม่ อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญาผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อำนาจหรือสัตยาบัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า การบริหารการคลังของประเทศประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากรและการจัด ระบบการคลัง กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่ส่งเสริมการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สร้างความเสมอภาคและโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมทางการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาวิชาชีพ ให้เอกชนมีส่วนร่วมในการศึกษา เน้นให้นิสิตนักศึกษามีโอกาสศึกษาต่อสูงขึ้นทั้งในท้องถิ่นและสถาบันเปิด เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้บริการแก่สังคม พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษให้ได้เรียนและแสดงออกในทางที่เหมาะสม ประวัติในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการก่อตั้ง "กระทรวงธรรมการ" ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ดูแลศาสนา การศึกษา การพยาบาล และพิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 ซึ่งกระทรวงธรรมการมีการเปลี่ยนชื่อไปมาหลายครั้งระหว่างชื่อ "กระทรวงธรรมการ" และ "กระทรวงศึกษาธิการ" อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 ก็ได้ใช้ชื่อว่า "กระทรวงศึกษาธิการ" ตั้งแต่นั้นมา โดยมีที่ทำการอยู่ที่ "วังจันทรเกษม" จนถึงปัจจุบัน

การบริหารราชการส่วนภูมิภาค โปรดฯให้จัดระเบียบบริหารราชการหัวเมืองใหม่ ให้ยกเลิกเมืองพระยามหานคร ชั้นเอก โท ตรี จัตวา และหัวเมืองประเทศราช โดยจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาล ให้อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทยเพียงกระทรวงเดียว ปรากฎว่าในปี พ.ศ. 2449 ได้จัดแบ่งพระราชอาณาจักรออกเป็น 18 มณฑลดังนี้ มณฑลลาวเฉียงหรือมณพลพายัพ มีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง มณฑลลาวพวนหรือมณฑลอุดร มีศูนย์กลางอยู่ที่หนองคาย มณฑลลาวกาวหรือมณฑลอีสาน มีศูนย์กลางอยู่ที่จำปาศักดิ์ มณฑลเขมร หรือมณฑลบูรพา มีศูนย์กลางอยู่ที่พระตะบอง มณฑลลาวกลางหรือมณฑลราชสีมา มีศูนย์กลางอยู่ที่นครราชสีมา มณฑลภูเก็ต มีศูนย์กลางอยู่ที่ภูเก็ต มณฑลพิษณุโลก มีศูนย์กลางอยู่ที่พิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มีศูนย์กลางอยู่ที่ปราจีนบุรี มณฑลราชบุรี มีศูนย์กลางอยู่ที่ราชบุรี มณฑลนครชัยศรี มีศูนย์กลางอยู่ที่นครปฐม มณฑลนครสวรรค์ มีศูนย์กลางอยู่ที่นครสวรรค์ มณฑลกรุงเก่า มีศูนย์กลางอยู่ที่อยุธยา มณฑลนครศรีธรรมราช มีศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราช มณฑลไทรบุรี มีศูนย์กลางอยู่ที่ไทรบุรี มณฑลจันทบุรี มีศูนย์กลางอยู่ที่จันทบุรี มณฑลปัตตานี มีศูนย์กลางอยู่ที่ปัตตานี มณฑลชุมพร มีศูนย์กลางอยู่ที่ชุมพร มณฑลกรุงเทพฯ มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเทพมหานคร มณฑลกรุงเทพฯ ประกอบด้วย 6 เมืองได้แก่ พระนคร ธนบุรี ปทุมธานี นนทบุรี นครเขื่อนขันธ์ และสมุทรปราการในปี พ.ศ. 2440 ทรงตราพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ขึ้น สำหรับจัดการปกครองในเขตอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน ตามแผนภูมิดังนี้

องค์กร ผู้บังคับบัญชา
กระทรวงมหาดไทย
มณฑลเทศาภิบาล
เมือง
แขวง (อำเภอ)
ตำบล
หมู่บ้าน
เสนาบดี
ข้าหลางเทศาภิบาลหรือสมุหเทศาภิบาล
ผู้ว่าราชการเมือง
หมื่น (นายอำเภอ)
พัน (กำนัน)
ทนาย (ผู้ใหญ่บ้าน)

การปรับปรุงกฎหมายและการศาล

โปรดฯ ให้รวบรวมศาลที่สังกัดกระทรวงและไม่สังกัดทั้งหมด มาขึ้นกับกระทรวงยุติธรรมนับว่าเป็นการแยกอำนาจ ตุลาการ ออกจาก ฝ่ายบริหารได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย

สิ่งที่ปรับปรุงแก้ไขทาง ด้านการศาลมีดังนี้

1. ศาลในกรุง โปรดฯ ให้ตั้ง ศาลโปริสภา สำหรับทำหน้าที่เปรียบเทียบคดีความวิวาทของราษฎรที่เกิดขึ้นในท้องที่ และเป็นคดีที่มีโทษขนาดเบา ต่อมา ศาลโปริสภา ได้เปลี่ยนเป็น ศาลแขวง เมื่อ 1 ตุลาคม 2478 2. ศาลหัวเมือง โปรดฯ ให้จัดตั้งกองข้าหลวงพิเศษ ขึ้นคณะหนึ่งมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เป็นประธาน จัดการแก้ไขธรรมเนียมศาลยุติธรรมทั่วพระราชอาณาจักร ให้เป็นแบบเดียวกันทั้งหมด กองข้าหลวงพิเศษชุดนี้ มีหน้าที่สำคัญ 2 ประการคือ2.1 จัดตั้งศาลยุตธรรมสำหรับพิจารณาคดีขึ้นตามหัวเมืองทั้งปวงเสียใหม่2.2 ชำระสะสางคดีความที่ค้างอยู่ในศาลตามหัวเมืองต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไป3. จัดแบ่งชั้นของศาล เพื่อให้ระเบียบการศาลยุติธรรมมีความเป็น ระเบียบเรียบร้อบเป็นหลักฐานมั่งคงยิ่งขึ้น ก็โปรดฯให้ตราพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ขึ้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2451 โดยแบ่งศาลออกเป็น 3 แผนก คือ 3.1 ศาลฎีกา 3.2 ศาลสถิตย์ยุติธรรมกรุงเทพฯ

3.3 ศาลหัวเมือง

สิ่งที่ปรับปรุงแก้ไขทางด้านกฎหมาย มีดังนี้

1. ได้จ้างชาวต่างประเทศที่ มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย เข้ามารับราชการเป็นที่ปรึกษา เช่นดร. โรลัง ยัคมินส์ ชาวเบลเยี่ยม ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น เจ้าพระยาอภัยราชาสยามมานุกูลกิจนายโตกีจิ มาซาโอะ ชาวญี่ปุ่น ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น พระยามหิธรรมนูปกรณ์โกศลคุณนายวิลเลียม อัลเฟรด ติลเลเก ชาวศรีลังกา ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น พระยาอรรถการประสิทธิ์2. ได้โปรดฯให้ตั้ง กองร่างกฎหมาย สำหรับทำหน้าที่ตรวจสอบชำระบรรดาพระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ เพื่อให้ได้ ตัวบทกฎหมายที่ทันสมัยตามแบบอารยประเทศ โดยมีกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์เป็นประธาน 3. ตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมายขึ้นเป็น ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2440 โดยมีกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวง ยุติธรรมเป็นผู้อำนวยการ ด้วยเหตุนี้ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ จึงได้รับการว่าเป็น พระบิดาแห่งกฎหมายและการศาลไทย4. ยกเลิกการลงโทษแบบจารีตนครบาล จากผลการปฏิรูปการศาลและการชำระกฎหมายให้ทันสมัย ทำให้ การพิจารณาคดีแบบจารีตและวิธีลงโทษแบบป่าเถื่อนทารุณต่าง ๆ ได้ถูกยกเลิกไปโดยสิ้นเชิงการทหารเริ่มการฝึกทหารตามแบบยุโรปเพื่อใช้ป้องกันราช อาณาจักร ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นการฝึกทหารเกณฑ์ แบบยุโรปเพื่อใช้เป็นทหารรักษาพระองค์เท่านั้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดฯ ให้ปรับปรุงกองทัพดังนี้1. ปรับปรุงหน่วยทหารในกอง ทัพใหม่ จัดแบ่งออกเป็น กรม กอง เหล่า หมวด หมู่ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย พร้อมจัดอัตราเงินเดือนให้สอดคล้องกันและปรับปรุงอาวุธยุทธภัณฑ์ วิธีการฝึกตลอดจนเครื่องแบบให้ทันสมัยกำเนิดสถาบันกองทัพ 2. ตั้งโรงเรียนนายร้อยทหาร บก ตั้งกรมเสนาธิการทหารบก ตั้งโรงเรียนแผนที่ ตั้งโรงเรียนนายเรือ3. ส่งนักเรียนไปศึกษา วิชาการทหารในทวีปยุโรป อาทิ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครชัยศรีสุรเดช จบจากอังกฤษ เป็นเสนาธิการ ทหารบกคนแรกของไทย พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จบจากอังกฤษ เป็นนักเรียน นายเรือพระองค์แรก ของไทยและเป็นพระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย 4. ตราพระราชบัญญัติการเกณฑ์ ทหาร ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ 29 สิงหาคม 24485. สร้างเรือรบ อาทิ เรือพระที่นั่งจักรี เรือพาลีรั้งทวีป เรือสุครีพครองเมือง 6. สร้างป้อมพระจุลจอมเกล้า ป้อมปู่เจ้าสมิงพราย เพื่อป้องกันข้าศึกทางทะเลการตำรวจ ขยายกิจการตำรวจนครบาล ให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในพระนคร ตั้งกรมตำรวจภูธรขึ้น เพื่อปราบปรามโจรผู้ร้ายและดูแลทุกข์สุข ของราษฎรในส่วนภูมิภาค ตั้งกรมตำรวจภูบาลขึ้น เพื่อช่วยเหลือตำรวจภูธร ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร ขึ้น ณ จังหวัดนครราชสีมา ต่อมาย้ายมาตั้งอยู่ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จังหวัดนครปฐม



ประวัติการปกครองของไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์


กรุงรัตนโกสินทร์ หรือ "กรุงเทพมหานคร" เป็นราชธานีของไทย ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับที่ตั้งของกรุงธนบุรี โดยพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระนครขึ้น โดยทำพิธีตั้งเสาหลักเมืองของพระนครใหม่ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ เวลาย่ำรุ่งแล้ว 45 นาที ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325

ทั้งนี้ ได้พระราชทานนามของพระนครว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมารอวตารสถิต สักกะทัตติยะ วิษณุกรรมประสิทธิ์"แปลว่า พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตย์ของพระแก้วมรกต เป็นพระมหานครที่ไม่มีใครรบชนะ มีความงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ไปด้วยแก้วเปราะน่ารื่นรมย์ยิ่ง พระราชนิเวศน์ใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานของเทพผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทาน ให้พระวิษนุกรรมลงมาเนรมิตไว้ เรียกสั้นๆ ว่า "กรุงเทพฯ" "กรุงเทพมหานคร" หรือ "กรุงรัตนโกสินทร์" ซึ่งคำว่ากรุงเทพในตอนต้นชื่อนั้น สันนิษฐานว่ามากจากชื่อหน้าของ อยุธยา ว่า กรุงเทพ ทราราวดีศรีอยุธยา (ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ทรงแปลงสร้อยพระนามพระนครจาก "บวรรัตนโกสินทร์" เป็น "อมรรัตนโกสินทร์")

สภาพภูมิประเทศของกรุงรัตนโกสินทร์นั้น กรุงตั้งอยู่บริเวณแหลมยื่นลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านลงมาจากทางเหนือ ผ่านทางตะวันตกและใต้ก่อนที่จะมุ่งลงใต้สู่อ่าวไทย ทำให้กรุงดูคล้ายกับกรุงศรีอยุธยา รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าให้ขุดคูพระนครตั้งแต่บางลำภูไปถึงวัดเลียบ ทำให้กรุงรัตนโกสินทร์มีสภาพเป็นเกาะสองชั้น คือส่วนที่เป็นพระบรมมหาราชวังกับส่วนระหว่างคูเมืองธนบุรี(คลองคูเมือง เดิม)กับคูพระนครใหม่ ในขณะเดียวกันได้มีการสร้างพระบรมมหาราชวังแบบง่ายๆเพื่อใช้ประกอบพระราช พิธีบรมราชาภิเษก พอประกอบพิธีแล้วจึงรื้อของเก่าออกและก่ออิฐถือปูน ส่วนกำแพงพระนครนั้น นำอิฐจากกรุงศรีอยุธยามาใช้สร้าง

กรุงรัตนโกสินทร์ถือว่ามีชัยภูมิชั้นดีในการป้องกันศึกในสมัยนั้น คือพม่า ด้วยเนื่องจากมีแม่น้ำเจ้าพระยาขวางทางตะวันตก นอกจากนี้กรุงธนบุรีเดิมก็สามารถดัดแปลงเป็นค่ายรับศึกได้ แต่เหตุการณ์ที่พม่าเข้าเหยียบชานพระนครก็ไม่เคยเกิดขึ้นสักครั้ง เป็นที่สังเกตว่า การสร้างกรุงรัตนโกสินทร์นั้นเป็นการลงหลักปักฐานของคนไทยอย่างเป็นทางการ หลังกรุงแตก เพราะมีการสร้างปราสาทราชมณเฑียรอย่างงดงามต่างจากสมัยธนบุรี ทั้งๆที่ขณะนั้นเกิดสงครามกับพม่าครั้งใหญ่

กรุงรัตนโกสินทร์แล้วเสร็จจริงๆในปี พ.ศ. 2327 มีการสมโภชพระนครครั้งใหญ่ มีการลอกองค์ประกอบของกรุงศรีอยุธยามามากมาย เช่นวัดสุทัศน์แทนวัดพนัญเชิญ มีพระบรมมหาราชวังอยู่ริมน้ำ เป็นต้น แต่กรุงรัตนโกสินทร์ถูกสร้างต่อมาจนสมบูรณ์หมดจริงๆ ในช่วงรัชกาลที่ 3 และรัชกาลต่อมาจึงขยายพระนคร

การขยายพระนครนั้นเริ่มในสมัยรัชกาลที่4 เมื่อมีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมขึ้น พร้อมสร้างป้อมแต่ไม่มีกำแพง นอกจากนี้ยังมีการตัดถนนเจริญกรุงและพระรามสี่หรือสมัยนั้นเรียกถนนตรง ทำให้ความเจริญออกไปพร้อมกับถนน สรุปได้ว่าในรัชกาลที่ 4 เมืองได้ขยายออกไปทางตะวันออก ในรัชกาลที่ 5 ความเจริญได้ตามถนนราชดำเนินไปทางเหนือพร้อมกับการสร้างพระราชวังดุสิตขึ้น กำแพงเมืองต่างๆเริ่มถูกรื้อเนื่องจากความเจริญและศึกต่างๆเริ่มไม่มีแล้ว

หลังจาก ร.ศ.112 ที่ฝรั่งเศสยกเรือรบมาถึงบางรัก ก็เป็นแค่ไม่กี่ครั้งที่ข้าศึกต่างชาติเข้าถึงชานพระนครได้ ความเจริญได้ตามไปพร้อมกับวังเจ้านายต่างๆนอกพระนคร ทุ่งต่างๆกลายเป็นเมือง และในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เกิดสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรก เป็นสะพานข้ามทางรถไฟชื่อสะพานพระรามหก จนถึงรัชกาลที่ 7 ฝั่งกรุงธนบุรีกับพระนครได้ถูกเชื่อมโดยสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพุทธ)ทำให้ประชาชนเกิดความสะดวกขึ้นมามาก หลังจากนั้นเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สองในรัชกาลที่ 8 พระนครถูกโจมตีทางอากาศจากฝ่ายสัมพันธมิตรบ่อยครั้ง แต่พระบรมมหาราชวังปลอดภัยเนื่องจากทางเสรีไทยได้ระบุพิกัดพระบรมมหาราชวัง มิให้มีการยิงระเบิด เมื่อสิ้นสงครามแล้วพระนครเริ่มพัฒนาแบบไม่หยุด เกิดการรวมจังหวัดต่างๆเข้าเป็นกรุงเทพมหานคร และได้เป็นเขตปกครองพิเศษหนึ่งในสองแห่งของประเทศไทย

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553





ประวัติศาสตร์สมัยกรุงธนบุรี

การปกครองสมัยกรุงธนบุรียึดถือตามแบบอย่างอยุธยา สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ คือ
แบ่งส่วนราชการออกเป็น
1. การปกครองส่วนกลาง ประกอบด้วยอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง ได้แก่
- สมุหนายก เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน และดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ
- สมุหพระกลาโหม เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร และดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้
การบริหารราชการแบ่งออกเป็น 4 กรม เรียกว่า จตุสดมภ์ ประกอบด้วย
- กรมเวียง (นครบาล) มีหน้าที่ปกครองท้องที่ รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
- กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์) มีหน้าที่เกี่ยวกับราชสำนัก และช่วยพระมหากษัตริย์พิจารณาคดีความของ
ราษฎร จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ธรรมาธิกรณ์
- กรมคลัง (โกษาธิบดี) มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของแผ่นดิน และเก็บรักษาพระราชทรัพย์ที่ได้มาจาก
ส่วย อากร และบังคับบัญชากรมท่า ซี่งเกี่ยวข้องกับการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ
- กรมนา (เกษตราธิการ) มีหน้าที่ดูแลนาหลวง เก็บภาษี (หางข้าว)
2. การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งหัวเมืองออกเป็น
2.1 หัวเมืองชั้นใน (เมืองจัตวา) ได้แก่เมืองที่อยู่ใกล้ราชธานี เป็นเมืองเล็กๆมีขุนนางชั้นผู้น้อยเป็น
ผู้ปกครองเมือง แต่เรียกว่า จ่าเมือง เช่นเมืองพระประแดง เมืองนนทบุรี เมืองสามโคก
2.2 หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่เมืองซึ่งอยู่นอกราชธานีออกไป แบ่งตามขนาดและความสำคัญของเมือง
กำหนดฐานะเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี จัตวา โดยรูปแบบการบริหารราชการเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ฐานะของ
เมืองอาจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
2.3 หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองซึ่งทางกรุงธนบุรีจะเป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมือง ให้อิสระในการปกครอง แต่
ต้องปฏิบัติตามนโยบายของเมืองหลวง และต้องส่งต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง รวมทั้งเครื่องราชบรรณาการตามที
เมืองหลวงกำหนด เมืองประเทศราชสมัยกรุงธนบุรีได้แก่ เชียงใหม่ หลวงพระบาง เวียงจันทร์ จำปาศักดิ์
นครศรีธรรมราช ปัตตานี และเขมร
เศรษฐกิจสมัยกรุงธนบุรี
การเสียกรุงครั้งที่ 2 ก่อให้เกิดความเสียหายย่อยยับแก่เศรษฐกิจไทย นอกเหนือจากชาวไทยต้อง
บาดเจ็บล้มตายในสงครามกับพม่าหลายหมื่นคนแล้ว ผู้รอดชีวิตจำนวนมากต้องอพยพหนีตายในสภาพอดอยาก
ยากแค้น บางส่วนอพยพหนีเข้าป่า บางส่วนซัดเซพเนจรหาที่พักพิงใหม่ เมื่ออดอยากหนักเข้าจึงใช้วิธีปล้นสะดม
ฆ่าฟันกันเพื่อความอยู่รอด บ้างก็ล้มตายเพราะขาดอาหาร หรือไม่ก็ตายเพราะโรคระบาด พลเมืองบางส่วน
ก็หนีไปพึ่งพระบารมีพระเจ้ากรุงธนบุรี
หลังจากที่พระเจ้าตากสินได้ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้วได้ดำเนินวิธีการฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจ
ดังนี้
1. ทรงสละพระราชทรัพย์ซื้อข้าวสารจากต่างชาติที่นำมาขาย แล้วนำไปแจกจ่ายให้กับราษฎรเพื่อแก้
ปัญหาเฉพาะหน้า
2. ทรงเร่งรัดการทำนา เพื่อให้มีข้าวบริโภคเพียงพอ โดยการสนับสนุนให้ข้าราชการทำนาปรัง
3. ทรงส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ เพื่อนำรายได้มาใช้เกี่ยวกับการทำสงครามและบูรณปฏิสังขรณ์
วัดวาอาราม รายได้เกี่ยวกับการค้ากับต่างประเทศ ได้แก่ การเก็บภาษีเบิกร่องหรือค่าปากเรือ ภาษีขาเข้า - ภาษี
ขาออก
4. ทรงดำเนินนโยบายประหยัด โดยการใช้ของที่เป็นเครื่องอุปโภค บริโภค ให้คุ้มค่ามากที่สุด
แม้ว่าพระเจ้าตากสินจะพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ แก้ไขปัญหาความอดอยากของ
ประชาชน แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จนัก เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้
1.มีสงครามตลอดรัชกาล ทำให้ราษฎรไม่มีเวลาทำมาหากิน
2.เกิดภัยธรรมชาติ เช่น พ.ศ.2311 – พ.ศ.2312 ฝนแล้งติดต่อกัน ทำนาไม่ได้ผล ที่พอทำได้บ้างก็ถูก
หนูกัดกินข้าวในนาและยุ้งฉาง รวมทั้งทรัพย์สินสิ่งของทั้งปวงเสียหาย จึงมีรับสั่งให้ราษฎรดักหนูนามาส่ง
กรมพระนครบาล ทำให้เหตุการณ์สงบลงไปได้
3.ผู้คนแยกย้ายกระจัดกระจายกัน ยังไม่มารวมกันเป็นปึกแผ่น
4.พ่อค้าชาติต่างๆยังไม่กล้ามาลงทุน เพราะสภาพการณ์บ้านเมืองไม่น่าวางใจนัก อีกประการหนึ่งเกรง
จะถูกยึดทรัพย์สินเป็นของหลวง การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไม่ค่อยได้ผลนัก ทั้งนี้เพราะต้องทำควบคู่ไปกับการทำ
สงครามด้วย แม้กระนั้นพระเจ้าตากสินก็พยายามส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ โดยส่งเสริมการต่อเรือ
พาณิชย์ อันเป็นผลให้มีหนทางเก็บภาษีเข้าท้องพระคลัง เรือค้าขายจากเมืองจีนมาติดต่อบ่อยครั้ง ใน พ.ศ.2324
คณะทูตจากกรุงธนบุรีเดินทางไปเมืองกวางตุ้ง นำพระราชสาสน์ไปเจริญทางพระราชไมตรีและได้เจรจาเรื่อง
การค้าด้วย
การปรับปรุงฟื้นฟูประเทศด้านการศึกษาและศาสนาสมัยกรุงธนบุรี
การศึกษาสมัยกรุงธนบุรีมีศูนย์กลางอยู่ที่วัดกับวัง โดยวัดจะเป็นสถานศึกษาสำหรับราษฎรทั่วไป ซึ่ง
ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กผู้ชายเพราะต้องไปศึกษาและพักอยู่กับพระที่วัด วิชาที่เรียนได้แก่ การอ่าน เขียนภาษาไทย
ภาษาบาลี - สันสกฤต และวิชาเลข ซึ่งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนวังเป็นสถานศึกษาสำหรับบุตรของ
พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางผู้ใหญ่ วิชาที่เรียนส่วนใหญ่เน้นเรื่องการปกครอง วิชาการป้องกันตัว เพื่อ
เตรียมรับราชการต่อไปในอนาคต ส่วนวิชาชีพนั้นจะเป็นการศึกษากับพ่อแม่ คือ พ่อแม่ประกอบอาชีพอะไร ก็มัก
จะถ่ายทอดให้ลูกหลานทำต่อ เช่นวิชาแพทย์แผนโบราณ หรือวิชาช่างต่างๆ ส่วนเด็กผู้หญิงจะเรียนเพื่อเตรียมตัว
เป็นแม่บ้านแม่เรือนในอนาคต ดังนั้นการเรียนของเด็กผู้หญิงจะเรียนอยู่กับบ้าน มีแม่เป็นผู้สอน วิชาที่เรียน เช่น
การเย็บปักถักร้อย ทำกับข้าว การฝึกอบรมมารยาทของสตรี โดยพ่อแม่ไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือ การปรับปรุงฟื้นฟูประเทศด้านศาสนาสมัยกรุงธนบุรี พระพุทธศาสนาตกต่ำมากในช่วงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อพระเจ้าตากสินขึ้นครองราชย์
พระองค์ทรงตั้งพระทัยจะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอย่างแน่วแน่ พระราชภารกิจทางด้านศาสนา ได้แก่
1. นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ที่อยู่ตามที่ต่างๆให้มาประชุมกันที่วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆษิตาราม) แต่งตั้ง
เจ้าอาวาสวัดประดู่ขึ้นเป็นพระสังฆราช และตั้งพระราชาคณะให้ปกครองพระอารามต่างๆในเขตกรุงธนบุรี
2. ในคราวเสด็จไปปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช พระองค์เสด็จบำเพ็ญพระราชกุศลที่พระอาราม
วัดพระศรีมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช และให้เชิญพระไตรปิฎกขึ้นมายังกรุงธนบุรี เพื่อคัดลอกจารไว้ทุกหมวด
แล้วเชิญกลับไปนครศรีธรรมราชตามเดิม
3. เมื่อเสด็จหัวเมืองเหนือ พระเจ้าตากสินก็ทรงแต่งตั้งพระราชาคณะตามหัวเมืองต่างๆ และโปรดให้
รวบรวมพระไตรปิฎกทางหัวเมืองเหนือมาสอบชำระที่กรุงธนบุรี แล้วให้ส่งกลับไปใช้เป็นฉบับหลวง
4 .ทรงอุปถัมภ์พระภิกษุ สามเณร ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทางศาสนาเป็นประจำ
5. ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง เช่น วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทาราม)อันเป็นพระอารามหลวง และ
ประดิษฐานพระอัฐิสมเด็จพระพันปีหลวงกรมพระเทพามาตย์ นอกจากนี้เมื่อครั้งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
เป็นแม่ทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์ใน พ.ศ.2321 ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ในกรุงธนบุรีด้วย
สภาพสังคมไทยสมัยกรุงธนบุรี
สภาพสังคมไทยสมัยกรุงธนบุรี มีลักษณะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา คือมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น
1. พระมหากษัตริย์ เป็นชนชั้นสูงสุดในสังคม
2. พระบรมวงศานุวงศ์
3. ขุนนางข้าราชการ
4. ไพร่ เป็นชนชั้นที่มีมากที่สุดในสังคม
5. ทาส เป็นชนชั้นต่ำสุดในสังคม ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายเงินมาก
สังคมไทยสมัยกรุงธนบุรีถูกควบคุมอย่างเข้มงวดมาก ด้วยเป็นเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในระหว่างอันตราย
เพิ่งกอบกู้เอกราชคืนมาได้ ทั้งประสบความเสียหายอย่างใหญ่หลวง ผู้คนหลบหนีเข้าป่าอย่างมากมาย ถูก
กวาดต้อนไปพม่าก็มีมาก นอกนั้นต่างก็พยายามเอาตัวรอดโดยการตั้งเป็นก๊ก เป็นเหล่า ครั้นกู้กรุงศรีอยุธยา
กลับคืนมาได้ก็ยังต้องระมัดระวังภัยจากพม่าที่จะมาโจมตีอีก การควบคุมกำลังคนจึงมีความสำคัญมาก เพราะถ้ามี
ผู้คนน้อย ก็จะทำให้พ่ายแพ้แก่ข้าศึกศัตรูได้ ผู้คนในกรุงธนบุรีถูกควบคุมโดยการสักเลก ผู้ที่ถูกสักเลกทั้งหลาย
เรียกกันว่าไพร่หลวง ซึ่งมีหน้าที่รับราชการปีละ 6 เดือน โดยมาทำราชการหนึ่งเดือน และหยุดพักผ่อนไปทำมา
หากินหนึ่งเดือนสลับกันไป ซึ่งสมัยก่อนเรียกว่าเข้าเดือนออกเดือน มีไพร่หลวงอีกพวกหนึ่งเรียกว่าไพร่ส่วย คือ
เป็นไพร่ที่ส่งส่วยเป็นสิ่งของหรือเงินแทนการรับใช้แรงงานแก่ทางราชการ ส่วนไพร่สมเป็นไพร่ที่สังกัดมูลนาย
รับใช้แต่เจ้านายของตนเอง เพราะพวกนี้ถูกแยกเป็นอีกพวกหนึ่งเด็ดขาดไปเลย แต่บางครั้งไพร่สมก็ถูกแปลงมา
เป็นไพร่หลวงได้เหมือนกัน การสักเลกก็เพื่อเป็นการลงทะเบียนชายฉกรรจ์เป็นไพร่หลวงเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยง
และหลบหนี
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยกรุงธนบุรีมีลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือการป้องกันประเทศจาก
การรุกรานของต่างชาติ และการขยายอำนาจไปยังอาณาจักรข้างเคียง เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงแก่บ้านเมือง
ประเทศที่มี ความสัมพันธ์กับไทยสมัยกรุงธนบุรี คือ พม่า ลาว เขมร และจีน
1. ความสัมพันธ์กับประเทศพม่า เป็นไปในลักษณะของความขัดแย้งตลอดรัชกาล เริ่มจากการรบ
ครั้งแรกที่ค่ายโพธิ์สามต้น ซึ่งไทยเป็นฝ่ายชนะ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงกอบกู้เอกราชได้สำเร็จแล้วก็ตาม แต่
พม่าก็ยังไม่หยุดยั้งที่จะทำลายอาณาจักรไทยที่ตั้งขึ้นใหม่ ในสมัยกรุงธนบุรีมีการทำสงครามกับพม่า 10 ครั้ง
ผลัดกันแพ้ชนะ สงครามครั้งสำคัญที่สุด ได้แก่ ศึกอะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ.2318 ไม่มีฝ่ายใดชนะ
โดยเด็ดขาด
2. ความสัมพันธ์กับประเทศลาว ในสมัยกรุงธนบุรีมีการทำสงครามกับลาว2 ครั้ง คือศึกจำปาศักดิ์
ปี พ.ศ.2319 และศึกเวียงจันทร์ปี พ.ศ.2321 ผลของสงครามทั้ง 2 ครั้ง ไทยเป็นฝ่ายชนะ ได้ลาวเป็นประเทศราช
และในคราวศึกเวียงจันทร์ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกแม่ทัพไทย ได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
(พระแก้วมรกต) และพระบาง จากเวียงจันทร์มากรุงธนบุรีด้วย
3. ความสัมพันธ์กับประเทศกัมพูชา เขมรเคยเป็นประเทศราชของไทยมาแต่สมัยอยุธยา หลังจาก
กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี พ.ศ.2310แล้วพระเจ้าตากสินกู้เอกราชได้สำเร็จ ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์
เขมรไม่ยอมส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายอ้างว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไม่ใช่เชื้อพระวงศ์พระเจ้า
แผ่นดินกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง) และพระยาอนุชิต
ราชา (บุญมา) นำทัพไปตีเขมรใน พ.ศ.2312 แต่ไม่สำเร็จเพราะเขมรแกล้งปล่อยข่าวว่าสมเด็จพระเจ้า
ตากสินมหาราชเสด็จสวรรคต พระยาอภัยรณฤทธิ์และพระยาอนุชิตราชาจึงยกทัพกลับ ต่อมาปี พ.ศ.2314
โปรดให้พระยาจักรียกทัพไปตีเขมรอีก และได้เขมรกลับมาเป็นประเทศราชของไทย
4.ความสัมพันธ์กับประเทศจีน สมัยกรุงธนบุรีเป็นความพยายามของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่จะ
ให้จีนยอมรับฐานะของพระองค์ และเพื่อให้ไทยได้เปิดค้าขายกับจีน เป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจและทำให้ฐานะของ
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมั่นคงขึ้นด้วย เหตุการณ์ปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ในช่วงปลายรัชกาล สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทรง
หมกมุ่นในการนั่งวิปัสนากรรมฐาน จนเข้าพระทัยว่าทรงบรรลุโสดาบันแล้ว ทรงบังคับให้พระสงฆ์มากราบไหว้
พระองค์ หากไม่ปฏิบัติตามก็ทรงลงโทษอย่างหนัก สร้างความเดือดร้อนไปทั่ว จนเกิดจราจลขึ้น พระยาสรรค์ก่อ
การกบฏตั้งตนเป็นใหญ่ บังคับให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชผนวช สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทราบข่าว
จึงยกทัพกลับจากการไปตีเขมร และได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์เมื่อ วันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325
ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก