ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
ประวัติย่อ
เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2425 เวลา 7.20 น. ในเรือลอยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ตำบลบ้านม้า อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง ปราโมช โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เกิดระหว่างที่พระองค์เจ้าคำรบ เดินทางไปรับตำแหน่งที่มณฑลพิษณุโลก หลังจากนั้นไม่นาน สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระพันปีหลวง ได้เสด็จประพาสมณฑลพิษณุโลก พระองค์เจ้าคำรบได้ปลูกพลับพลารับเสด็จและทรงอุ้ม ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เข้าเฝ้าด้วย ปรากฏว่าดิ้นยืดแขนยืดขาจึงทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อว่า “คึกฤทธิ์”
เริ่มเรียนที่โรงเรียนวังหลัง และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จนสอบได้ชั้นมัธยมปีที่ 7 จากนั้นไปศึกษาต่อที่
เริ่มทำงานที่กรมสรรพากร และถูกเกณฑ์ทหารตอนสงครามอินโดจีน ได้ยศสิบตรี จากนั้นไปทำงานธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ลำปาง และกลับมาทำงานธนาคารแห่งประเทศไทยที่กรุงเทพฯ ได้ร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองชื่อ “ก้าวหน้า” เมื่อพ.ศ. 2488 จากนั้นนายควง อภัยวงศ์ ชวนไปก่อตั้งพรรคใหม่ชื่อ “ประชาธิปัตย์”โดยนายควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรค ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นเลขาธิการพรรค อยู่สู้ในสภา 2 ปี ได้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลชุดนายควง อภัยวงศ์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2490 พลโทผิน ชุณหะวัณ ทำรัฐประหารแต่ยังไม่พร้อมจะจัดตั้งรัฐบาลของตนเองจึงไปชวนนายควง อภัยวงศ์ กลับมาเป็นนายยกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีลอย สั่งราชการกระทรวงการคลัง แต่อยู่ได้เพียง 5 เดือน จอมพลป.พิบูลสงคราม ก็ขึ้นบริหารประเทศแทน
วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2491 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ประกาศลาออก จากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรกลางสภา และลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์เพราะคัดค้านการขึ้นเงินเดิอนสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ในขณะที่สมาชิกส่วนใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์สมยอมกับรัฐบาล จากนั้นได้ยุติบทบาททางกรเมืองโดยตรงอยู่นานจนหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จึงจัดตั้งและเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง “กิจสังคม” และจากการเลือกตั้งเมื่อพ.ศ. 2518 แม้พรรคกิจสังคมจะได้รับเลือกมาเพียง 18 คน แต่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชก็สามารถเป็นแกนกลางในการจัดตั้งรัฐบาลผสม และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 12 สมีนาคม พ.ศ.2518 – 20 เมษายน 2519
ในส่วนที่เกี่ยวกับการประพันธ์ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เริ่มเขียนบทสักวา บทความ และสารคดี ลงในหนังสือพิมพ์ “เกียรติศักดิ์” เป็นประจำ ตั้งแต่ช่วงเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรพ.ศ. 2489 เพราะสละ ลิขิตกุลบรรณาธิการยุคนั้นผู้สนิทคุ้นเคยขอร้องให้ช่วยเขียน และได้กลายเป็นนักเขียนจริงจังเมื่อออกหนังสือพิมพ์ “สยามรัฐ” รายวันของตนเอง ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2493 เป็นตันมา โดยระยะแรก ถูกบรรณาธิการคือ สละ ลิขิตกุล ของให้เขียนวันละ 3 เรื่อง มีเรื่องยาวประจำคือ สามก๊กฉบับ นายทุน บทบรรณาธิการ และเก็บเล็กผสมน้อย ในระยะต่อมาก็มีงานเขียนอื่นๆ อีกมาก รวมทุกประเภทมากกว่าร้อยเรื่องและล้วนได้รับความนิยมจากผู้อ่านอย่างกว้างขวางทั้งสิ้นนวนิยายเรื่อง สี่แผ่นดิน กับ ไผ่แดง ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ หลายชีวิต แปลเป็นภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงได้ประกาศให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เมื่อ พ.ศ. 2528
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช สมรสกับ ม.ร.ว. พักตร์พริ้ง ทองใหญ่ มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ ม.ล.รองฤทธิ์ และ ม.ล.วิสุมิตรา ปราโมช ต่อมาแม้จะหย่าขาดจากกัน แต่ต่างก็ไม่สมรสใหม่และไม่ได้โกรธเคืองกัน โดย ม.ร.ว.พักตร์พริ้งอยู่กับลูกชายคือ ม.ล.รองฤทธิ์ ที่บ้านในซอยสวนพลูติดกับบ้านของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และยังไปมาดูแลทุกข์สุขกันเสมอ
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นผู้มีความรู้ความสามารถหลายบทบาท ทั้งในฐานะนักการเมือง นักการธนาคาร นักพูด นักเขียน ศิลปินระดับที่เคยร่วมแสดงภาพยนตร์กับฮอลลีวู้ด และเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งคณะโขนนักศึกษาธรรมศาสตร์ ฯลฯ จนได้รับยกย่องเป็นปราชญ์ของเมืองไทยที่ชาวต่างประเทศยอมรับกว้างขวาง และได้รับพระราชทานยศกรณีพิเศษเป็นพลตรี แต่ที่นับว่าประสบความสำเร็จสูงสุดและได้กระทำอย่างต่อเนื่องมากที่สุดคือ งานประพันธ์ แม้ในระยะหลังเมื่อมีอายุมากแบ้ว สุขภาพไม่แข็งแรงนักก็ยังเขียนบทความในหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน อยู่เป็นประจำ รวมทั้งนวนิยายเรื่องสุดท้ายคือ “กาเหว่าที่บางเพลง”
ผลงานรวมเล่ม
นวนิยาย
รวมเรื่องสั้น
- มอม
- หลายชีวิต
- สารคดี
- ยิว
- เจ้าโลก
- คนของโลก
- ชมสวน
- ธรรมคดี
- น้ำพริก
- ข้อคิดเรื่อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย
- ถกเขมร
- คนรักหมา
- ตลาดนัด
- นิกายเซน
- วัยรุ่น
- อโรคยา
เกียรติยศที่ได้รับ
- พ.ศ. 2531 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศจากสิบตรี เป็นพลตรี (ทหารราชองครักษ์พิเศษ)
- ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ประจำ พ.ศ. 2528
ปัจจุบัน
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ป่วยด้วยโรคหัวใจจนต้องเข้ารับการผ่าตัดที่สหรัฐอเมริกา เมื่อพ.ศ. 2530 และเข้ารับการรักษาพยาบาลเรื่อยมาเป็นระยะๆ จนกระทั้งถึงแก่อัญกรรม ณ โรงพยาบาลสมิติเวช กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2538
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น