วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
















































>>> มือกลอง Choi Min Hwan (น้องเล็ก) ♥ วันเกิด: 11 พฤศจิกา 1992 วันเปเปโร่ (ขนมป๊อกกี้เกาหลี) เวลากินเปเปโร่ กรุณาคิดถึงผมด้วยนะครับ~ อิๆ ♥ อายุ: 16 ผมอยากเข้าม.ปลายแล้ว~ ♥ กรุ๊ปเลือด: A ผู้เอาแต่ใจ ♥ ส่วนสูง: 171 ซม. ♥ น้ำหนัก: 55 กิโลกรัม ♥ โรงเรียน: ปีสาม YangHwa Junior High School (ม.3) ♥ งานอดิเรก: แต่งเพลง ♥ ครอบครัว: พ่อแม่, ลูกพี่ลูกน้องที่อ่อนกว่า, MinHwan ♥ ความสามารถพิเศษ: กลอง, กินไก่! ♥ ชื่อเล่น: SahOhJung ♥ ข้อดี: น่ารัก ♥ ตำแหน่งในวง: มือกลอง - กระดูกสันหลังของ F.T Island! ♥ สิ่งที่ชอบ: ไก่!!! ผมอยากถ่ายโฆษณาไก่ในเร็ววันจังเลย~ อิๆ ♥คติ: ไม่มีวันพรุ่งนี้สำหรับผม!? ♥ถึงคนรักในอนาคต: แผนสาวที่น่ารักของผมครับ กรุณาดูแลสุขภาพด้วยนะ ผมรักคุณ! (น้องคนนี้ก็จะกินไก่อย่างเดียวเลย ระวังไข้หวัดนกนะน้องนะ~)


>>> มือเบส Lee Jae Jin ♥ วันเกิด: 17 ธันวา 1991 ♥ กรุ๊ปเลือด: A ♥ ส่วนสูง: 177 ซม. ♥ น้ำหนัก: 58 กิโลกรัม ♥ โรงเรียน: ปีหนึ่ง SunYoo High School (ม.4) ♥ งานอดิเรก: เซิร์ฟเนต, ถามคำถามอาจารย์สอนดนตรี & อาบแดด ♥ ครอบครัว: พ่อแม่, พี่สาว, JaeJin ♥ ความสามารถพิเศษ: เบส, ฟังเพลง (ฟังเพลงมันเป็นความสามารถพิเศษตรงไหนคะน้อง -*-?) ♥ ชื่อเล่น: JahJinnie ♥ ข้อดี: ริมฝีปาก ♥ ตำแหน่งในวง: มือเบส ♥ สิ่งที่ชอบ: เงิน...อาหาร....ดนตรี? อิๆๆ~ ♥ คติ: ทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด! ♥ ถึงคนรักในอนาคต: Saranghae~

>>> ร้องเสริม และมื่อเบส Oh Won Bin ♥ วันเกิด: 26 มีนา 1990 ♥ กรุ๊ปเลือด: O ♥ ส่วนสูง: 180 ซม. ♥ น้ำหนัก: 63 กิโลกรัม ♥ โรงเรียน: ปีสอง SungJiGo School (ม.5) ♥ งานอดิเรก: กีฬาทุกชนิด, แต่งเพลง ♥ ครอบครัว: พ่อแม่, WonBin ♥ ความสามารถพิเศษ: martial arts (ภาษาไทยเรียกอะไรแล้วอ่ะ พวกกีฬาต่อสู้อ่ะ ประมาณเทควันโด) ♥ ชื่อเล่น: ... (ประมาณวอนบินเอ๋อ) ♥ ข้อดี: ตายิ้ม ♥ ตำแหน่งในวง: แร๊พ, ร้องตำแหน่งที่สอง, กีต้าร์ที่สอง! ผมมีพรสวรรค์มากเลยเนอะ ^o^;; ขอโทษครับ! ♥ สิ่งที่ชอบ: เล่นเกมส์, นอน & กิน ~ ชอบหมดเลย ^^ ♥ คติ: ไม่มี แต่ผมจะคิดดูนะ!! ♥ ถึงคนรักในอนาคต: เมื่อไหร่คุณจะมาปรากฎตัวตรงหน้าผมซะที? ผมเหงาเหลือเกิน~~ (แอบขำชื่อน้องเล็กๆ ชื่อเหมือนเฮียวอนบินที่ไปเกณฑ์ทหารเพิ่งปลดประจำการ รึเปล่า? อ่านภาษาอังกฤษแล้วเป็น โอ้! วอนบิน!!)

>>> นักร้องนำ Lee Hong Ki ♥ วันเกิด: 2 มีนา 1990, 6 กุมภา (ปฏิทินจันทรคติ <<< เค้าเรียกแบบนี้รึเปล่า?) ♥ กรุ๊ปเลือด: AB กรุณาอย่าเรียกผมว่า "โรคจิต!" ผมไม่ใช่แบบนั้นนะ! ♥ ส่วนสูง:176 ซม. ♥ น้ำหนัก: 60 กิโลกรัม ♥ โรงเรียน: ปีสอง SungJiGo School (ม.5) ♥ งานอดิเรก: ร้องเพลง, ฟังเพลง, ฟุตบอล, เกมส์ (บอร์ด&อินเตอร์เนต), ทำอาหาร ♥ ครอบครัว: พ่อแม่, น้องสาว, HongKi ♥ ความสามารถพิเศษ: ร้องเพลง, ฟุตบอล ♥ ชื่อเล่น:..... (ภาษาเกาหลี...อะไรไม่รู้ แต่แปลว่า เด็กดื้อผู้น่ารัก) ♥ ข้อดี: ตายิ้ม ♥ ตำแหน่งในวง:ร้องนำ..อืม...ผมเป็นนักสร้างออร่าด้วย ♥ สิ่งที่ชอบ: นอกจากเครื่องเทศผมชอบหมดเลย!!! อะไรก็ได้!! & ผมชอบของที่ทำให้ใจเต้นแรงด้วย (แล้วอะไรล่ะที่ทำให้ใจเต้นแรงน่ะ อีน้อง?) ♥ คติ: มีด้วยเหรอ? ♥ ถึงคนรักในอนาคต: พยายามให้ดีที่สุด! ถ้าผมทำไม่ดี ช่วยเข้าใจและให้อภัยผมด้วย (เค้านินทาว่า HongKi เป็นเครื่องตดด้วย ฮา~)



>>> เริ่มจากหัวหน้าวงแสนโรแมนติก Choi Jong Hun (มือเบส) ♥ วันเกิด:7 มีนา 1990, โซล ♥ อายุ:18 ปี แต่ใครๆคิดว่าผมโตกว่าอายุ ♥ กรุ๊ปเลือด: A แต่ผมไม่ใช่พวกเห็นแก่ตัวนะ ส่วนใหญ่เค้าบอกว่าคนกรุ๊ป B เป็นแบบนั้น ♥ ส่วนสูง: 178 ซม. ♥ น้ำหนัก: 60 กิโลกรัม ♥ โรงเรียน: ปีสอง ShinDongShinJung BoSan School (ม.5) ♥ งานอดิเรก: เขียนเพลง, อินเตอร์เนต ♥ ครอบครัว: พ่อแม่, JongHun (เป็นลูกคนเดียวนั่นเอง) ♥ ความสามารถพิเศษ: เปียโน ♥ ชื่อเล่น: SexyJongHun ♥ ข้อดี: จมูก ♥ ตำแหน่งในวง: หัวหน้าวง เหมือนจะเป็นหน้าที่ที่ยากนะ ใช่มั้ย? ♥ สิ่งที่ชอบ: อาหาร?? แหะๆ~ & ดนตรี - ที่รัก ♥ คติ: คิดและทำ (มุ่งหน้าไป) ผมไม่ค่อยมั่นใจนะ ขอโทษ! ♥ ถึงคนรักในอนาคต: ผมจะซื้อของให้คุณ ได้มั้ย? คุณอยากได้อะไร? ^^;"











วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และปรินิพพาน

ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7
ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง 3 คราวคือ
1. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติ ที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี

2. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

3. หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ 45 ปี พระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย

นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก
ป ร ะ วั ติ ค ว า ม เ ป็ น ม า ข อ ง วั น วิ ส า ข บู ช า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย
วันวิสาขบูชานี้ ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่า คงจะได้แบบอย่าง มาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่าง มโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกาในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่
สมัยสุโขทัยนั้น ประเทศไทยกับประเทศลังกามีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกันมากเพราะพระสงฆ์ชาวลังกา ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย
ในหนังสือนางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้ พอสรุปใจความได้ว่า " เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุก หมู่บ้านทุกตำบล ต่างช่วยกันทำความสะอาด ประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษ ด้วยดอกไม้ของหอม จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็น ก็เสด็จพระราช ดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ไปยังพระ อารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน
ส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาต แด่พระภิกษุ สามเณรบริจาคทรัพย์แจกเป็นทานแก่คนยากจน คนกำพร้า คนอนาถา คนแก่ คนพิการ บางพวกก็ชวนกันสละทรัพย์ ปล่อยสัตว์ 4 เท้า 2 เท้า และเต่า ปลา เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ โดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุ ยืนยาวต่อไป "
ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้วยอำนาจอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ เข้าครอบงำประชาชนคนไทย และมีอิทธิพลสูงกว่าอำนาจของพระพุทธศาสนา จึงไม่ปรากฎหลักฐานว่า ได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2360) ทรงดำริกับ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟู การประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่ โดย สมเด็จพระสังฆราช ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรกในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อมีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศล เป็นหนทางเจริญอายุ และอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และอุปัทวันตรายต่างๆ โดยทั่วหน้ากัน
ฉะนั้น การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน
การจัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุคทุกสมัย คงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา พ.ศ.2500 ซึ่งทางราชการเรียกว่างาน " ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ " ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 18 พฤษภาคม รวม 7 วัน ได้จัดงานส่วนใหญ่ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ส่วนสถานที่ราชการ และวัดอารามต่างๆ ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระ ราชอาณาจักร ประชาชนถือศีล 5 หรือศีล 8 ตามศรัทธาตลอดเวลา 7 วัน มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์รวม 2,500 รูป ประชาชน งดการฆ่าสัตว์ และงดการดื่มสุรา ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 14 พฤษภาคม รวม 3 วัน มีการก่อสร้าง พุทธมณฑล จัดภัตตาหาร เลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ 2,500 รูป ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชน วันละ 200,000 คน เป็นเวลา 3 วัน ออกกฎหมาย สงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้น รวมถึงการฆ่าสัตว์ และจับสัตว์ในบริเวณวัด และหน้าวัดด้วย และได้มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ อย่างพร้อมเพรียงกัน เป็นกรณีพิเศษ ในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย
แบบทดสอบสมัยอยุธยา


การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา


กรุงศรีอยุธยาปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรง เป็นพระประมุข ที่มีอำนาจสูงสุดใน การปกครอง แผ่นดิน ทรงปกครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม พระองค์ทรง มอบหมายให้พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางปกครอง ดูแลเมือง ลูกหลวง หลานหลวง ต่างพระ เนตรพระกรรณ ส่วนเมืองประเทศราชมีเจ้านายใน ราชวงศ์เก่าปกครอง ขึ้นตรงต่อเมืองราชธานี ศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๓๑) ทรงปฏิรูปการปกครอง ลดทอน อำนาจหัวเมือง ทรงแยกการบริหาร ราชการแผ่นดิน ออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายทหาร มีสมุหกลาโหม เป็นผู้รับผิดชอบ ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบ ในฝ่ายพลเรือนนั้นยังแบ่งออกเป็น ๔ กรมหรือ จตุสดมภ์ คือ สี่เสาหลัก ได้แก่ กรมเวียงหรือนครบาล ทำหน้าที่ปกครองดูแลบ้านเมือง กรมวังหรือธรรมมาธิกรณ์ ทำหน้าที่ดูแล กิจการพระราชวัง กรมคลังหรือโกษาธิบดี ทำหน้าที่ดูแลด้านการค้าและการต่างประเทศ กรมนาหรือเกษตราธิการ ทำหน้าที่ดูแลเรื่องเกษตรกรรม ซึ่งรูปแบบการปกครองนี้ ใช้สืบต่อมา ตลอด สมัยอยุธยา

ระเบียบการปกครองสมัยอยุธยาการจัดระเบียบการปกครองแบ่งออกเป็น ๓ สมัย ๑. สมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๙๑) ๒. สมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ.๑๙๙๑-๒๒๓๑) ๓. สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ. ๒๒๓๑-๒๓๑๐)
ระบบการปกครองของกรุงศรีอยุธยาตอนต้น สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ระบบการปกครองของกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ได้รับแบบอย่างมาจากสุโขทัย และจากขอมนำมาปรับปรุงใช้ ลักษณะการปกครองสมัยนั้นแบ่งเป็น
๑. การปกครองส่วนกลาง คือการปกครองภายในราชธานี ซึ่งได้รับอิทธิพลจากขอมแบบแผนที่ได้รับมาเรียกว่า “จตุสดมภ์” ซึ่งประกอบด้วย ๑.๑ เมืองหรือเวียง มีขุนเมือง เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่ปกครองดูแลท้องที่และราษฎร ดูแลความสงบเรียบร้อย ปราบปรามโจรผู้ร้าย และลงโทษผู้กระทำความผิด ๑.๒ วัง มีขุนวัง เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่เกี่ยวกับงานในราชสำนักและพระราชพิธีต่างๆ พิจารณาพิพากษาคดีต่างของราษฎรด้วย ๑.๓ คลัง มีขุนคลังเป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่เก็บและรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินอันได้จากอากร นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการต่างประเทศอีกด้วย ๑.๔ นา มีขุนนา เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่ดูแลการทำไร่นา รักษาเสบียงอาหารสำหรับทหาร ออกสิทธิที่นา และมีหน้าที่เก็บหางข้าวขึ้นฉางหลวง คือใครทำนาได้ก็ต้องแลกเอาเข้ามาส่งฉางหลวง

๒. การปกครองส่วนภูมิภาค คือการปกครองพระราชอาณาเขต กรุงศรีอยุธยาได้แบบแผนมาจากครั้งกรุงสุโขทัย โดยการแบ่งหัวเมืองออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ ๒.๑ หัวเมืองชั้นใน มีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีเมืองป้อมปราการด่านชั้นในสำหรับป้องกันราชธานีทั้ง ๔ ทิศ เรียกว่า เมืองลูกหลวง ซึ่งอยู่ห่างจากราชธานี เป็นระยะทางเดิน ๒ วัน ทิศเหนือ คือ เมืองลพบุรี ทิศใต้ คือ เมืองพระประแดง ทิศตะวันออก คือ เมืองนครนายก ทิศตะวันตก คือ เมืองสุพรรณบุรี นอกจากนั้น ยังมีหัวเมืองชั้นในตามรายทางที่อยู่ใกล้ๆ กับเมืองลูกหลวง เช่น เมืองปราจีน เมืองพระรถ(เมืองพนัสนิคม) เมืองชลบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี เป็นต้น และถ้าเมืองใดเป็นเมืองสำคัญก็จะส่งเจ้านายจาก ราชวงศ์ออกไปครอง
๒.๒ เมืองพระยามหานคร หรือหัวเมืองชั้นนอก คือ เมืองใหญ่ที่อยู่ห่างจากหัวเมืองชั้นในออกไป ทิศตะวันออก คือ เมืองโคราชบุรี(นครราชสีมา) เมืองจันทบุรี ทิศใต้ คือ เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง เมืองสงขลา และเมืองถลาง ทิศตะวันตก คือ เมืองตะนาวศรี เมืองทะวาย เมืองเชียงกราน
๒.๓ เมืองประเทศราช หรือเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) สันนิษฐานว่า คงจะมีแต่เมืองมะละกากับเมืองยะโฮร์ทางแหลมมลายูเท่านั้น ส่วนกัมพูชานั้นต้องปราบกันอีกหลายครั้ง จึงจะได้ไว้ในครอบครอง และในระยะหลังต่อมาสุโขทัยก็ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาด้วย เมืองประเทศราช มีเจ้านายของตนปกครองตามจารีตประเพณีของตน แต่ต้องกราบบังคมทูลให้กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาแต่งตั้ง
ระบบการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สาเหตุที่ทรงแก้ไขใหม่ เพราะ ๑. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เคยเสด็จไปครองเมืองพิษณุโลกจึงทำให้พระองค์ทรงรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีและการปกครองของกรุงสุโขทัยเป็นอย่างดี ว่าส่วนใดดีส่วนใดบกพร่อง ๒. อาณาจักรสุโขทัยได้ตกมาเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา และกรุงศรีอยุธยาตีได้นครธมราชธานีขอมใน พ.ศ. ๑๙๗๖ และในครั้งนั้น กรุงศรีอยุธยาได้ข้าราชการชาวสุโขทัยจำนวนมาก ชาวกัมพูชา พราหมณ์ เจ้านาย ท้าวพระยา ผู้ชำนาญทางการปกครอง มาไว้ในกรุงศรีอยุธยาจำนวนมาก จึงเป็นเหตุให้มีการปฏิรูปการปกครองขึ้น โดยเลือกเอาส่วนที่ดีของการปกครองกรุงสุโขทัยและขอมมาปรับปรุงใช้ในกรุงศรีอยุธยา
ลักษณะการปกครองสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ การปฏิรูปการปกครองใหม่ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และต่อมาในสมัยพระเพทราชา นั้น ได้ใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศสืบมา จนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จะแก้ไขปัญหาในบางสมัย ก็เป็นแต่แก้พลความ ส่วนตัวหลักนั้นยังคงยึดของเดิมอยู่ การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลางมีดังนี้

การปกครองส่วนกลาง แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ๑. ฝ่ายทหาร มีสมุหกลาโหม เป็นผู้บังคับบัญชา ตำแหน่งเทียบเท่าอัครมหาเสนาบดี มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยามหาเสนาบดี ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับราชการทหาร
๒. ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับงานราชการพลเรือนทั่วๆ ไป มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ มีเสนาบดีจตุสดมภ์เป็นเจ้ากระทรวง ตำแหน่งรองลงมาจากสมุหนายก ทำหน้าที่เช่นเดียวกับที่เคยปฏิบัติมา เพียงแต่เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ดังนี้ กรมเมือง เปลี่ยนเป็น นครบาล กรมวัง เปลี่ยนเป็น ธรรมาธิกรณ์ กรมคลัง เปลี่ยนเป็น โกษาธิบดี กรมนา เปลี่ยนเป็น เกษตราธิการ ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนี้ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การปกครองของไทย ที่แบ่งราชการทหารกับราชการพลเรือนออกจากกัน แต่ในยามสงครามทั้งสองฝ่ายก็จะรวมพลังกันป้องกันประเทศ ถ้าเป็นยามที่บ้านเมืองสงบ เมื่อมีราชการทหารเกิดขึ้น สมุหกลาโหมก็จะทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม และนำมติที่ประชุมขึ้นกราบบังคมทูลต่อองค์พระเจ้าอยู่หัว เมื่อมีพระบรมราชโองการอย่างใด เสนาบดีกรมวัง ก็จะรับสั่งมายังเจ้าพระยามหาเสนาบดีสมุหกลาโหม จากนั้นก็จะสั่งการไปยังกรมทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถ้าเป็นงานเกี่ยวกับราชการพลเรือน เจ้าพระยาจักรีองครักษ์ประธานในที่ประชุมและนำมติในที่ประชุมขึ้นกราบบังคมทูล เมื่อมีพระบรมราชโองการลงมาอย่างใด ก็จะสั่งไปยังเสนาบดีจตุสดมภ์ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆ

การปกครองส่วนภูมิภาค การปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนั้นได้วางหลักการปกครองหัวเมืองต่างๆ ให้เป็นแบบเดียวกันกับราชธานี โดยจัดให้มีจตุสดมภ์ตามหัวเมืองต่างๆและได้โปรดให้ยกเลิกเมืองลูกหลวงพร้อมทั้งขยายเขตการปกครองของราชธานีให้กว้างขวางออกไปโดยรอบ การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งตามเขตการปกครองออกเป็น
๑.หัวเมืองชั้นใน การปกครองหัวเมืองชั้นใน ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้กำหนดให้เมืองต่างๆ ที่อยู่ในวงราชธานี ซึ่งได้แก่ มณฑลราชบุรี มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ และมณฑลปราจีนบุรี เป็นเมืองชั้นจัตวา มีผู้รั้งและกรมการชั้นผู้น้อย(จ่าเมืองแพร่งและศุภมาตรา) เป็นพนักงานปกครองขึ้นอยู่กับเจ้ากระทรวงในราชธานี ๒.หัวเมืองชั้นนอก คือ หัวเมืองที่อยู่นอกราชธานีออกไป และได้จัดเป็นหัวเมืองชั้นโท ตรี ตามลำดับความสำคัญ ผู้ปกครองเมืองได้แก่ พระราชวงศ์หรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ที่พระมหากษัตริย์แต่งตั้งให้ออกไปครองเมือง มีอำนาจสิทธิ์ขาดแทนพระองค์ทุกประการ และมีกรมการพนักงานปกครองชั้นรองลงมาจากเจ้าเมือง คือ กรมการตำแหน่งพล(สมุหกลาโหม) กรมการตำแหน่งมหาดไทย(สมุหนายก) ตำแหน่งจตุสดมภ์ ทำหน้าที่เดียวกับในเมืองหลวง ก. หัวเมืองชั้นนอก เดิมทีเพียง ๒ เมืองคือ พิษณุโลก และนครศรีธรรมราช ต่อมาในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ยกเมืองนครราชสีมาเป็นหัวเมืองชั้นเอกอีกเมืองหนึ่ง ข. หัวเมืองชั้นโท มี ๖ เมือง คือ สวรรคโลก นครราชสีมา สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ ตะนาวศรี ค. หัวเมืองชั้นตรี มี ๗ เมือง คือ พิชัย พิจิตร นครสวรรค์ จันทรบูรณ์ ไชยา ชุมพร พัทลุง ง. หัวเมืองชั้นจัตวา มี ๓๐ เมือง เช่น ไชยบาดาล ระยอง ชลบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ บางละมุง นนทบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ฯลฯ ๓. เมืองประเทศราช เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลออกไปถึงชายแดนติดต่อกับประเทศอื่น ที่มีภาษาต่างไปจากประเทศไทย เช่น ทวาย ตะนาวศรี มะละกา เป็นต้น เมืองเหล่านี้ มีเจ้านายของเขาปกครองกันเอง เพียงแต่ใครจะเป็นเจ้าเมืองต้องกราบทูลให้พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาทรงทราบก่อน และจะทรงแต่งตั้งให้ครองเมือง มีอำนาจสิทธิ์ขาดในเมืองของตนทุกประการ แต่ต้องถวายต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง และเครื่องราชบรรณาการมีกำหนด ๓ ปี ต่อครั้ง และถ้ากรุงศรีอยุธยาเกิดศึกสงคราม เมืองประเทศราชต้องส่งกำลังมาช่วย
การปกครองท้องถิ่น แบ่งเป็น ๑. บ้าน (หมู่บ้าน) มีผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าเมืองให้เป็นผู้ปกครอง ๒. ตำบล คือบ้านหลายๆ บ้าน รวมกัน มีกำนันเป็นหัวหน้าปกครอง มีบรรดาศักดิ์เป็น "พัน" ๓. แขวง คือตำบลหลายๆ ตำบลรวมกัน (เทียบได้กับอำเภอในปัจจุบัน) มีหมื่นแขวงเป็นหัวหน้าปกครอง ๔. เมือง คือ แขวงหลายๆ แขวงรวมกัน มีผู้รั้งปกครอง ถ้าเมืองเป็นเมืองชั้นจัตวา และมีเจ้าเมืองปกครอง ถ้าเมืองนั้นๆ เป็นเมืองชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี
ระบบการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมัยพระเพทราชาถึงสิ้นกรุงศรีอยุธยา ลักษณะการปกครองกรุงศรีอยุธยาในระยะนี้ ยังคงใช้ระบบการปกครองสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นหลัก จนกระทั่งถึงสมัยพระเพทราชา ซึ่งเป็นสมัยที่บ้านเมืองไม่สงบเกิดกบฏขึ้นบ่อยครั้ง เพราะทหารมีอำนาจมากในขณะนั้น และอำนาจทางทหารตกอยู่ในความควบคุมของสมุหกลาโหมแต่เพียงผู้เดียว ดังเช่นในสมัยสมเด็จพระเชษฐาธิราช สมุหกลาโหมเป็นกบฎแย่งชิงราชสมบัติและตั้งตัวเป็นกษัตริย์คือ พระเจ้าปราสาททอง เป็นต้น จึงทำให้สมเด็จพระเทพราชาหวาดระแวงพระทัย เกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกในสมัยของพระองค์ เพื่อเป็นการถ่วงดุลแห่งอำนาจ พระองค์ตัดสินใจจัดระบบการปกครองใหม่เป็นบางส่วนดังนี้ สมุหกลาโหม แต่เติมเคยควบคุมเกี่ยวกับทางทหารทั่วประเทศ ให้เปลี่ยนมาเป็นควบคุมผู้บังคับบัญชาทหารและพลเรือนในแถบหัวเมืองฝ่ายใต้ สมุหนายก เดิมเคยควบคุมเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือน ให้เปลี่ยนมาควบคุมผู้บังคับบัญชาทั้งทางทหารและพลเรือนในแถบหัวเมืองฝ่าย เหนือ ในกรณีที่เกิดสงคราม ในหัวเมืองฝ่ายใด ผู้บังคับบัญชาการหัวเมืองฝ่ายนั้นต้องเป็นแม่ทัพใหญ่ ดำเนินการต่อสู้ โดยเป็นผู้บังคับบัญชากองทัพเตรียมทหารและเสบียงอาหาร เป็นต้น การที่เปลี่ยนจากระบบมีอำนาจเต็มทางทหารแต่ฝ่ายเดียวของสมุหกลาโหม มาเป็นระบบแบ่งอำนาจทั้ง ๒ ฝ่าย ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ทำให้สมุหนายกและสมุหกลาโหมควบคุมและแข่งขันกันทำราชการไปในตัว การปกครองของเมืองหลวงยังคงใช้ระบบการปกครองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แต่มีการเปลี่ยนแปลงบ้างก็เฉพาะหัวเมืองต่างๆ เพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่านั้น เช่น ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้ทรงสร้างหัวเมืองชั้นในขึ้นอีกหลายเมือง ได้แก่ นนทบุรี นครชัยศรี ฉะเชิงเทรา สาครบุรี และสระบุรี ทำให้อาณาเขตราชธานีขยายกว้างออกไปอีก ส่วนหัวเมืองประเทศราชนั้นไม่แน่นอน ถ้าสมัยใดพระมหากษัตริย์มีอำนาจก็จะมีเมืองขึ้นหลายเมือง ถ้าอ่อนแอเมืองขึ้นต่างๆ ก็จะแข็งเมืองไม่อยู่ในอำนาจต่อไป การปกครองท้องถิ่นก็ยังคงใช้แบบเดียวกับสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
แบบทดสอบหลังเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปกครองแบบสุโขทัย


อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็ก ๆ สมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็นและภูเขาพนมดงรัก ทิศตะวันตกจรดเมืองหงศาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้น ของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติดต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981 ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย เป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรหรือการปกครองคนในครอบครัว คือพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อ หรือข้าราชการบริพารเปรียบเสมือนลูกหรือคนในครอบครัวทำการปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับ ศาสตราจารย์ James N. Mosel ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการปกครองของไทยในสมัยกรุงสุโขทัยไว้ว่า มีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ มีลักษณะเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูกกับการดำเนินการปกครองแบบหัวเมืองขึ้น สำหรับการปกครองแบบบิดากับบุตรนี้ในปาฐกถาของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องลักษณะการปกครองประเทศสยาม แต่โบราณได้อธิบายไว้ว่าวิธีการปกครองในสมัยสุโขทัยนั้น นับถือพระเจ้าแผ่นดินอย่างบิดาของประชาชนทั้งปวงวิธีการปกครองเอาลักษณะการปกครองสกุลมาเป็นคติ เป็นต้น บิดาปกครองครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมกันเป็นบ้านอยู่ในปกครองของพ่อบ้าน ผู้อยู่ในปกครอง เรียกว่า ลูกบ้าน หลายบ้านรวมกันเป็นเมืองถ้าเป็นเมืองขึ้นอยู่ในความปกครองของพ่อเมือง ถ้าเป็นประเทศราชเจ้าเมืองเป็นขุนหลายเมือง รวมกันเป็นประเทศที่อยู่ในความปกครองของพ่อขุน ข้าราชการในตำแหน่งต่าง ๆ เรียกว่า ลูกขุน วิธีการปกครองของไทยเป็นอย่างบิดาปกครองบุตรยังใช้หลักในการปกครองประเทศไทยมาจนเปลี่ยนแปลงการปกครอง คำว่าปกครองแบบ พ่อปกครองลูก นี้มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อจิตใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง พระเจ้าแผ่นดินสมัยสุโขทัยตอนต้น ประชาชนมักใช้คำแทนตัวท่านว่า พ่อขุน จนเมื่ออิทธิพลของขอมเข้ามาแทรกแซงก็ได้เปลี่ยนไปใช้คำว่า พระยา ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริย์ ซึ่งเดิมเปรียบเสมือนพ่อกับลูกได้กลายสภาพเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายไป การปกครองสมัยสุโขทัยระยะแรก เป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูก พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นเหมือนหัวหน้าครอบครัวใหญ่ที่สุด ทรงปกครองดูแลราษฎรอย่างใกล้ชิดเหมือนพ่อปกครองลูก โดยเฉพาะสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ใดมีเรื่องเดือดร้อนก็สามารถเข้าเฝ้าถวายฎีการ้องทุกข์ต่อพ่อขุนได้โดยตรง ดังข้อความในจารึกหลักที่ 1 ความว่า "ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้นั้น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความเจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยิน เรียกเมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยจึงชม" รูปแบบของการปกครองในสมัยสุโขทัยตอนปลายเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดเจน ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) โดยพระพุทธศาสนาเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในด้านการปกครอง ผู้ปกครองได้นำหลักธรรมทางศาสนามาเป็นแนวทางในการปฏิบัติเรียกว่า ธรรมราชา หรือ ธรรมในการปกครอง การปกครองราชธานีและหัวเมืองต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 1. เมืองหลวงหรือราชธานี อาณาจักรสุโขทัยมีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เมืองหลวงหรือราชธานีเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองดูแลเอง 2. หัวเมืองชั้นใน หรือเมืองลูกหลวง ตั้งอยู่รายรอบราชธานีทั้ง 4 ทิศ หัวเมืองชั้นในพ่อขุนจะแต่งตั้งพระญาติวงศ์ใกล้ชิดไปปกครอง 3. หัวเมืองชั้นนอก หรือ เมืองพระยามหานคร ผู้ปกครองเมืองได้แก่ เจ้านายหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่พ่อขุนโปรดเกล้าฯ ให้ไปปกครองเมืองนั้น ๆ 4. เมืองประเทศราช เมืองที่อยู่นอกอาณาจักร ชาวเมืองเป็นคนต่างชาติ พ่อขุนจะกำหนดให้เจ้านายของเมืองนั้น ๆ ปกครองกันเอง แต่ต้องถวายเครื่องราชบรรณาการต่อพระเจ้ากรุงสุโขทัยตามกำหนด

การปกครองระบบบิดากับบุตรนี้พระมหากษัตริย์ในฐานะบิดาทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาด ถ้าได้พิจารณาถ่องแท้แล้วก็จะเห็นว่า ถ้าผู้ปกครองประเทศคือพระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ราษฎรเสมือนหนึ่งบุตรประชาชนก็ย่อมจะได้รับความผาสุกแต่ถ้าการปกครองดังกล่าวมีลักษณะเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายสวัสดิภาพของประชาชนในสมัยนั้นก็น่าจะไม่มีความหมายอะไร อย่างไรก็ดีการที่จะใช้ระบบการปกครองอย่างใดจึงเหมาะสมนั้นนอกจากขึ้นอยู่กับสภาวการณ์ต่างๆในแต่ละสมัยแล้วการเลือกใช้วิธีการปกครองระบบบิดากับบุตรในสมัยนั้นน่าจะถือเอาการปกครองประเทศเป็นนโยบายสำคัญ